เอเจนซี - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กำลังเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวน่าขายหน้าล่าสุด เมื่อถูกนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีอายุมากที่สุด และเป็นหนึ่งในผู้ซึ่งได้รับความยอมรับนับถือสูงที่สุดของตนเอง ยื่นฟ้องเรียกเงินชดเชย 6 ล้านดอลลาร์ หลังจากตกบันไดในงานประชุมปีที่แล้วที่ไอเอ็มเอฟจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
นักเศรษฐศาสตร์รุ่นคุณทวด ฌาคส์ โพแล็ค ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 94 ปี เรียกร้องเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่าดูแลบ้านที่เขาและภรรยาต้องจ่ายไป ในระหว่างที่เขารักษาตัวหลังตกบันไดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
โพแล็คเข้าร่วมการสัมมนาวิจัยที่ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่องานที่จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 8 แล้ว เขาหกล้มตอนที่กำลังเดินลงจากเวทีกลับไปยังเก้าอี้นั่งของเขา ในแถวแรกของศูนย์ประชุมไอเอ็มเอฟ ที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มาฟัง สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กล่าวสุนทรพจน์ ทั้งนี้ ฟิชเชอร์ เป็นอดีตหมายเลข 2 ของไอเอ็มเอฟ และขณะนี้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางอิสราเอล
ตัวโพแล็คเองมีบทบาทในการพัฒนาระบบการเงินของโลกตั้งแต่ไอเอ็มเอฟ ก่อตั้งเมื่อปี 1944 เขาเกษียณอายุจากไอเอ็มเอฟเมื่อปี 1979 แต่ว่าก็ยังคงมีสายสัมพันธ์กับกองทุนอย่างแนบแน่น เขายังคงมีห้องทำงาน และไปนั่งทำงานสี่วันในหนึ่งสัปดาห์ และยังคงมีส่วนร่วมด้านการวิจัยเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและโต้แย้งประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดมา
ในคำฟ้องที่โพแล็คส่งให้กับศาลชั้นต้นสหรัฐฯ แขวงดิสทริค โคลัมเบีย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาอ้างว่าบันไดในห้องประชุมไม่มีราวให้จับขณะขึ้นลง และในช่วงระหว่างที่เขาตกลงมา ศีรษะก็ถูกกระแทกอย่างแรงจนได้รับ “บาดเจ็บรุนแรงยาวนานที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง”
คำร้องยังกล่าวอีกว่าก่อนที่จะตกบันได โพแล็คเป็นผู้ดูแลภรรยาวัย 70 ปีของเขา แต่เมื่อได้รับบาดเจ็บเขาก็ไม่สามารถจะดูแลเธอได้ และยังต้องหาคนมาช่วยดูแลสุขภาพเขาในขณะที่อยู่บ้าน
เบนจามิน ชิว จากสำนักงานทนายความ แพตตัน บ็อกส์ ที่เป็นทนายให้กับโพแล็ค กล่าวว่า การฟ้องร้องไอเอ็มเอฟที่ โพแล็ค ทำงานมาด้วยเกือบตลอดชีวิตเป็นสิ่งสุดท้ายที่เขาอยากจะทำ
“เราได้พยายามทุกทางที่จะแก้ไขปัญหาก่อนที่จะส่งคำฟ้องต่อศาล” ชิวกล่าว “ดร.โพแล็ค ไม่อยากจะฟ้องสถาบันที่เขาทุ่มเทชีวิตให้แม้แต่น้อย”
“และก็ยังดำมืดอยู่ว่าทำไมไอเอ็มเอฟไม่อยากจะที่เคลื่อนไหวเพื่อช่วยเหลือ ดร.โพแล็ค” ชิว กล่าว
ชิว บอกอีกว่า ตั้งแต่ตกบันได โพแล็คก็ต้องทนทุกข์กับอาการสูญเสียความทรงจำบางส่วนและต้องใช้เครื่องช่วยเดิน
ในคำฟ้องกล่าวหาไอเอ็มเอฟว่า เลินเล่อไม่ติดตั้งราวจับไว้ที่บันได และไม่ได้เตือนโพแล็คว่า บันไดชันเพียงใด ส่วนทางด้านไอเอ็มเอฟก็ปฏิเสธที่จะพูดถึงสาระของคดีความดังกล่าว
โพแล็คนั้น ถือสัญชาติเนเธอร์แลนด์ และเป็นคนช่วยวางแผนการประชุมเบรตตันวูดส์ ในปี 1944 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของทั้งไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก
นักเศรษฐศาสตร์รุ่นคุณทวดผู้นี้ เป็นผู้อำนวยการแผนกสถิติคนแรกของไอเอ็มเอฟ เขาเป็นคนร่างโมเดลของเศรษฐกิจโลก ที่ครอบคลุมระบบเศรษฐกิจแปดประเทศ คือ สหรัฐฯ,อังกฤษ,ฝรั่งเศส,เบลเยียม,เชโกสโลวะเกีย,นอร์เวย์,เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน
โพแล็คมีผลงานมากมายในด้านการวิจัย และก็มีบทบาทในการตัดสินใจครั้งสำคัญๆ หลายครั้งของไอเอ็มเอฟ อย่างเช่น การให้เงินกู้แก่อังกฤษในปี 1965 และ 1967 รวมทั้งในที่โลกยกเลิกการใช้ระบบกำหนดค่าเงินตายตัวในช่วงต้นทศวรรษ 1970
และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โพแล็คกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในไอเอ็มเอฟท่ามกลางบริบทโลกที่เปลี่ยนไป โดยกลุ่มประเทศเฟื่องฟูใหม่ทางเศรษฐกิจเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก
นักเศรษฐศาสตร์รุ่นคุณทวด ฌาคส์ โพแล็ค ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 94 ปี เรียกร้องเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่าดูแลบ้านที่เขาและภรรยาต้องจ่ายไป ในระหว่างที่เขารักษาตัวหลังตกบันไดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
โพแล็คเข้าร่วมการสัมมนาวิจัยที่ใช้ชื่อของเขาเป็นชื่องานที่จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 8 แล้ว เขาหกล้มตอนที่กำลังเดินลงจากเวทีกลับไปยังเก้าอี้นั่งของเขา ในแถวแรกของศูนย์ประชุมไอเอ็มเอฟ ที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มาฟัง สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กล่าวสุนทรพจน์ ทั้งนี้ ฟิชเชอร์ เป็นอดีตหมายเลข 2 ของไอเอ็มเอฟ และขณะนี้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางอิสราเอล
ตัวโพแล็คเองมีบทบาทในการพัฒนาระบบการเงินของโลกตั้งแต่ไอเอ็มเอฟ ก่อตั้งเมื่อปี 1944 เขาเกษียณอายุจากไอเอ็มเอฟเมื่อปี 1979 แต่ว่าก็ยังคงมีสายสัมพันธ์กับกองทุนอย่างแนบแน่น เขายังคงมีห้องทำงาน และไปนั่งทำงานสี่วันในหนึ่งสัปดาห์ และยังคงมีส่วนร่วมด้านการวิจัยเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและโต้แย้งประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดมา
ในคำฟ้องที่โพแล็คส่งให้กับศาลชั้นต้นสหรัฐฯ แขวงดิสทริค โคลัมเบีย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาอ้างว่าบันไดในห้องประชุมไม่มีราวให้จับขณะขึ้นลง และในช่วงระหว่างที่เขาตกลงมา ศีรษะก็ถูกกระแทกอย่างแรงจนได้รับ “บาดเจ็บรุนแรงยาวนานที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง”
คำร้องยังกล่าวอีกว่าก่อนที่จะตกบันได โพแล็คเป็นผู้ดูแลภรรยาวัย 70 ปีของเขา แต่เมื่อได้รับบาดเจ็บเขาก็ไม่สามารถจะดูแลเธอได้ และยังต้องหาคนมาช่วยดูแลสุขภาพเขาในขณะที่อยู่บ้าน
เบนจามิน ชิว จากสำนักงานทนายความ แพตตัน บ็อกส์ ที่เป็นทนายให้กับโพแล็ค กล่าวว่า การฟ้องร้องไอเอ็มเอฟที่ โพแล็ค ทำงานมาด้วยเกือบตลอดชีวิตเป็นสิ่งสุดท้ายที่เขาอยากจะทำ
“เราได้พยายามทุกทางที่จะแก้ไขปัญหาก่อนที่จะส่งคำฟ้องต่อศาล” ชิวกล่าว “ดร.โพแล็ค ไม่อยากจะฟ้องสถาบันที่เขาทุ่มเทชีวิตให้แม้แต่น้อย”
“และก็ยังดำมืดอยู่ว่าทำไมไอเอ็มเอฟไม่อยากจะที่เคลื่อนไหวเพื่อช่วยเหลือ ดร.โพแล็ค” ชิว กล่าว
ชิว บอกอีกว่า ตั้งแต่ตกบันได โพแล็คก็ต้องทนทุกข์กับอาการสูญเสียความทรงจำบางส่วนและต้องใช้เครื่องช่วยเดิน
ในคำฟ้องกล่าวหาไอเอ็มเอฟว่า เลินเล่อไม่ติดตั้งราวจับไว้ที่บันได และไม่ได้เตือนโพแล็คว่า บันไดชันเพียงใด ส่วนทางด้านไอเอ็มเอฟก็ปฏิเสธที่จะพูดถึงสาระของคดีความดังกล่าว
โพแล็คนั้น ถือสัญชาติเนเธอร์แลนด์ และเป็นคนช่วยวางแผนการประชุมเบรตตันวูดส์ ในปี 1944 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของทั้งไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก
นักเศรษฐศาสตร์รุ่นคุณทวดผู้นี้ เป็นผู้อำนวยการแผนกสถิติคนแรกของไอเอ็มเอฟ เขาเป็นคนร่างโมเดลของเศรษฐกิจโลก ที่ครอบคลุมระบบเศรษฐกิจแปดประเทศ คือ สหรัฐฯ,อังกฤษ,ฝรั่งเศส,เบลเยียม,เชโกสโลวะเกีย,นอร์เวย์,เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน
โพแล็คมีผลงานมากมายในด้านการวิจัย และก็มีบทบาทในการตัดสินใจครั้งสำคัญๆ หลายครั้งของไอเอ็มเอฟ อย่างเช่น การให้เงินกู้แก่อังกฤษในปี 1965 และ 1967 รวมทั้งในที่โลกยกเลิกการใช้ระบบกำหนดค่าเงินตายตัวในช่วงต้นทศวรรษ 1970
และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โพแล็คกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในไอเอ็มเอฟท่ามกลางบริบทโลกที่เปลี่ยนไป โดยกลุ่มประเทศเฟื่องฟูใหม่ทางเศรษฐกิจเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก