เอเจนซี - ฮอนด้า มอเตอร์ แห่งญี่ปุ่น วันพุธ(17)ออกคำเตือนเรื่องผลกำไรไม่ได้ตามเป้าเป็นครั้งที่สามของปีนี้ โดยคราวนี้ประกาศลดประมาณการณ์กำไรจากการดำเนินงานลงอีกสองในสาม ด้วยเหตุผลเป็นเพราะเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่รุนแรงทำให้ยอดขายรถร่วงลงอย่างหนัก รวมทั้งยังถูกซ้ำเติมด้วยค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
จากการปรับประมาณการเช่นนี้ของฮอนด้า บริษัทรถยนต์อันดับสองญี่ปุ่น คาดหมายกันว่าน่าจะส่งผลให้คู่แข่งสัญชาติเดียวกันอย่าง โตโยต้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ต้องออกมาทำอย่างเดียวกันในไม่ช้า เพราะว่าทั้งสามรายล้วนประสบปัญหาในแบบเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเงินเยนที่แข็งค่าสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทรถยนต์ประเทศอื่น ๆก็ประสบภาวะยากลำบาก จนต้องมีการประกาศปรับโครงสร้าง ลดการลงทุนและเก็บเม็ดเงินเอาไว้ เพื่อฝ่าฟันวิกฤตครั้งร้ายแรงที่พวกตนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ อย่างเช่น สินเชื่อตึงตัว และความต้องการซื้อรถยนต์ลดลงอย่างฮวบฮาบ
ในสหรัฐฯ เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม) และไครสเลอร์ ต่างก็ยังรอความช่วยเหลือมูลค่านับหมื่นล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯอยู่ เพื่อมิให้บริษัททั้งสองต้องประสบภาวะล้มละลาย
ขณะที่ สแตนดารด์ แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) หนึ่งในบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายยักษ์ของโลก แม้ยังคงเรตติ้งตราสารหนี้ระยะยาวของโตโยต้าไว้ในระดับสูงสุดคือ AAA ทว่าก็ปรับลดเรตติ้งสำหรับทิศทางอนาคตให้ลงมาอยู่ที่ระดับ "ติดลบ" จากที่เคยอยู่ในระดับ "คงที่" โดยให้เหตุผลว่าบริษัทไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบที่เกิดกับตลาดรถยนต์ทั่วโลกได้
"ความเปลี่ยนแปลงอันรุนแรงในอุตสาหกรรมรถยนต์โลกตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ที่มีรากฐานมาจากวิกฤตการเงิน ได้บีบให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ต้องปรับเปลี่ยนแผนต่าง ๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮอนด้า ทาเคโอะ ฟูคูอิกล่าว
"สถานการณ์ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆทุกวัน และยังมองไม่เห็นสัญญาณแห่งการฟื้นตัวแม้แต่น้อย"
ฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วย คาดการณ์ว่าบริษัทน่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานในปีการเงินนี้(เม.ย.08 - มี.ค.09) ราว 180,000 ล้านเยน (2,000 ล้านดอลลาร์) ลดลง 67% จาก 550,000 ล้านเยนที่บริษัทคาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เป้าหมายใหม่นี้ ต่ำกว่าผลกำไรจากการดำเนินงานของเมื่อปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 953,000 ล้านเยนถึง 80% รวมทั้งยังย่ำแย่ว่าที่หนังสือธุรกิจรายวันนิกเคอิคาดการณ์ไว้ที่ 300,000 ล้านเยนเสียอีก
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายออกปากเตือนว่า กระทั่งลดการคาดการณ์กันถึงขนาดนี้แล้ว ความเป็นจริงก็ยังอาจสาหัสสากรรจ์กว่านี้อีก
"แม้คาดหมายรายได้ครั้งใหม่จะเต็มกลืนแล้ว แต่ก็ฮอนด้าก็อาจจะทำได้ไม่ถึงเป้าใหม่นี้เสียด้วยซ้ำ" โทชิยูกิ มัตซึชิตะ หัวหน้าหน่วยลงทุนจากบลูแบร์ อินเวสเมนท์ แมเนเจอร์สกล่าว
"ผมคิดว่าอีกไม่นานบริษัทก็จะออกคำเตือนใหม่อีก เพราะค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นอย่างมาก"
