(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Obama to redefine Asia ties? Not so fast
By Patrick Burns
18/12/2008
รายชื่อคณะรัฐมนตรีซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯกำลังทยอยประกาศออกมานั้น ดูจะอุดมไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียระดับบิ๊กเบิ้ม นอกจากนั้นยังมีการพูดจากันว่าการออกเยือนต่างประเทศครั้งแรกหลังเข้าดำรงตำแหน่งของเขา จะเป็นการไปเยือนปักกิ่ง แต่ในขณะที่ทีมงานของโอบามามีการมองไปทางตะวันออกกันมากขึ้น ตัวรัฐมนตรีต่างประเทศของเขากลับน่าจะต้องเผชิญช่วงเวลาอันลำบากยากเย็นทีเดียวในการพยายามหวนกลับเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้อีกคำรบหนึ่ง เอเชียนั้นกำลังคาดหวังอะไรมากมายเอากับประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ - จนน่าสงสัยว่าจะมากเกินไปแล้วหรือยัง
นิวยอร์ก – ถึงแม้ว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา พูดอะไรเอาไว้มากในเรื่องการปรับปรุงยกเครื่องให้นโยบายการต่างประเทศของอเมริกามีความสมดุลมากขึ้น แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันว่าเขาคงแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายพื้นฐานที่มีต่อเอเชียเอาเลย เมื่อวินิจฉัยจากการทาบทามแต่งตั้งตัวบุคคลที่จะอยู่ในคณะรัฐมนตรีของเขาในช่วงหลังๆ นี้แล้ว มีความเป็นไปได้มากกว่าที่คณะรัฐบาลชุดใหม่ของเขาจะมุ่งหมายเพียงฟื้นฟูความเป็นพันธมิตรกับบรรดาชาติเอเชียที่มีอยู่แล้วให้กลับคึกคักขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งเสนอมุมมองที่สดใหม่ยิ่งขึ้นต่อปัญหาต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ในภูมิภาคแถบนี้
พิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัว และการเปลี่ยนแปลงด้านอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังหันเหไปทางตะวันออก ทีมงานของโอบามาน่าที่จะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ แก่พวกมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน นี่คือเหตุผลซึ่งสนับสนุนความเป็นไปได้ที่การเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเที่ยวแรกของโอบามา อาจจะเป็นการไปกรุงปักกิ่ง ดังที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกำลังพยากรณ์กันอยู่ หลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการฟื้นฟูเพิ่มชีวิตชีวาให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกันระหว่างจีน-สหรัฐฯ ได้แก่การเพิ่มปากเสียงพวกนิยมจีนอย่างชัดเจนอีก 2 เสียงเข้าไปในทีมงานเศรษฐกิจของเขา
ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังคนต่อไปของสหรัฐฯ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในเอเชียอย่างกว้างขวางชนิดที่แทบครอบคลุมเกือบทั่วทั้งทวีป เขาเคยพำนักอาศัยทั้งในอินเดีย, ไทย, จีน, และญี่ปุ่น สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนกลาง รวมทั้งเป็นผู้นำของศูนย์กิจการอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ยิ่งกว่านั้น เจฟฟรีย์ แบเดอร์ ผู้ช่วยคนสำคัญที่สุดของไกธ์เนอร์ ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจีนและเป็นคนที่เคยผ่านงานทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ
ภูมิหลังของไกธ์เนอร์จะทำให้เขามีความยืดหยุ่น ในเวลาจัดการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้ามหาศาลที่สหรัฐฯเสียเปรียบจีนอยู่ เขาสามารถสร้างผลสะเทือนได้ทันทีเมื่อเขาร่วมการประชุม “การสนทนาทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์” ระหว่างสหรัฐฯกับจีนครั้งต่อๆ ไป อีกทั้งในการเจรจาหารือด้านการค้าแบบทวิภาคีคราวต่อๆ ไปในอนาคต พวกเจ้าหน้าที่ของปักกิ่งก็น่าจะรู้สึกชื่นชมที่ได้ยินเสียงพูดจาภาษาจีนกลางจากผู้นำการเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ
