เอเอฟพี - โอเปกจะประกาศลดกำลังผลิต ในการประชุมที่ร่นเข้ามาให้เร็วขึ้นในวันศุกร์ (24) นี้ เพื่อพยายามหาทางดันราคาน้ำมันที่ดิ่งลงถึง 55% จากสถิติสูงสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมขึ้นมาใหม่ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวกำลังฉุดดีมานด์พลังงานลดต่ำฮวบฮาบ
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 12 ชาติและมีผลผลิตน้ำมัน 40% ของผลผลิตทั่วโลก กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (16) ว่า จะเลื่อนประชุมรัฐมนตรีนัดพิเศษให้เร็วขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมกลางเดือนพฤศจิกายน มาเป็นวันศุกร์นี้
ในวันพฤหัสบดี (16) นี้เอง ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ ของตลาดลอนดอน รูดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 เดือน โดยปิดที่ 65.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ ไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก ก็อยู่ที่ 69.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับสถิติสูงสุด 147.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อสามเดือนที่แล้ว จากความกังวลในเรื่องซัปพลายที่หนุนให้ราคาทะยานลิ่ว
ฮูโก นาวาร์โร นักวิเคราะห์ของแคปิตอล อิโคโนมิกส์ ชี้ว่า การทรุดลงของราคาน้ำมันในช่วงนี้ทำให้โอเปกแตกตื่นจนต้องเลื่อนการประชุมให้เร็วขึ้น และคาดว่าในการประชุมปลายสัปดาห์นี้จะมีการประกาศลดกำลังผลิตครั้งใหญ่ถึง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี)
กระนั้น นาวาร์โรและนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนเชื่อว่า ความเคลื่อนไหวของโอเปกจะดันราคาน้ำมันดีดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังคืบคลานเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2009
นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ออกมาวิจารณ์เมื่อวันศุกร์ว่า เป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่งที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเตรียมลดเพดานการผลิตเพื่อให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น
ในส่วนโอเปกที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกนั้น ยังไม่ได้กล่าวอย่างเป็นทางการว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเพดานการผลิตในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นหรือไม่
อย่างไรก็ดี ชากิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานแอลจีเรียและประธานโอเปกวาระปัจจุบัน กล่าวเมื่อวันเสาร์ (18) ว่า โอเปกอาจสั่งลดการผลิต 'จำนวนมาก' เพื่อฟื้นสมดุลระหว่างซัปพลายกับดีมานด์ ซึ่งเป้าหมายการปรับลดน่าจะอยู่ที่ 1.5-2 ล้านบีพีดี
เคลิล สำทับว่า โอเปกต้องการให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพตลอดช่วงครึ่งแรกของปีหน้า
นักวิเคราะห์มากมายคาดว่า โอเปกจะลดเพดานการผลิตลงอย่างน้อย 1 ล้านบีพีดี แต่สำหรับโอลิวิเยร์ จาค็อบ นักวิเคราะห์ตลาดน้ำมันจากปิโตรเมตริกซ์ มองตัวเลขไว้เพียง 500,000 บีพีดี
"ทุกวันนี้ใครๆ ต่างมีแผนฟื้นวิกฤต โอเปกก็เช่นกัน" จาค็อบพาดพิงถึงมาตรการอุ้มแบงก์มูลค่านับพันล้านดอลลาร์ที่ทั่วโลกประกาศออกมาในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ และสำทับว่าหากไม่ได้ตัดสินใจลดการผลิตแล้ว โอเปกคงไม่เลื่อนการประชุมมาเป็นวันศุกร์นี้ มีเพียงคำถามเดียวที่เหลืออยู่ขณะนี้คือ จะมีการลดการผลิต 500,000 บีพีดีหรือ 1 ล้านบีพีดี จากโควตาปัจจุบัน 28.8 ล้านบีพีดี
โมฮัมหมัด อาลี คาติบี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำโอเปก กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันทรุดเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ อิหร่านที่เรียกร้องให้ลดกำลังผลิต เป็นผู้ส่งออกอันดับสองของโอเปก และระบบเศรษฐกิจพึ่งพิงรายได้จากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก
การประชุมพิเศษโอเปกในเมืองหลวงของออสเตรีย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่โอเปกนั้น เป็นการเรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อตลาดน้ำมัน
อย่างไรก็ดี หลังจากร่นเวลาการประชุมให้เร็วขึ้น นักวิเคราะห์จึงฟันธงว่าโอเปกจะต้องใช้เวทีดังกล่าวประกาศลดการผลิตอย่างแน่นอน โดยอ้างอิงคำพูดของกาตาร์เมื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า โอเปกมีแนวโน้มลดการผลิตลงอย่างน้อย 1 ล้านบีพีดี
นอกจากนี้ ลิเบีย อีกหนึ่งชาติสมาชิก ยังเรียกร้องอย่างเป็นทางการให้ลดการผลิตน้ำมันลงเพื่อให้ราคาฟื้นขึ้น โดยวันศุกร์ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ในทะเลเหนือปิดที่ 69.60 ดอลลาร์ ส่วนน้ำมันไลท์สวีตครูดของนิวยอร์กปิดที่ 71.85 ดอลลาร์ จากที่เคยทำสถิติสูงสุด 147.27 ดอลลาร์เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม
ทอร์บจอร์น เคจัส นักวิเคราะห์ตลาดจากดีเอ็นบี นอร์ ชี้ว่า สมาชิกโอเปกบางชาติอาจต้องการให้ราคาน้ำมันอยู่แถวๆ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพื่อรักษาสมดุลงบประมาณ
