(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
India ripe for more attacks
By Sudha Ramachandran
28/07/2008
การโจมตีด้วยระเบิดชนิดมุ่งหวังเอาชีวิต ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วใน บังคาลอร์ และ อาห์เมดาบัด สองนครใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวของอินเดีย ดูจะมีความประสงค์ในการกระพือให้เกิดการจลาจลวุ่นวายขึ้นระหว่างชุมชนต่างศาสนาด้วย และสัญญาณบอกเหตุทั้งหมดล้วนแต่ชี้ตรงกันว่า ยังจะต้องเกิดการโจมตีขึ้นมาอีก ถ้าหากเหตุระเบิดเหล่านี้ไม่ประสบผลในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
บังคาลอร์ – บังคาลอร์ กับ อาห์เมดาบัด สองนครใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวของอินเดีย ได้ถูกผู้ก่อการร้ายโจมตีต่อเนื่องกันเป็นระลอกเป็นเวลา 2 วันติดต่อกันเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ระเบิดที่มีอานุภาพต่ำจำนวน 25 ลูกก่อให้เกิดความเสียหายระดับหนึ่งในเมืองทั้งสอง โดยมีผู้ถูกสังหารไปหลายสิบคน
ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์(25) บังคาลอร์ ที่เป็นเสมือนเมืองหลวงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของอินเดีย ต้องสั่นสะเทือนด้วยระเบิด 8 ลูกที่สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาภายในช่วงเวลา 35 นาที แล้วอีก 24 ชั่วโมงถัดจากนั้น ระเบิด 17 ลูกก็ได้ก่อความเสียหายไปทั่วอาห์เมดาบัด เมืองศูนย์กลางด้านการพาณิชย์ของรัฐคุชราต รัฐทางภาคตะวันตกที่มั่งคั่งรุ่งเรืองของอินเดีย โดยทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเวลา 70 นาที ซึ่งได้สังหารชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 46 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกกว่าร้อยคน
เหตุบึ้มชนิดต่อเนื่องใน 2 เมืองนี้ ยังเกิดขึ้นทิ้งช่วงไม่ถึง 2 เดือนจากการเป็นโจมตีด้วยระเบิดเป็นชุดที่เมืองชัยปุระ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมและก็เป็นเมืองหลวงของรัฐราชสถาน ซึ่งได้สังหารผู้คนไปประมาณ 65 คน
เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมองเห็นความคล้ายคลึงกันของการโจมตีที่เกิดขึ้นในบังคาลอร์และอาห์เมดาบัด ทั้งสองเมืองต่างเผชิญกับการระเบิดต่อเนื่องเป็นชุด, วัสดุที่ใช้ในระเบิดต่างเป็นส่วนผสมของแอมโนเนียมไนเตรต สลักเกลียว และตลับลูกปืน, การระเบิดในแต่ละชุดเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาสั้นๆ และภายในรัศมี 10 กิโลเมตร นอกจากนั้น รัฐกรณาฏกะ ซึ่งมีบังคาลอร์เป็นเมืองหลวง ตลอดจนรัฐคุชราต และราชสถาน ล้วนแต่ปกครองโดยพรรคภารติยะ ชนะตะ (บีเจพี) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวทางชาตินิยมฮินดู
เช่นเดียวกับเหตุระเบิดที่เมืองชัยปุระ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “นักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย” (Indian Mujahideen) ก็ได้อ้างความรับผิดชอบต่อการระเบิดที่อาห์เมดาบัดด้วย สำหรับการโจมตีในบังคาลอร์นั้น ยังไม่มีใครออกมาอ้างตัวเป็นผู้กระทำการแต่อย่างใด
กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียนี้ เป็นกลุ่มที่แทบไม่มีใครรู้จักกันเลย ชื่อนี้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกโดยเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดเป็นชุดรวม 6 ครั้ง ณ ที่ทำการศาลยุติธรรมหลายๆ แห่งของเมืองพาราณสี, ไฟซาบาด, และลัคเนา ซึ่งต่างก็อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2007 จากนั้นกลุ่มนี้ก็อ้างความรับผิดชอบต่อการระเบิด 7 ครั้งในชัยปุระ และมาตอนนี้ก็ที่อาห์เมดาบัด
พวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองบอกว่า กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหวที่มาจากองค์กรซึ่งถูกสั่งห้ามไปแล้วหลายแห่ง อาทิ ขบวนการนักศึกษาอิสลามแห่งอินเดีย (Students Islamic Movement of India หรือ SIMI), กลุ่มฮารกัต-อุล จีฮัด อัล-อิสลามี (Harkat-ul Jihad al-Islami หรือ HUJI), และกลุ่ม ลัชการ์-อี-ตอยบา (Lashkar-e-Toiba หรือ LeT) องค์กรเหล่านี้ได้เคยร่วมมือประสานงานกันในการโจมตีแบบก่อการร้ายครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว โดยที่ LeT และ เอชยูเจไอ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน เป็นผู้จัดหาทุนและจัดหาทักษะความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ส่วน เอสไอเอ็มไอ เป็นผู้จัดหาการสนับสนุนด้านส่งกำลังบำรุงตลอดจนที่พักซึ่งปลอดภัย แหล่งข่าวด้านข่าวกรองผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า “การใช้ชื่อ “นักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย” กับองค์กรบังหน้าที่เกิดจากการประสานร่วมมือกันของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งได้เคยออกปฏิบัติการกันมาระยะหนึ่งแล้ว ก็เพียงเพื่อหันเหความสนใจให้ออกจากพวกผู้อุปถัมภ์ตัวจริงของกลุ่มนี้ที่อยู่ข้ามชายแดนเข้าไปในปากีสถานเท่านั้น”
กระนั้นก็ตาม ความเจ็บช้ำน้ำใจของกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ก็ดูจะมีรากเหง้ามาจากเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอินเดียเอง
ในอีเมล์ที่ส่งถึงสื่อมวลชนเพียง 5 นาทีก่อนเกิดการระเบิดครั้งแรกในเมืองอาห์เมดาบัด กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียบอกว่า การโจมตีด้วยระเบิดเหล่านี้ของพวกเขา กระทำไปเพื่อเป็นการล้างแค้นการสังหารหมู่ต่อต้านชาวมุสลิมในรัฐคุชราตเมื่อปี 2002 ซึ่งมีคนถูกฆ่าตายไปกว่า 2,500 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทั้งนี้ พวกนักเคลื่อนไหวของกลุ่มวิศวะ ฮินดู ปาริชาด (Vishva Hindu Parishad หรือ VHP), กลุ่ม บัจรัง ดัล (Bajrang Dal) ตลอดจนองค์กรภราดรภาพอื่นๆ ของพรรคบีเจพี ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐแห่งนั้นอยู่ ได้ถูกพบเห็นว่ากำลังสั่งการและกำลังเข้าร่วมในการสังหารหมู่ชาวมุสลิมคราวนั้นอย่างชัดแจ้ง
รัฐบาลพรรคบีเจพีของรัฐคุชราตแทบไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อหยุดยั้งความรุนแรง สิ่งที่น่าอนาถยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ ในช่วงเวลา 6 ปีหลังจากนั้นมาก็ยังไม่ได้มีการให้ความยุติธรรมอะไรเลย ตำรวจปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้งความจากเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมาก แต่สำหรับคดีหยิบมือหนึ่งซึ่งตำรวจดำเนินการให้ ผู้ถูกกล่าวหาก็สามารถหลุดพ้นคดีเป็นอิสระกันแทบทั้งหมด เหยื่อเคราะห์ร้ายตลอดจนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ยังถูกข่มขู่คุกคามจากเหล่าผู้นำของ วีเอชพี และบีเจพี ผู้คนจำนวนนับพันๆ ยังคงไม่ได้รับการฟื้นฟูเยียวยา การจลาจลที่คุชราตคราวนั้นเป็นชนวนทำให้ชาวมุสลิมอินเดียเกิดความเคียดแค้นอย่างล้ำลึกต่อทางการรัฐแห่งนี้ กล่าวกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีส่วนสำคัญทำให้เยาวชนมุสลิมผู้โกรธกริ้วนับร้อยๆ คน เข้าไปร่วมงานกับพวกกลุ่มก่อการร้าย
“ประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งผู้ส่งข่าวสารนี้ (กลุ่มที่ส่งอีเมล์ก่อนการระเบิดที่อาห์เมดาบัด) ต้องการที่จะถ่ายทอดให้แพร่กระจายออกไปก็คือว่า ระบบงานยุติธรรมทางอาญามีแต่ปฏิบัติต่อชาวมุสลิมอย่างเข้มงวด ทว่ากลับผ่อนปรนต่อชาวฮินดู” เป็นคำอธิบายของ บี รามาน ผู้เชี่ยวชาญในด้านการก่อการร้าย ซึ่งเกษียณราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการต่อสู้กับการก่อการร้าย ของ “ฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์” (Research and Analysis Wing) ที่ป็นองค์การข่าวกรองรับผิดชอบด้านภายนอกของอินเดีย