บุคคลที่นิยมจีนอีกผู้หนึ่งซึ่งจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับไกธ์เนอร์ ได้แก่ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ผู้ที่จะเข้ามาเป็นประธานสภาที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของทำเนียบขาว ซัมเมอร์สเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนปราดเปรื่อง อีกทั้งเป็นผู้ให้การสนับสนุนนโยบายด้านเงินตราของจีนอย่างแข็งขัน เมื่อตอนที่คนอื่นๆ รวมทั้งโอบามา ซึ่งตอนนั้นเป็นวุฒิสมาชิก ได้ออกมาบ่นพึมแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินหยวน ซัมเมอร์สก็เรียกร้องให้อดกลั้นกันไว้ก่อน เขายังเป็นนักพูดซึ่งเป็นที่นิยมกันมากตามเวทีประชุมสัมมนาด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่ฮ่องกง, สิงคโปร์, และอินเดีย และเป็นอเมริกันเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในคณะทำงานด้านสำรวจบุกเบิกสิ่งใหม่ๆ ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
การที่ซัมเมอร์สขึ้นชื่อเรื่องสนับสนุนแนวคิดการค้าเสรี ยังอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกหงุดหงิดกังวลใจเกี่ยวกับน้ำเสียงแบบนักกีดกันการค้าในคำพูดของโอบามา ในจำนวนข้อเรียกร้องหลายสิบเรื่องที่กำลังประดังดาหน้าเข้าหาคณะรัฐบาลใหม่นั้น เรื่องหนึ่งซึ่งมาจากเกาหลีใต้ก็คือเร่งรัดการให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งกรุงโซลวาดหวังว่าซัมเมอร์สจะช่วยเกลี้ยกล่อมจนโอบามายอมเปลี่ยนใจจากที่เคยมีท่าทีคัดค้าน
แต่ขณะที่ทีมงานด้านการคลังของโอบามาอาจจะกำลังมุ่งมองไปสู่ทิศตะวันออก ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของเขาจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาแห่งความลำบากยากเย็นกว่ากันมาก เพื่อให้ตัวเองเข้าสู่ลู่ทางในเอเชียได้อย่างเต็มตัว
ความสัมพันธ์ระหว่างฮิลลารี คลินตัน กับประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในสภาพที่ออกจะขรุขระไม่ราบรื่น ตอนที่เธอยังมีฐานะเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เธอเคยแวะไปที่จีนเพื่อประณามทางการปักกิ่งว่าไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และคงจะไม่ค่อยมีใครลืมหรอกว่า ในช่วงที่เกิดการประท้วงของชาวทิเบตเมื่อต้นปี 2008 เธอเสนอแนะให้ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ถอนตัวไม่เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงปักกิ่งในเดือนสิงหาคม เพื่อเป็นการแสดงความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทิเบต
ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้อีกก็คือ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนใหม่จะต้องรับมรดกภารกิจอันน่าเหน็ดเหนื่อยในเอเชียตะวันออก อันได้แก่การเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือที่ยืดเยื้อมานาน และการเป็นหุ้นส่วนที่แสนเปราะบางกับจีนบนเวทีสหประชาชาติ
หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สุดสำหรับคณะรัฐบาลชุดต่อไปของสหรัฐฯ อาจจะได้แก่วิธีการแก้ไขปัญหาการมีอาวุธนิวเคลียร์ของเกาเหลีเหนือ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การเจรจา 6 ฝ่ายแทบไม่ประสบผลอะไรเลย อีกทั้งทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่าง 6 ฝ่าย (รัสเซีย,จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เกาหลีเหนือ, และเกาหลีใต้)
การหารือนี้กำลังกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจในญี่ปุ่น โดยที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ยาสุโตชิ นิชิมุระ ถึงกับพูดในที่ประชุมแถลงข่าวในนครนิวยอร์กเมื่อกลางเดือนธันวาคมว่า เจ้าหน้าที่แดนอาทิตย์อุทัยต่าง “กำลังคาดหมายว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ บางประการในนโยบายการต่างประเทศ อย่างน้อยที่สุดก็ในประเด็นปัญหาเรื่องการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์”
หนึ่งในตัวเก็งที่จะได้เป็นผู้แทนของสหรัฐฯประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ แฟรง แจนนูซี เขาได้เปิดเผยออกมาแล้วถึงยุทธศาสตร์ใหม่ที่เขาจะเดินหน้าผลักดันถ้าหากได้รับแต่งตั้งจริงๆ ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โคเรียไทมส์ แจนนูซีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลี อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้กับคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ สนับสนุนให้ใช้มาตรการที่เลียนแบบโครงการ “การลดภัยคุกคามด้วยการร่วมมือกัน” (Cooperative Threat Reduction) ซึ่งสหรัฐฯเคยใช้กับรัฐต่างๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต
สำหรับญี่ปุ่นแล้ว หากมีการดัดแปลงปรับปรุงหรือกระทั่งยกเลิกการเจรจา 6 ฝ่ายไปเลย ก็จะสามารถไถ่โทษทัณฑ์อย่างน้อยบางส่วน จากการที่โอบามาได้ไปเอ่ยปากเสนอที่จะพบปะหารือกับผู้นำเกาหลีเหนือ เราต้องเข้าใจว่าในญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากชื่นชมท่าทีการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับกรุงเปียงยางของบุช และกำลังเฝ้ารอลุ้นด้วยความกระวนกระวายว่า คลินตันจะใช้ท่าทีอย่างไรในการเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือ เนื่องในโอกาสที่ข้อตกลงเป็นพันธมิตรเพื่อการป้องกันระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นกำลังจะมีอายุครบรอบ 60 ปีในปี 2010 ถ้ามีการใช้วิธีการใหม่ๆ ในเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์นี้ ย่อมส่งผลกระตุ้นการเฉลิมฉลองในวาระพิเศษเช่นนี้
ในส่วนความสัมพันธ์กับจีน งานของคลินตันที่สำคัญกว่าเพื่อนจะอยู่ในสหประชาชาติ โดยที่คณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็นกำลังมีลักษณะแยกขั้วแบ่งฝ่ายกันเพิ่มขึ้นทุกทีๆ ไม่เพียงแค่เป็นเวทีของการเกิดการปะทะกันสองสามครั้งระหว่างสหรัฐฯกับจีนเท่านั้น บุคคลผู้ที่กำลังจะเข้าเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ประจำสหประชาชาติ คือ ซูซาน ไรซ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าเธอนั้นมียุทธศาสตร์อันทะเยอทะยานในการมุ่งยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแอฟริกา ทว่าก่อนอื่นเลย เธอจะต้องพยายามสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันกับจีนขึ้นมาให้ได้เสียก่อน
กระนั้นก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่จีนในยูเอ็นก็ยังแสดงท่าทีมองโลกในแง่บวก “ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว ที่คณะรัฐบาลชุดใหม่ (ของสหรัฐฯ) จะมีท่าทีต่อยูเอ็นในเชิงรุกยิ่งกว่าเดิมมาก และโดยองค์รวมแล้วก็ย่อมจะมีการปฏิบัติการและการร่วมมือกันเพิ่มมากขึ้น” รองเอกอัครราชทูต หลิวเจิ้นหมิน ของจีนบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
บุคคลอีกผู้หนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญมากในการติดต่อระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง รวมทั้งจะเป็นตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งที่ทางค่ายโอบามาจะต้องพิจารณาแต่งตั้ง ได้แก่ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีน พวกที่ตกเป็นข่าวลือว่าอาจจะถูกดึงตัวเข้ามานั่งเก้าอี้ตัวนี้ มีอาทิ จอห์น แอล ธอร์นตัน ประธานสถาบันบรูคกิงส์ และศาสตราจารย์อาคันตุกะของมหาวิทยาลัยชิงหัวในปักกิ่ง, ซูซาน เชิร์ก นักวิจัยแห่งสมาคมเอเชีย ซึ่งเคยทำงานกับคณะรัฐบาลบิลล์ คลินตันมาก่อน, และริชาร์ด โฮลบรูก นักการทูตมือเก่า โฮลบรูกนั้นเคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศรับผิดชอบนโยบายเอเชียตะวันออกภายใต้ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ และเคยทำงานกับจีนขณะรับหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำยูเอ็นให้กับคลินตัน
ด้วยการมีมือดีประสบการณ์สูงเฉกเช่นโฮลบรูกอยู่ในเอเชีย ประธานาธิบดีสหรัฐฯก็จะได้ปากเสียงที่น่าเชื่อถืออีกรายหนึ่งในปักกิ่ง ความช่วยเหลือนอกเหนือจากนี้ยังอาจมาจากบุคคลผู้ซึ่งกำลังได้รับการพิจารณาให้นั่งตำแหน่งผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ นั่นคือ เดนนิส ซี แบลร์ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชีย และในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯภาคพื้นแปซิฟิก เขาจึงมีประสบการณ์อันล้ำค่าในการรับมือกับจีนและไต้หวัน
ตัวโอบามาเองก็เคยพำนักอาศัยในเอเชียอยู่หลายปี แต่เมื่อวินิจฉัยจากปฏิกิริยาอันเย็นชาของสื่อในเอเชียต่อการชนะเลือกตั้งของเขา นี่อาจหมายความว่าเขายังจะต้องก้าวเดินไปอีกไกลกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจขึ้นในภูมิภาคนี้ กระนั้นก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งเอเชียก็กำลังคาดหวังที่จะได้อะไรมากทีเดียวจากประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาจากทีมงานเท่าที่เขารวบรวมมาได้จนถึงขณะนี้ ก็ดูเป็นไปได้ที่จะมีผลงานปรากฏออกมาให้เห็น
แพทริก เบิร์นส์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในนิวยอร์ก และเป็นผู้สื่อข่าวประจำสายสหประชาชาติ เขายังเป็นผู้สื่อข่าวคอยติดตามข่าวให้กับหนังสือพิมพ์โตเกียวชิมบุง
Obama to redefine Asia ties? Not so fast
By Patrick Burns
18/12/2008
รายชื่อคณะรัฐมนตรีซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐฯกำลังทยอยประกาศออกมานั้น ดูจะอุดมไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียระดับบิ๊กเบิ้ม นอกจากนั้นยังมีการพูดจากันว่าการออกเยือนต่างประเทศครั้งแรกหลังเข้าดำรงตำแหน่งของเขา จะเป็นการไปเยือนปักกิ่ง แต่ในขณะที่ทีมงานของโอบามามีการมองไปทางตะวันออกกันมากขึ้น ตัวรัฐมนตรีต่างประเทศของเขากลับน่าจะต้องเผชิญช่วงเวลาอันลำบากยากเย็นทีเดียวในการพยายามหวนกลับเข้าสู่ภูมิภาคแถบนี้อีกคำรบหนึ่ง เอเชียนั้นกำลังคาดหวังอะไรมากมายเอากับประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ - จนน่าสงสัยว่าจะมากเกินไปแล้วหรือยัง
นิวยอร์ก – ถึงแม้ว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา พูดอะไรเอาไว้มากในเรื่องการปรับปรุงยกเครื่องให้นโยบายการต่างประเทศของอเมริกามีความสมดุลมากขึ้น แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันว่าเขาคงแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายพื้นฐานที่มีต่อเอเชียเอาเลย เมื่อวินิจฉัยจากการทาบทามแต่งตั้งตัวบุคคลที่จะอยู่ในคณะรัฐมนตรีของเขาในช่วงหลังๆ นี้แล้ว มีความเป็นไปได้มากกว่าที่คณะรัฐบาลชุดใหม่ของเขาจะมุ่งหมายเพียงฟื้นฟูความเป็นพันธมิตรกับบรรดาชาติเอเชียที่มีอยู่แล้วให้กลับคึกคักขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งเสนอมุมมองที่สดใหม่ยิ่งขึ้นต่อปัญหาต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ในภูมิภาคแถบนี้
พิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัว และการเปลี่ยนแปลงด้านอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังหันเหไปทางตะวันออก ทีมงานของโอบามาน่าที่จะให้ความสำคัญลำดับต้นๆ แก่พวกมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน นี่คือเหตุผลซึ่งสนับสนุนความเป็นไปได้ที่การเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเที่ยวแรกของโอบามา อาจจะเป็นการไปกรุงปักกิ่ง ดังที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกำลังพยากรณ์กันอยู่ หลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการฟื้นฟูเพิ่มชีวิตชีวาให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกันระหว่างจีน-สหรัฐฯ ได้แก่การเพิ่มปากเสียงพวกนิยมจีนอย่างชัดเจนอีก 2 เสียงเข้าไปในทีมงานเศรษฐกิจของเขา
ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังคนต่อไปของสหรัฐฯ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในเอเชียอย่างกว้างขวางชนิดที่แทบครอบคลุมเกือบทั่วทั้งทวีป เขาเคยพำนักอาศัยทั้งในอินเดีย, ไทย, จีน, และญี่ปุ่น สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนกลาง รวมทั้งเป็นผู้นำของศูนย์กิจการอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ยิ่งกว่านั้น เจฟฟรีย์ แบเดอร์ ผู้ช่วยคนสำคัญที่สุดของไกธ์เนอร์ ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจีนและเป็นคนที่เคยผ่านงานทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ
ภูมิหลังของไกธ์เนอร์จะทำให้เขามีความยืดหยุ่น ในเวลาจัดการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้ามหาศาลที่สหรัฐฯเสียเปรียบจีนอยู่ เขาสามารถสร้างผลสะเทือนได้ทันทีเมื่อเขาร่วมการประชุม “การสนทนาทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์” ระหว่างสหรัฐฯกับจีนครั้งต่อๆ ไป อีกทั้งในการเจรจาหารือด้านการค้าแบบทวิภาคีคราวต่อๆ ไปในอนาคต พวกเจ้าหน้าที่ของปักกิ่งก็น่าจะรู้สึกชื่นชมที่ได้ยินเสียงพูดจาภาษาจีนกลางจากผู้นำการเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ
บุคคลที่นิยมจีนอีกผู้หนึ่งซึ่งจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับไกธ์เนอร์ ได้แก่ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ผู้ที่จะเข้ามาเป็นประธานสภาที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของทำเนียบขาว ซัมเมอร์สเป็นอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนปราดเปรื่อง อีกทั้งเป็นผู้ให้การสนับสนุนนโยบายด้านเงินตราของจีนอย่างแข็งขัน เมื่อตอนที่คนอื่นๆ รวมทั้งโอบามา ซึ่งตอนนั้นเป็นวุฒิสมาชิก ได้ออกมาบ่นพึมแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินหยวน ซัมเมอร์สก็เรียกร้องให้อดกลั้นกันไว้ก่อน เขายังเป็นนักพูดซึ่งเป็นที่นิยมกันมากตามเวทีประชุมสัมมนาด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่ฮ่องกง, สิงคโปร์, และอินเดีย และเป็นอเมริกันเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในคณะทำงานด้านสำรวจบุกเบิกสิ่งใหม่ๆ ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
การที่ซัมเมอร์สขึ้นชื่อเรื่องสนับสนุนแนวคิดการค้าเสรี ยังอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกหงุดหงิดกังวลใจเกี่ยวกับน้ำเสียงแบบนักกีดกันการค้าในคำพูดของโอบามา ในจำนวนข้อเรียกร้องหลายสิบเรื่องที่กำลังประดังดาหน้าเข้าหาคณะรัฐบาลใหม่นั้น เรื่องหนึ่งซึ่งมาจากเกาหลีใต้ก็คือเร่งรัดการให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งกรุงโซลวาดหวังว่าซัมเมอร์สจะช่วยเกลี้ยกล่อมจนโอบามายอมเปลี่ยนใจจากที่เคยมีท่าทีคัดค้าน
แต่ขณะที่ทีมงานด้านการคลังของโอบามาอาจจะกำลังมุ่งมองไปสู่ทิศตะวันออก ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของเขาจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาแห่งความลำบากยากเย็นกว่ากันมาก เพื่อให้ตัวเองเข้าสู่ลู่ทางในเอเชียได้อย่างเต็มตัว