ทุก ๆหนึ่งเยนที่พุ่งขึ้นต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้กำไรจากการดำเนินงานของฮอนด้าลดลงราว 20,000 ล้านเยน (220 ล้านดอลลาร์) ต่อปี โดยคิดจากยอดรายได้มราได่จากยอดขายต่างประเทศ เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินเยนอีกทีหนึ่ง
ราคาหุ้นของฮอนด้าดิ่งลง 4.2% ในญี่ปุ่นเนื่องจากนักลงทุนต่างก็เป็นกังวลต่อการประกาศเตือนเรื่องกำไรที่จะลดลงมาก นอกจากนี้หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดแฟรงเฟิร์ตของบริษัทนี้ ก็ดิ่งลง 7.5% ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่บางเบา
เพียงเมื่อสองเดือนก่อน ฮอนด้าคาดการณ์ว่าจะสามารถฝ่าฟันช่วงตกต่ำของอุตสาหกรรมรถยนต์โลกดีกว่าคู่แข่งทั้งหลาย โดยมีรถยนต์ประหยัดพลังงานเป็นตัวทำตลาด แต่ความต้องการซื้อรถยนต์หดตัวลงราวสายฟ้าแล่บนับตั้งแต่ เลห์แมนบราเธอร์ ล้มคว่ำลงมาในเดือนกันยายน ทำให้รถยนต์ค้างสต๊อกเพิ่มจำนวนขึ้นจนต้องลดกำลังการผลิตลงมหาศาล
เมื่อวันพุธเช่นกัน นิสสัน มอเตอร์ ก็ได้ประกาศลดกำลังการผลิตในญี่ปุ่นลงอีก 78,000 คัน ซึ่งเท่ากับในปีการเงินนี้ ลดกำลังการผลิตลงมา 225,000 คัน คิดเป็นราว 6% ของประมาณการณ์กำลังผลิตปีนี้ที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 3.56 ล้านคัน
เพื่อที่จะรับมือกับวิกฤต ฮอนด้ายังได้ประกาศมาตรการมากมายเพื่อสงวนเม็ดเงินเอาไว้ และจัดอันดับโครงการต่าง ๆที่มีศักยภาพในการทำตลาดลดหลั่นกันไป รวมทั้งประกาศการร่วมทุนกับจีเอส ยัวซา คอร์ป ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อผลิตและวางตลาดแบตเตอรี่ลิเธียม อิออนสำหรับรถยนต์ลูกผสม และรถยนต์อื่น ๆ
ในขณะเดียวกัน โตโยต้ามอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ก็ได้รับการคาดหมายว่าว่าจะประกาศลดเป้าหมายยอดขายลงอย่างน้อยหนึ่งล้านคันในการแถลงข่าวประจำปีในวันที่ 22 ธันวาคมนี้
ส่วนสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ของญี่ปุ่นออกมาประมาณการณ์ว่า การผลิตรถยนต์ในประเทศอาจจะลดลงเกือบ 9% ในปีหน้า และยอดขายอาจจะหดตัวลงมากกว่า 9%
จากการปรับประมาณการเช่นนี้ของฮอนด้า บริษัทรถยนต์อันดับสองญี่ปุ่น คาดหมายกันว่าน่าจะส่งผลให้คู่แข่งสัญชาติเดียวกันอย่าง โตโยต้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ต้องออกมาทำอย่างเดียวกันในไม่ช้า เพราะว่าทั้งสามรายล้วนประสบปัญหาในแบบเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเงินเยนที่แข็งค่าสูงสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทรถยนต์ประเทศอื่น ๆก็ประสบภาวะยากลำบาก จนต้องมีการประกาศปรับโครงสร้าง ลดการลงทุนและเก็บเม็ดเงินเอาไว้ เพื่อฝ่าฟันวิกฤตครั้งร้ายแรงที่พวกตนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ อย่างเช่น สินเชื่อตึงตัว และความต้องการซื้อรถยนต์ลดลงอย่างฮวบฮาบ
ในสหรัฐฯ เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม) และไครสเลอร์ ต่างก็ยังรอความช่วยเหลือมูลค่านับหมื่นล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯอยู่ เพื่อมิให้บริษัททั้งสองต้องประสบภาวะล้มละลาย
ขณะที่ สแตนดารด์ แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) หนึ่งในบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายยักษ์ของโลก แม้ยังคงเรตติ้งตราสารหนี้ระยะยาวของโตโยต้าไว้ในระดับสูงสุดคือ AAA ทว่าก็ปรับลดเรตติ้งสำหรับทิศทางอนาคตให้ลงมาอยู่ที่ระดับ "ติดลบ" จากที่เคยอยู่ในระดับ "คงที่" โดยให้เหตุผลว่าบริษัทไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบที่เกิดกับตลาดรถยนต์ทั่วโลกได้