“ภาษาที่ใช้ในอีเมล์นี้เป็นภาษาแบบที่คนอินเดียทั่วไปใช้กัน เนื้อหาและเหตุผลต่างๆ ที่นำมาอ้างก็เป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมอินเดียใช้กันอยู่ และประเด็นต่างๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาก็เป็นประเด็นที่กำลังใช้ปลุกระดมความคิดของชาวมุสลิมอินเดียหลายๆ ส่วน อย่างเช่น การรื้อถอนมัสยิดบาบรี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1992, การที่ไม่ได้มีการลงโทษใดๆ ต่อพวกตำรวจนครมุมไบ (บอมเบย์) ซึ่งถูกระบุว่ามีความผิดฐานใช้อำนาจมากเกินเหตุ โดยคณะกรรมการสอบสวนศรีกฤษณะ [ซึ่งทำการสอบสวนการจลาจลที่บอมเบย์ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม 1992 จนถึงเดือนมกราคม 1993], การลงโทษอย่างหนักหน่วงต่อคนมุสลิมผู้ทำการแก้แค้น [โดยการโจมตีด้วยระเบิดเป็นระลอกในบอมเบย์] เมื่อเดือนมีนาคม 1993, และการจลาจลที่คุชราต” ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้แจกแจงต่อ
อีเมล์ฉบับหนึ่งที่ถูกส่งออกไปก่อนหน้าเหตุระเบิดตามศาลยุติธรรมหลายๆ แห่งในรัฐอุตตรประเทศก็เช่นเดียวกัน มีการระบุถึงความโกรธแค้นของกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ที่มีต่อพวกทนายความซึ่งปฏิเสธไม่ยอมว่าความแก้ต่างให้แก่ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ปฏิบัติการของกลุ่ม จัยช์-อี-โมฮัมเหม็ด (Jaish-e-Mohammed) ซึ่งได้ถูกจับกุมในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการมุ่งลักพาสมาชิกรัฐสภาจากพรรคคองเกรสคนดัง นั่นคือ ราหุล คานธี
กระทั่งสมมุติว่ากลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียไม่ระบุถึงเหตุผลความเคียดแค้นของพวกเขาเอาไว้ในอีเมล์ฉบับที่ส่งก่อนเหตุบึ้มในอาห์เมดาบัด แต่จากพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดการระเบิดก็สามารถบ่งบอกเรื่องราวทั้งหมดได้อยู่นั่นเอง การระเบิด 4 จุดในทั้งหมด 16 จุดที่นครแห่งนี้ เกิดขึ้นในเขตมานินครา อันเป็นเขตเลือกตั้งของมุขมนตรีรัฐคุชราต นเรนทรา โมดี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้อยู่เช่นกัน เมื่อตอนที่เกิดเหตุการณ์จลาจลในปี 2002 โมดียังชอบที่จะข่มเหงรังแกชุมชนชาวมุสลิมตลอดจนคนฮินดูที่อยากให้แยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหาร ด้วยการประกาศสนับสนุนหลักการ “ฮินดูทวา” (Hindutva) หรือวิถีชีวิตแบบฮินดู ตลอดจนการปราศรัยต่อต้านชาวมุสลิมด้วยการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังอย่างรุนแรง
ระเบิดอีกหลายลูกเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินการโดย ประวิน โตกาเดีย ผู้นำ วีเอชพี และใกล้ๆ กับบ้านพักของ อโศก ภัตต์ ประธานสภารัฐคุชราต ระเบิดหลายลูกซึ่งเกิดขึ้นในโรงพยาบาลแอลจี และโรงพยาบาลซิวิล มีการกะเวลาเอาไว้ไม่เพียงให้ได้จังหวะกับที่พวกเหยื่อระเบิดจะไปถึงจุดบึ้มเท่านั้น หากยังให้บางลูกระเบิดในตอนที่พวกรัฐมนตรีของรัฐเดินทางไปเยี่ยมเหยื่อที่บาดเจ็บจากระเบิดลูกแรกๆ อีกด้วย ระเบิดลูกที่โรงพยาบาลแอลจี ในเขตมานินครา สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาตอนที่ ฮาริน ปาธัก สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติที่เป็นตัวแทนของอาห์เมดาบัดและสังกัดพรรคบีเจพี กำลังไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลแห่งนั้นพอดี