ความสัมพันธ์ระหว่างฮิลลารี คลินตัน กับประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในสภาพที่ออกจะขรุขระไม่ราบรื่น ตอนที่เธอยังมีฐานะเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เธอเคยแวะไปที่จีนเพื่อประณามทางการปักกิ่งว่าไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และคงจะไม่ค่อยมีใครลืมหรอกว่า ในช่วงที่เกิดการประท้วงของชาวทิเบตเมื่อต้นปี 2008 เธอเสนอแนะให้ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ถอนตัวไม่เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงปักกิ่งในเดือนสิงหาคม เพื่อเป็นการแสดงความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทิเบต
ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้อีกก็คือ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนใหม่จะต้องรับมรดกภารกิจอันน่าเหน็ดเหนื่อยในเอเชียตะวันออก อันได้แก่การเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือที่ยืดเยื้อมานาน และการเป็นหุ้นส่วนที่แสนเปราะบางกับจีนบนเวทีสหประชาชาติ
หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สุดสำหรับคณะรัฐบาลชุดต่อไปของสหรัฐฯ อาจจะได้แก่วิธีการแก้ไขปัญหาการมีอาวุธนิวเคลียร์ของเกาเหลีเหนือ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การเจรจา 6 ฝ่ายแทบไม่ประสบผลอะไรเลย อีกทั้งทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่าง 6 ฝ่าย (รัสเซีย,จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เกาหลีเหนือ, และเกาหลีใต้)
การหารือนี้กำลังกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจในญี่ปุ่น โดยที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ยาสุโตชิ นิชิมุระ ถึงกับพูดในที่ประชุมแถลงข่าวในนครนิวยอร์กเมื่อกลางเดือนธันวาคมว่า เจ้าหน้าที่แดนอาทิตย์อุทัยต่าง “กำลังคาดหมายว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ บางประการในนโยบายการต่างประเทศ อย่างน้อยที่สุดก็ในประเด็นปัญหาเรื่องการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์”
หนึ่งในตัวเก็งที่จะได้เป็นผู้แทนของสหรัฐฯประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ แฟรง แจนนูซี เขาได้เปิดเผยออกมาแล้วถึงยุทธศาสตร์ใหม่ที่เขาจะเดินหน้าผลักดันถ้าหากได้รับแต่งตั้งจริงๆ ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โคเรียไทมส์ แจนนูซีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลี อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้กับคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ สนับสนุนให้ใช้มาตรการที่เลียนแบบโครงการ “การลดภัยคุกคามด้วยการร่วมมือกัน” (Cooperative Threat Reduction) ซึ่งสหรัฐฯเคยใช้กับรัฐต่างๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต
สำหรับญี่ปุ่นแล้ว หากมีการดัดแปลงปรับปรุงหรือกระทั่งยกเลิกการเจรจา 6 ฝ่ายไปเลย ก็จะสามารถไถ่โทษทัณฑ์อย่างน้อยบางส่วน จากการที่โอบามาได้ไปเอ่ยปากเสนอที่จะพบปะหารือกับผู้นำเกาหลีเหนือ เราต้องเข้าใจว่าในญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากชื่นชมท่าทีการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับกรุงเปียงยางของบุช และกำลังเฝ้ารอลุ้นด้วยความกระวนกระวายว่า คลินตันจะใช้ท่าทีอย่างไรในการเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือ เนื่องในโอกาสที่ข้อตกลงเป็นพันธมิตรเพื่อการป้องกันระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นกำลังจะมีอายุครบรอบ 60 ปีในปี 2010 ถ้ามีการใช้วิธีการใหม่ๆ ในเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์นี้ ย่อมส่งผลกระตุ้นการเฉลิมฉลองในวาระพิเศษเช่นนี้