"ความเปลี่ยนแปลงอันรุนแรงในอุตสาหกรรมรถยนต์โลกตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ที่มีรากฐานมาจากวิกฤตการเงิน ได้บีบให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ต้องปรับเปลี่ยนแผนต่าง ๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮอนด้า ทาเคโอะ ฟูคูอิกล่าว
"สถานการณ์ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆทุกวัน และยังมองไม่เห็นสัญญาณแห่งการฟื้นตัวแม้แต่น้อย"
ฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วย คาดการณ์ว่าบริษัทน่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานในปีการเงินนี้(เม.ย.08 - มี.ค.09) ราว 180,000 ล้านเยน (2,000 ล้านดอลลาร์) ลดลง 67% จาก 550,000 ล้านเยนที่บริษัทคาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เป้าหมายใหม่นี้ ต่ำกว่าผลกำไรจากการดำเนินงานของเมื่อปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 953,000 ล้านเยนถึง 80% รวมทั้งยังย่ำแย่ว่าที่หนังสือธุรกิจรายวันนิกเคอิคาดการณ์ไว้ที่ 300,000 ล้านเยนเสียอีก
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายออกปากเตือนว่า กระทั่งลดการคาดการณ์กันถึงขนาดนี้แล้ว ความเป็นจริงก็ยังอาจสาหัสสากรรจ์กว่านี้อีก
"แม้คาดหมายรายได้ครั้งใหม่จะเต็มกลืนแล้ว แต่ก็ฮอนด้าก็อาจจะทำได้ไม่ถึงเป้าใหม่นี้เสียด้วยซ้ำ" โทชิยูกิ มัตซึชิตะ หัวหน้าหน่วยลงทุนจากบลูแบร์ อินเวสเมนท์ แมเนเจอร์สกล่าว
"ผมคิดว่าอีกไม่นานบริษัทก็จะออกคำเตือนใหม่อีก เพราะค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นอย่างมาก"
ทุก ๆหนึ่งเยนที่พุ่งขึ้นต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้กำไรจากการดำเนินงานของฮอนด้าลดลงราว 20,000 ล้านเยน (220 ล้านดอลลาร์) ต่อปี โดยคิดจากยอดรายได้มราได่จากยอดขายต่างประเทศ เมื่อแปลงกลับมาเป็นเงินเยนอีกทีหนึ่ง
ราคาหุ้นของฮอนด้าดิ่งลง 4.2% ในญี่ปุ่นเนื่องจากนักลงทุนต่างก็เป็นกังวลต่อการประกาศเตือนเรื่องกำไรที่จะลดลงมาก นอกจากนี้หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดแฟรงเฟิร์ตของบริษัทนี้ ก็ดิ่งลง 7.5% ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่บางเบา
เพียงเมื่อสองเดือนก่อน ฮอนด้าคาดการณ์ว่าจะสามารถฝ่าฟันช่วงตกต่ำของอุตสาหกรรมรถยนต์โลกดีกว่าคู่แข่งทั้งหลาย โดยมีรถยนต์ประหยัดพลังงานเป็นตัวทำตลาด แต่ความต้องการซื้อรถยนต์หดตัวลงราวสายฟ้าแล่บนับตั้งแต่ เลห์แมนบราเธอร์ ล้มคว่ำลงมาในเดือนกันยายน ทำให้รถยนต์ค้างสต๊อกเพิ่มจำนวนขึ้นจนต้องลดกำลังการผลิตลงมหาศาล
เมื่อวันพุธเช่นกัน นิสสัน มอเตอร์ ก็ได้ประกาศลดกำลังการผลิตในญี่ปุ่นลงอีก 78,000 คัน ซึ่งเท่ากับในปีการเงินนี้ ลดกำลังการผลิตลงมา 225,000 คัน คิดเป็นราว 6% ของประมาณการณ์กำลังผลิตปีนี้ที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 3.56 ล้านคัน
เพื่อที่จะรับมือกับวิกฤต ฮอนด้ายังได้ประกาศมาตรการมากมายเพื่อสงวนเม็ดเงินเอาไว้ และจัดอันดับโครงการต่าง ๆที่มีศักยภาพในการทำตลาดลดหลั่นกันไป รวมทั้งประกาศการร่วมทุนกับจีเอส ยัวซา คอร์ป ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อผลิตและวางตลาดแบตเตอรี่ลิเธียม อิออนสำหรับรถยนต์ลูกผสม และรถยนต์อื่น ๆ
ในขณะเดียวกัน โตโยต้ามอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ก็ได้รับการคาดหมายว่าว่าจะประกาศลดเป้าหมายยอดขายลงอย่างน้อยหนึ่งล้านคันในการแถลงข่าวประจำปีในวันที่ 22 ธันวาคมนี้
ส่วนสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ของญี่ปุ่นออกมาประมาณการณ์ว่า การผลิตรถยนต์ในประเทศอาจจะลดลงเกือบ 9% ในปีหน้า และยอดขายอาจจะหดตัวลงมากกว่า 9%