ในอีเมล์ฉบับนั้น กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ยังได้เอ่ยถึงตำรวจด้วย โดยมีการระบุอย่างเจาะจงถึง “การจับกุม, การคุมขัง, และการทรมาน” นักเคลื่อนไหวของขบวนการ เอสไอเอ็มไอ ทั้งนี้มีนักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ จำนวนหลายสิบคน ถูกจับกุมคุมขังทั้งในรัฐกรณาฏกะ, เกรละ, มัธยประเทศ, และสถานที่อื่นๆ อีก ระหว่างการปราบปรามองค์กรนี้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
ปีนี้เอง พวกผู้นำเอสไอเอ็มไอหลายคน อาทิ ซัฟดาร์ นาโกรี เลขาธิการและนักเผยแพร่อุดมการณ์ของขบวนการ, คามรุดดีน นาโกรี น้องชายของซัฟดาร์ ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการในรัฐอานธรประเทศ, ฮาฟิซ ฮัสเซน ผู้นำสาขาในรัฐกรณาฏกะ, และ พีดิคัล อับดุล วิศวกรซอฟต์แวร์ที่เกิดในรัฐเกรละ ซึ่งหันมาเป็นผู้ก่อการร้าย ต่างก็ถูกจับกุม โดยการรวบตัวคนสำคัญเหล่านี้ถูกมองว่าได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อองค์กรนี้
เรื่องที่กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย โดยแท้ที่จริงแล้วเป็นองค์กรบังหน้าของ เอสไอเอ็มไอ และกลุ่มอื่นๆ หรืออย่างน้อยก็เป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับ เอสไอเอ็มไอ นั้น ปรากฏหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่า อีเมล์ฉบับดังกล่าวข้างต้น ได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวบรรดานักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ ที่ถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาก่อการร้าย
ตำรวจในบังคาลอร์บอกว่า การสอบสวนเหตุระเบิดเมื่อวันศุกร์(25) ก็จะมุ่งเน้นไปที่ เอสไอเอ็มไอ รัฐกรณาฏกะคือศูนย์กลางสำคัญในการหาสมาชิกใหม่และการฝึกอบรมของเอสไอเอ็มไอ โดยที่กลุ่มนี้มีค่ายฝึกอบรมสิบกว่าแห่งตามเมืองเล็กๆ หลายแห่งอย่าง เช่น ดาเวนเกเร, ฮูบลิ, และ ธารวาร ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา และผู้รับการอบรมส่วนใหญ่ก็เป็นชาวเมืองบังคาลอร์นี่เอง
ขณะที่พวกบริษัทไอทีในบังคาลอร์ เป็นที่สนใจของพวกผู้ก่อการร้ายเหล่านี้มาหลายปีแล้ว แต่การจับกุมเหล่านักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ ในปีนี้ ซึ่งหลายคนเป็นลูกจ้างของพวกบริษัทนานาชาติด้านซอฟต์แวร์ในบังคาลอร์ ก็ทำให้เกิดความสนใจกันเกี่ยวกับการขยายกิ่งก้านสาขาของขบวนการนี้ เหตุระเบิดที่บังคาลอร์ในวันศุกร์ยังยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงภัยคุกคามที่นครหลวงแห่งไอทีของอินเดียแห่งนี้กำลังเผชิญอยู่
แม้เหตุระเบิดในบังคาลอร์ไม่ได้ทำให้มีการสูญเสียชีวิตมนุษย์ไปมากมาย โดยที่มีผู้หญิงถูกสังหารไปคนหนึ่ง และมีผู้บาดเจ็บราว 6 คน แต่ตำรวจก็กลัวว่านี่อาจจะเป็นเพียงการซ้อมใหญ่เท่านั้น นั่นหมายความว่ายังอาจจะมีการโจมตีมากกว่านี้ตามมาอีก
การระเบิดที่บังคาลอร์และอาห์เมดาบัดบ่งชี้ให้เห็นว่า การจับกุมพวกผู้นำระดับสูงสุดตลอดจนนักเคลื่อนไหวอีกหลายสิบคนของ เอสไอเอ็มไอ ยังไม่ได้ทำลายความสามารถในการเข้าโจมตีของขบวนการนี้ อันที่จริง การที่ยังสามารถเปิดการโจมตีในอาห์เมดาบัด หนึ่งวันภายหลังทั่วประเทศอินเดียมีการประกาศเตือนให้เตรียมพร้อมระวังภัยในระดับสูง สืบเนื่องจากการระเบิดที่บังคาลอร์ คือสัญญาณอันชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าโจมตีของ เอสไอเอ็มไอ
ถ้าหากกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย/เอสไอเอ็มไอ กำลังพุ่งเป้าเล่นงานบรรดารัฐที่อยู่ในการปกครองของบีเจพี รวมทั้งกำลังปฏิบัติการตอบโต้พวกที่มุ่งเล่นงานชาวมุสลิมตลอดจนทำให้องค์การของพวกเขาอ่อนแอแล้ว ตำรวจหลายคนก็รู้สึกว่าเป้าหมายต่อไปน่าจะเป็นที่รัฐมัธยประเทศ รัฐแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใจกลางประเทศอินเดีย ไม่เพียงปกครองโดยบีเจพีเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของเมืองอินโดเร และเมืองอุชเชน อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้นำของ เอสไอเอ็มไอ หลายคนถูกกวาดจับไปในปีนี้
เป็นสิ่งที่กระจ่างชัดเจนมาหลายปีแล้วว่า พวกองค์กรก่อการร้ายกำลังตั้งเป้าหมายเล่นงานระบอบประชาธิปไตยแบบแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของอินเดีย และพวกเขาก็กำลังหาทางปลุกปั่นให้เกิดการจลาจลระหว่างชุมชนต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำลายโครงสร้างของระบอบนี้ พวกเขาพุ่งเป้าหมายโจมตีวัดฮินดูหลายแห่ง อาทิ วัดอัคชาร์ธรรม ในเมืองคานธีนคร และวัดรากุนาถ ในแคว้นชัมมู เมื่อปี 2002 และวัดสังกัต โมจัน ในเมืองพาราณสี ปี 2006
เมื่อการกระทำเช่นนี้ยังไม่สามารถจุดชนวนให้เกิดการจลาจลได้ ก็ปรากฏว่าได้มีมัสยิดแหลายแห่งถูกโจมตีบ้าง อาทิ มัสยิดเมกกะ ในเมืองไอเดอราบัด เมื่อปี 2007 นอกจากนั้นยังมีการโจมตีในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ทั้งของทางชุมชนชาวฮินดูและทางชุมชนชาวมุสลิม แล้วมาถึงตอนนี้ก็เกิดการโจมตีตามรัฐต่างๆ ที่ปกครองโดยบีเจพี
เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในบังคาลอร์และอาห์เมดาบัดอาจจะมีเชื้อมาจากความโกรธกริ้วและความต้องการที่จะแก้แค้น ทว่ามันก็มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความวุ่นวายระหว่างชุมชนขั้นมาด้วย โดยที่หลายๆ จุดซึ่งเกิดการระเบิดนั้น เป็นย่านที่มีความอ่อนไหวระหว่างชุมชนอยู่แล้ว และถึงอย่างไร หากเกิดการจลาจลขึ้นมาก็ย่อมทำให้กลุ่มอย่างเช่น เอสไอเอ็มไอ ได้นักรบใหม่จำนวนมากที่เป็นคนรุ่นเยาว์ผู้เดือดดาลคั่งแค้น
พวกที่อยู่เบื้องหลังการระเบิดเหล่านี้หวังที่จะให้เกิดเหตุการณ์ในคุชราตปี 2002 ซ้ำรอยขึ้นอีก ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2002 ขบวนรถไฟที่นำเอาพวกนักเคลื่อนไหวของวีเอชพี เดินทางกลับจากเมืองอโยธยา อันเป็นเมืองสำคัญของทางฮินดู ขณะแล่นมาถึงเมืองโกธรา ของคุชราต ก็ได้ถูกโจมตีโดยที่กล่าวหากันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อการร้าย การโจมตีคราวนั้นมีผู้เสียชีวิตเพราะถูกเผาทั้งเป็น 58 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 25 คน และเด็ก 15 คน ฝูงชนฮินดูที่นำโดยวีเอชพีได้ออกไล่ล่าแก้แค้น โดยพุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิมทั่วทั้งรัฐคุชราต
รัฐบาลโมดีในตอนนี้จะยินยอมให้การจลาจลอันหฤโหดในคุชราตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2002 เกิดขึ้นมาอีกคำรบหนึ่งหรือเปล่า? แต่อย่างน้อยปฏิกิริยาเฉพาะหน้าของรัฐบาลคุชราตในปัจจุบัน ก็มีความกระฉับกระเฉงและรับผิดชอบกว่าในปี 2002 เป็นอันมาก เป็นต้นว่า เมื่อวันเสาร์(26) ได้มีการส่งตำรวจและกำลังอาสาสมัครกึ่งทหาร กระจายออกไปทั่วนครอาห์เมดาบัดในทันที รวมทั้งมีทหารจากกองทัพบกอินเดียออกมาลาดตระเวนตรวจตราในตัวเมืองด้วย
ในปี 2002 โมดีสามารถหาความสนับสนุนจากรัฐบาลผสมนำโดยบีเจพีในกรุงนิวเดลี แต่เวลานี้ รัฐบาลผสมพันธมิตรสามัคคีฝ่ายก้าวหน้าที่นำโดยพรรคคองเกรส ซึ่งเป็นปรปักษ์กับเขาต่างหาก ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ถึงแม้ประวัติในเรื่องการจลาจลระหว่างชุมชนต่างศาสนาของพรรคคองเกรส ก็นองเลือดพอๆ กับของบีเจพี เพราะผู้นำและนักเคลื่อนไหวของพรรคนี้ได้เคยปลุกระดมและยุยงฝูงชนระหว่างการจลาจลต่อต้านชาวซิกข์ทั้งในกรุงนิวเดลีและเมืองใหญ่อื่นๆ เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1984 ทว่าพรรคคองเกรสคงไม่ปล่อยโมดีเอาไว้นานหรอก ถ้าหากเกิดกรณีพรรคบีเจพียั่วยุให้เกิดความรุนแรงเพื่อแก้แค้นกันขึ้นในคุชราต
