xs
xsm
sm
md
lg

อินโดฯ เผย จะส่ง "โรฮิงยา" กลับประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชาวโรฮิงยาอยู่ที่ฐานทัพเรือในซาบาง จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย
เอเอฟพี - อินโดนีเซียเผยววันนี้ (30) ว่าจะส่ง"ผู้อพยพทางเศรษฐกิจ"ซึ่งหนีออกจากพม่ากลับประเทศ ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากลออกมาเรียกร้องให้ไทยหยุดผลักไสชาวโรฮิงยา

กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าวว่า ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงยา ซึ่งกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ถูกทารุณกรรมและถูกทิ้งกลางทะเลโดยทหารไทยจะถูกส่งกลับพม่า

หนึ่งในผู้อพยพซึ่งพูดกับสำนักข่าวเอเอฟพี อ้อนวอนขอให้ไม่ถูกส่งกลับไปพม่าหรือไทย

"เป็นเวลา 3 วัน 3 คืนที่เราถูกทุบตีด้วยไม้และปืนขนาดใหญ่โดยทหารเรือไทย พวกเขาตีพวกเราไปทั่วร่างกาย" โมฮัมหมัด ฮาซัน ผู้ติดเชื้อวัณโรควัย 22 ปีกล่าว

"พวกเราถูกพาไปขึ้นเรือที่ไม่มีเครื่องยนต์ 4 ลำ ไม่มีข้าว ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ" และ "ถูกลากออกไปทะเลโดยเรือของทหารไทยเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน" เขากล่าว

"ในตอนเช้า พวกเขาตัดเสื้อผ้าและยิงปืนส่งๆ ขึ้นฟ้า ผมรู้สึกกลัวมาก คนบนเรือต่างร้องไห้และกรีดร้อง หลังจากนั้นทหารเรือไทยก็ทิ้งเรา"

เขากล่าวว่า เขาจะติดคุก และครอบครัวของเขาจะถูกลงโทษ หากถูกส่งกลับไปยังพม่า ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าก็ปฏิเสธการดำรงอยู่ของชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา

"ผมสวดอ้อนวอนต่ออัลเลาะห์ขอให้รัฐบาลอินโดนีเซียอย่าส่งผมกลับไปพม่า ถ้าผมกลับไป ผมจะถูกจับเข้าคุกและจากนั้นพวกเขาจะยิงผมและครอบครัว"

ชาวโรฮิงยา 174 คน และชาวบังกลาเทศ 19 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ฐานทัพเรืออินโดนีเซียมาถึงเกาะเวห์ ทางเหนือของเกาะสุมาตราเมื่อ 7 มกราคม โดยเชื่อกันว่าพวกเขาเป็นผู้รอดชีวิตจากกลุ่มโรฮิงยาราว 1,000 คนที่พยายามขอลี้ภัยเข้าไทย แต่ถูกทางการไทยผลักไสออกมา โดย 650 คนได้รับการช่วยเหลือจากอินเดียและอินโดนีเซีย ขณะที่อีกหลายร้อยคนสูญหาย

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย เทอกู ไฟซัสยาห์ กล่าวว่า ผู้อพยพดังกล่าวมีแรงจูงใจด้านเศรษฐกิจในการหนีออกจากพม่า และปฏิเสธที่จะให้ความเห็นสำหรับการกล่าวหาขอพวกเขาที่ว่าถูกทารุณกรรมโดยกองกำลังไทย

"เราได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ดีของไทยตามสื่อ แต่สิ่งที่เราค้นหาคือผลจากการสอบสวนของเราเอง อย่าด่วนสรุปว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน" เขากล่าว นอกจากนี้ยังปฏิเสธการที่จาการ์ตาถูกกล่าวหาว่าบ่ายเบี่ยงคำถามด้านสิทธิมนษยชนเพื่อหลีกเลี่ยงการดูแลผู้อพยพในฐานะผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศ

"เราไม่ได้ปิดบังสำหรับใครเลย" เขากล่าว

ทั้งนี้ อินโดนีเซียห้ามผู้สื่อข่าวและหน่วยงานลี้ภัยของสหประชาชาชาติไม่ให้เข้ามาสัมภาษณ์ผู้อพยพภายในฐานทัพเรือ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอพยพได้รับสิทธิ์เข้าหาผู้อพยพ แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกับสื่อ ขณะที่องค์การกาชาดก็ได้สิทธิ์เข้าไปฐานทัพเรือที่ซาบางด้วย

ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอชซีอาร์)ซึ่งถูกปฏิเสธสิทธิ์เข้าหาผู้ลี้ภัย ระบุว่า ด้วยสถานการณ์เลวร้ายของชาวโรฮิงยาในพม่า ทำให้บางทีพวกเขาจำเป็นได้รับการคุ้มกันระหว่างประเทศและไม่ควรถูกส่งตัวกลับไป

ขณะที่วันเดียวกันนี้ องค์การนิรโทษกรรมสากลออกมาเรียกร้อง ให้ไทยหยุดไล่ชาวโรฮิงยาออกไปและขอให้ไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวโรฮิงยาทันที
กำลังโหลดความคิดเห็น