ในส่วนความสัมพันธ์กับจีน งานของคลินตันที่สำคัญกว่าเพื่อนจะอยู่ในสหประชาชาติ โดยที่คณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็นกำลังมีลักษณะแยกขั้วแบ่งฝ่ายกันเพิ่มขึ้นทุกทีๆ ไม่เพียงแค่เป็นเวทีของการเกิดการปะทะกันสองสามครั้งระหว่างสหรัฐฯกับจีนเท่านั้น บุคคลผู้ที่กำลังจะเข้าเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ประจำสหประชาชาติ คือ ซูซาน ไรซ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าเธอนั้นมียุทธศาสตร์อันทะเยอทะยานในการมุ่งยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแอฟริกา ทว่าก่อนอื่นเลย เธอจะต้องพยายามสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันกับจีนขึ้นมาให้ได้เสียก่อน
กระนั้นก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่จีนในยูเอ็นก็ยังแสดงท่าทีมองโลกในแง่บวก “ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว ที่คณะรัฐบาลชุดใหม่ (ของสหรัฐฯ) จะมีท่าทีต่อยูเอ็นในเชิงรุกยิ่งกว่าเดิมมาก และโดยองค์รวมแล้วก็ย่อมจะมีการปฏิบัติการและการร่วมมือกันเพิ่มมากขึ้น” รองเอกอัครราชทูต หลิวเจิ้นหมิน ของจีนบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
บุคคลอีกผู้หนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญมากในการติดต่อระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง รวมทั้งจะเป็นตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งที่ทางค่ายโอบามาจะต้องพิจารณาแต่งตั้ง ได้แก่ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีน พวกที่ตกเป็นข่าวลือว่าอาจจะถูกดึงตัวเข้ามานั่งเก้าอี้ตัวนี้ มีอาทิ จอห์น แอล ธอร์นตัน ประธานสถาบันบรูคกิงส์ และศาสตราจารย์อาคันตุกะของมหาวิทยาลัยชิงหัวในปักกิ่ง, ซูซาน เชิร์ก นักวิจัยแห่งสมาคมเอเชีย ซึ่งเคยทำงานกับคณะรัฐบาลบิลล์ คลินตันมาก่อน, และริชาร์ด โฮลบรูก นักการทูตมือเก่า โฮลบรูกนั้นเคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศรับผิดชอบนโยบายเอเชียตะวันออกภายใต้ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ และเคยทำงานกับจีนขณะรับหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำยูเอ็นให้กับคลินตัน
ด้วยการมีมือดีประสบการณ์สูงเฉกเช่นโฮลบรูกอยู่ในเอเชีย ประธานาธิบดีสหรัฐฯก็จะได้ปากเสียงที่น่าเชื่อถืออีกรายหนึ่งในปักกิ่ง ความช่วยเหลือนอกเหนือจากนี้ยังอาจมาจากบุคคลผู้ซึ่งกำลังได้รับการพิจารณาให้นั่งตำแหน่งผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ นั่นคือ เดนนิส ซี แบลร์ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชีย และในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯภาคพื้นแปซิฟิก เขาจึงมีประสบการณ์อันล้ำค่าในการรับมือกับจีนและไต้หวัน
ตัวโอบามาเองก็เคยพำนักอาศัยในเอเชียอยู่หลายปี แต่เมื่อวินิจฉัยจากปฏิกิริยาอันเย็นชาของสื่อในเอเชียต่อการชนะเลือกตั้งของเขา นี่อาจหมายความว่าเขายังจะต้องก้าวเดินไปอีกไกลกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจขึ้นในภูมิภาคนี้ กระนั้นก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งเอเชียก็กำลังคาดหวังที่จะได้อะไรมากทีเดียวจากประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาจากทีมงานเท่าที่เขารวบรวมมาได้จนถึงขณะนี้ ก็ดูเป็นไปได้ที่จะมีผลงานปรากฏออกมาให้เห็น
แพทริก เบิร์นส์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในนิวยอร์ก และเป็นผู้สื่อข่าวประจำสายสหประชาชาติ เขายังเป็นผู้สื่อข่าวคอยติดตามข่าวให้กับหนังสือพิมพ์โตเกียวชิมบุง