วันพุธที่ผ่านมา (15) โอเปกปรับลดประมาณการณ์การเติบโตของดีมานด์น้ำมันปีนี้และปีหน้า โดยชี้ว่าสาเหตุหลักมาจากการที่ดีมานด์ในสหรัฐฯ อ่อนตัวลงมาก
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 12 ชาติและมีผลผลิตน้ำมัน 40% ของผลผลิตทั่วโลก กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (16) ว่า จะเลื่อนประชุมรัฐมนตรีนัดพิเศษให้เร็วขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมกลางเดือนพฤศจิกายน มาเป็นวันศุกร์นี้
ในวันพฤหัสบดี (16) นี้เอง ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ ของตลาดลอนดอน รูดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 เดือน โดยปิดที่ 65.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ ไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก ก็อยู่ที่ 69.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับสถิติสูงสุด 147.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อสามเดือนที่แล้ว จากความกังวลในเรื่องซัปพลายที่หนุนให้ราคาทะยานลิ่ว
ฮูโก นาวาร์โร นักวิเคราะห์ของแคปิตอล อิโคโนมิกส์ ชี้ว่า การทรุดลงของราคาน้ำมันในช่วงนี้ทำให้โอเปกแตกตื่นจนต้องเลื่อนการประชุมให้เร็วขึ้น และคาดว่าในการประชุมปลายสัปดาห์นี้จะมีการประกาศลดกำลังผลิตครั้งใหญ่ถึง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี)
กระนั้น นาวาร์โรและนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนเชื่อว่า ความเคลื่อนไหวของโอเปกจะดันราคาน้ำมันดีดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังคืบคลานเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2009
นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษ ออกมาวิจารณ์เมื่อวันศุกร์ว่า เป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่งที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเตรียมลดเพดานการผลิตเพื่อให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น
ในส่วนโอเปกที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกนั้น ยังไม่ได้กล่าวอย่างเป็นทางการว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเพดานการผลิตในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นหรือไม่
อย่างไรก็ดี ชากิบ เคลิล รัฐมนตรีพลังงานแอลจีเรียและประธานโอเปกวาระปัจจุบัน กล่าวเมื่อวันเสาร์ (18) ว่า โอเปกอาจสั่งลดการผลิต 'จำนวนมาก' เพื่อฟื้นสมดุลระหว่างซัปพลายกับดีมานด์ ซึ่งเป้าหมายการปรับลดน่าจะอยู่ที่ 1.5-2 ล้านบีพีดี
เคลิล สำทับว่า โอเปกต้องการให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพตลอดช่วงครึ่งแรกของปีหน้า
นักวิเคราะห์มากมายคาดว่า โอเปกจะลดเพดานการผลิตลงอย่างน้อย 1 ล้านบีพีดี แต่สำหรับโอลิวิเยร์ จาค็อบ นักวิเคราะห์ตลาดน้ำมันจากปิโตรเมตริกซ์ มองตัวเลขไว้เพียง 500,000 บีพีดี
"ทุกวันนี้ใครๆ ต่างมีแผนฟื้นวิกฤต โอเปกก็เช่นกัน" จาค็อบพาดพิงถึงมาตรการอุ้มแบงก์มูลค่านับพันล้านดอลลาร์ที่ทั่วโลกประกาศออกมาในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ และสำทับว่าหากไม่ได้ตัดสินใจลดการผลิตแล้ว โอเปกคงไม่เลื่อนการประชุมมาเป็นวันศุกร์นี้ มีเพียงคำถามเดียวที่เหลืออยู่ขณะนี้คือ จะมีการลดการผลิต 500,000 บีพีดีหรือ 1 ล้านบีพีดี จากโควตาปัจจุบัน 28.8 ล้านบีพีดี
โมฮัมหมัด อาลี คาติบี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำโอเปก กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันทรุดเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ อิหร่านที่เรียกร้องให้ลดกำลังผลิต เป็นผู้ส่งออกอันดับสองของโอเปก และระบบเศรษฐกิจพึ่งพิงรายได้จากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก
การประชุมพิเศษโอเปกในเมืองหลวงของออสเตรีย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่โอเปกนั้น เป็นการเรียกประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อตลาดน้ำมัน
อย่างไรก็ดี หลังจากร่นเวลาการประชุมให้เร็วขึ้น นักวิเคราะห์จึงฟันธงว่าโอเปกจะต้องใช้เวทีดังกล่าวประกาศลดการผลิตอย่างแน่นอน โดยอ้างอิงคำพูดของกาตาร์เมื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า โอเปกมีแนวโน้มลดการผลิตลงอย่างน้อย 1 ล้านบีพีดี
นอกจากนี้ ลิเบีย อีกหนึ่งชาติสมาชิก ยังเรียกร้องอย่างเป็นทางการให้ลดการผลิตน้ำมันลงเพื่อให้ราคาฟื้นขึ้น โดยวันศุกร์ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ในทะเลเหนือปิดที่ 69.60 ดอลลาร์ ส่วนน้ำมันไลท์สวีตครูดของนิวยอร์กปิดที่ 71.85 ดอลลาร์ จากที่เคยทำสถิติสูงสุด 147.27 ดอลลาร์เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม
ทอร์บจอร์น เคจัส นักวิเคราะห์ตลาดจากดีเอ็นบี นอร์ ชี้ว่า สมาชิกโอเปกบางชาติอาจต้องการให้ราคาน้ำมันอยู่แถวๆ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพื่อรักษาสมดุลงบประมาณ
วันพุธที่ผ่านมา (15) โอเปกปรับลดประมาณการณ์การเติบโตของดีมานด์น้ำมันปีนี้และปีหน้า โดยชี้ว่าสาเหตุหลักมาจากการที่ดีมานด์ในสหรัฐฯ อ่อนตัวลงมาก