โมดีอาจจะพบว่ารัฐบาลของเขาถูกรัฐบาลกลางสั่งยุบ หากเขาขืนกลับไปใช้ลูกไม้เก่าของเขาอีกครั้งหนึ่ง
สุธา รามาจันทรัน เป็นนักหนังสือพิมพ์/นักวิจัยอิสระ ซึ่งพำนักอยู่ที่บังคาลอร์
India ripe for more attacks
By Sudha Ramachandran
28/07/2008
การโจมตีด้วยระเบิดชนิดมุ่งหวังเอาชีวิต ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วใน บังคาลอร์ และ อาห์เมดาบัด สองนครใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวของอินเดีย ดูจะมีความประสงค์ในการกระพือให้เกิดการจลาจลวุ่นวายขึ้นระหว่างชุมชนต่างศาสนาด้วย และสัญญาณบอกเหตุทั้งหมดล้วนแต่ชี้ตรงกันว่า ยังจะต้องเกิดการโจมตีขึ้นมาอีก ถ้าหากเหตุระเบิดเหล่านี้ไม่ประสบผลในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
บังคาลอร์ – บังคาลอร์ กับ อาห์เมดาบัด สองนครใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัวของอินเดีย ได้ถูกผู้ก่อการร้ายโจมตีต่อเนื่องกันเป็นระลอกเป็นเวลา 2 วันติดต่อกันเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ระเบิดที่มีอานุภาพต่ำจำนวน 25 ลูกก่อให้เกิดความเสียหายระดับหนึ่งในเมืองทั้งสอง โดยมีผู้ถูกสังหารไปหลายสิบคน
ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์(25) บังคาลอร์ ที่เป็นเสมือนเมืองหลวงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของอินเดีย ต้องสั่นสะเทือนด้วยระเบิด 8 ลูกที่สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาภายในช่วงเวลา 35 นาที แล้วอีก 24 ชั่วโมงถัดจากนั้น ระเบิด 17 ลูกก็ได้ก่อความเสียหายไปทั่วอาห์เมดาบัด เมืองศูนย์กลางด้านการพาณิชย์ของรัฐคุชราต รัฐทางภาคตะวันตกที่มั่งคั่งรุ่งเรืองของอินเดีย โดยทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเวลา 70 นาที ซึ่งได้สังหารชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 46 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกกว่าร้อยคน
เหตุบึ้มชนิดต่อเนื่องใน 2 เมืองนี้ ยังเกิดขึ้นทิ้งช่วงไม่ถึง 2 เดือนจากการเป็นโจมตีด้วยระเบิดเป็นชุดที่เมืองชัยปุระ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมและก็เป็นเมืองหลวงของรัฐราชสถาน ซึ่งได้สังหารผู้คนไปประมาณ 65 คน
เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมองเห็นความคล้ายคลึงกันของการโจมตีที่เกิดขึ้นในบังคาลอร์และอาห์เมดาบัด ทั้งสองเมืองต่างเผชิญกับการระเบิดต่อเนื่องเป็นชุด, วัสดุที่ใช้ในระเบิดต่างเป็นส่วนผสมของแอมโนเนียมไนเตรต สลักเกลียว และตลับลูกปืน, การระเบิดในแต่ละชุดเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาสั้นๆ และภายในรัศมี 10 กิโลเมตร นอกจากนั้น รัฐกรณาฏกะ ซึ่งมีบังคาลอร์เป็นเมืองหลวง ตลอดจนรัฐคุชราต และราชสถาน ล้วนแต่ปกครองโดยพรรคภารติยะ ชนะตะ (บีเจพี) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวทางชาตินิยมฮินดู
เช่นเดียวกับเหตุระเบิดที่เมืองชัยปุระ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “นักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย” (Indian Mujahideen) ก็ได้อ้างความรับผิดชอบต่อการระเบิดที่อาห์เมดาบัดด้วย สำหรับการโจมตีในบังคาลอร์นั้น ยังไม่มีใครออกมาอ้างตัวเป็นผู้กระทำการแต่อย่างใด
กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียนี้ เป็นกลุ่มที่แทบไม่มีใครรู้จักกันเลย ชื่อนี้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกโดยเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดเป็นชุดรวม 6 ครั้ง ณ ที่ทำการศาลยุติธรรมหลายๆ แห่งของเมืองพาราณสี, ไฟซาบาด, และลัคเนา ซึ่งต่างก็อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2007 จากนั้นกลุ่มนี้ก็อ้างความรับผิดชอบต่อการระเบิด 7 ครั้งในชัยปุระ และมาตอนนี้ก็ที่อาห์เมดาบัด
พวกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองบอกว่า กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหวที่มาจากองค์กรซึ่งถูกสั่งห้ามไปแล้วหลายแห่ง อาทิ ขบวนการนักศึกษาอิสลามแห่งอินเดีย (Students Islamic Movement of India หรือ SIMI), กลุ่มฮารกัต-อุล จีฮัด อัล-อิสลามี (Harkat-ul Jihad al-Islami หรือ HUJI), และกลุ่ม ลัชการ์-อี-ตอยบา (Lashkar-e-Toiba หรือ LeT) องค์กรเหล่านี้ได้เคยร่วมมือประสานงานกันในการโจมตีแบบก่อการร้ายครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว โดยที่ LeT และ เอชยูเจไอ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในปากีสถาน เป็นผู้จัดหาทุนและจัดหาทักษะความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ส่วน เอสไอเอ็มไอ เป็นผู้จัดหาการสนับสนุนด้านส่งกำลังบำรุงตลอดจนที่พักซึ่งปลอดภัย แหล่งข่าวด้านข่าวกรองผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า “การใช้ชื่อ “นักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย” กับองค์กรบังหน้าที่เกิดจากการประสานร่วมมือกันของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งได้เคยออกปฏิบัติการกันมาระยะหนึ่งแล้ว ก็เพียงเพื่อหันเหความสนใจให้ออกจากพวกผู้อุปถัมภ์ตัวจริงของกลุ่มนี้ที่อยู่ข้ามชายแดนเข้าไปในปากีสถานเท่านั้น”
กระนั้นก็ตาม ความเจ็บช้ำน้ำใจของกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ก็ดูจะมีรากเหง้ามาจากเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอินเดียเอง
ในอีเมล์ที่ส่งถึงสื่อมวลชนเพียง 5 นาทีก่อนเกิดการระเบิดครั้งแรกในเมืองอาห์เมดาบัด กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียบอกว่า การโจมตีด้วยระเบิดเหล่านี้ของพวกเขา กระทำไปเพื่อเป็นการล้างแค้นการสังหารหมู่ต่อต้านชาวมุสลิมในรัฐคุชราตเมื่อปี 2002 ซึ่งมีคนถูกฆ่าตายไปกว่า 2,500 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทั้งนี้ พวกนักเคลื่อนไหวของกลุ่มวิศวะ ฮินดู ปาริชาด (Vishva Hindu Parishad หรือ VHP), กลุ่ม บัจรัง ดัล (Bajrang Dal) ตลอดจนองค์กรภราดรภาพอื่นๆ ของพรรคบีเจพี ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐแห่งนั้นอยู่ ได้ถูกพบเห็นว่ากำลังสั่งการและกำลังเข้าร่วมในการสังหารหมู่ชาวมุสลิมคราวนั้นอย่างชัดแจ้ง
รัฐบาลพรรคบีเจพีของรัฐคุชราตแทบไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อหยุดยั้งความรุนแรง สิ่งที่น่าอนาถยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ ในช่วงเวลา 6 ปีหลังจากนั้นมาก็ยังไม่ได้มีการให้ความยุติธรรมอะไรเลย ตำรวจปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้งความจากเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมาก แต่สำหรับคดีหยิบมือหนึ่งซึ่งตำรวจดำเนินการให้ ผู้ถูกกล่าวหาก็สามารถหลุดพ้นคดีเป็นอิสระกันแทบทั้งหมด เหยื่อเคราะห์ร้ายตลอดจนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ยังถูกข่มขู่คุกคามจากเหล่าผู้นำของ วีเอชพี และบีเจพี ผู้คนจำนวนนับพันๆ ยังคงไม่ได้รับการฟื้นฟูเยียวยา การจลาจลที่คุชราตคราวนั้นเป็นชนวนทำให้ชาวมุสลิมอินเดียเกิดความเคียดแค้นอย่างล้ำลึกต่อทางการรัฐแห่งนี้ กล่าวกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีส่วนสำคัญทำให้เยาวชนมุสลิมผู้โกรธกริ้วนับร้อยๆ คน เข้าไปร่วมงานกับพวกกลุ่มก่อการร้าย
“ประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งผู้ส่งข่าวสารนี้ (กลุ่มที่ส่งอีเมล์ก่อนการระเบิดที่อาห์เมดาบัด) ต้องการที่จะถ่ายทอดให้แพร่กระจายออกไปก็คือว่า ระบบงานยุติธรรมทางอาญามีแต่ปฏิบัติต่อชาวมุสลิมอย่างเข้มงวด ทว่ากลับผ่อนปรนต่อชาวฮินดู” เป็นคำอธิบายของ บี รามาน ผู้เชี่ยวชาญในด้านการก่อการร้าย ซึ่งเกษียณราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการต่อสู้กับการก่อการร้าย ของ “ฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์” (Research and Analysis Wing) ที่ป็นองค์การข่าวกรองรับผิดชอบด้านภายนอกของอินเดีย
“ภาษาที่ใช้ในอีเมล์นี้เป็นภาษาแบบที่คนอินเดียทั่วไปใช้กัน เนื้อหาและเหตุผลต่างๆ ที่นำมาอ้างก็เป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมอินเดียใช้กันอยู่ และประเด็นต่างๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาก็เป็นประเด็นที่กำลังใช้ปลุกระดมความคิดของชาวมุสลิมอินเดียหลายๆ ส่วน อย่างเช่น การรื้อถอนมัสยิดบาบรี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1992, การที่ไม่ได้มีการลงโทษใดๆ ต่อพวกตำรวจนครมุมไบ (บอมเบย์) ซึ่งถูกระบุว่ามีความผิดฐานใช้อำนาจมากเกินเหตุ โดยคณะกรรมการสอบสวนศรีกฤษณะ [ซึ่งทำการสอบสวนการจลาจลที่บอมเบย์ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม 1992 จนถึงเดือนมกราคม 1993], การลงโทษอย่างหนักหน่วงต่อคนมุสลิมผู้ทำการแก้แค้น [โดยการโจมตีด้วยระเบิดเป็นระลอกในบอมเบย์] เมื่อเดือนมีนาคม 1993, และการจลาจลที่คุชราต” ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้แจกแจงต่อ
อีเมล์ฉบับหนึ่งที่ถูกส่งออกไปก่อนหน้าเหตุระเบิดตามศาลยุติธรรมหลายๆ แห่งในรัฐอุตตรประเทศก็เช่นเดียวกัน มีการระบุถึงความโกรธแค้นของกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ที่มีต่อพวกทนายความซึ่งปฏิเสธไม่ยอมว่าความแก้ต่างให้แก่ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ปฏิบัติการของกลุ่ม จัยช์-อี-โมฮัมเหม็ด (Jaish-e-Mohammed) ซึ่งได้ถูกจับกุมในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการมุ่งลักพาสมาชิกรัฐสภาจากพรรคคองเกรสคนดัง นั่นคือ ราหุล คานธี
กระทั่งสมมุติว่ากลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดียไม่ระบุถึงเหตุผลความเคียดแค้นของพวกเขาเอาไว้ในอีเมล์ฉบับที่ส่งก่อนเหตุบึ้มในอาห์เมดาบัด แต่จากพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดการระเบิดก็สามารถบ่งบอกเรื่องราวทั้งหมดได้อยู่นั่นเอง การระเบิด 4 จุดในทั้งหมด 16 จุดที่นครแห่งนี้ เกิดขึ้นในเขตมานินครา อันเป็นเขตเลือกตั้งของมุขมนตรีรัฐคุชราต นเรนทรา โมดี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้อยู่เช่นกัน เมื่อตอนที่เกิดเหตุการณ์จลาจลในปี 2002 โมดียังชอบที่จะข่มเหงรังแกชุมชนชาวมุสลิมตลอดจนคนฮินดูที่อยากให้แยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหาร ด้วยการประกาศสนับสนุนหลักการ “ฮินดูทวา” (Hindutva) หรือวิถีชีวิตแบบฮินดู ตลอดจนการปราศรัยต่อต้านชาวมุสลิมด้วยการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังอย่างรุนแรง
ระเบิดอีกหลายลูกเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินการโดย ประวิน โตกาเดีย ผู้นำ วีเอชพี และใกล้ๆ กับบ้านพักของ อโศก ภัตต์ ประธานสภารัฐคุชราต ระเบิดหลายลูกซึ่งเกิดขึ้นในโรงพยาบาลแอลจี และโรงพยาบาลซิวิล มีการกะเวลาเอาไว้ไม่เพียงให้ได้จังหวะกับที่พวกเหยื่อระเบิดจะไปถึงจุดบึ้มเท่านั้น หากยังให้บางลูกระเบิดในตอนที่พวกรัฐมนตรีของรัฐเดินทางไปเยี่ยมเหยื่อที่บาดเจ็บจากระเบิดลูกแรกๆ อีกด้วย ระเบิดลูกที่โรงพยาบาลแอลจี ในเขตมานินครา สำแดงฤทธิ์ขึ้นมาตอนที่ ฮาริน ปาธัก สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติที่เป็นตัวแทนของอาห์เมดาบัดและสังกัดพรรคบีเจพี กำลังไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลแห่งนั้นพอดี
ในอีเมล์ฉบับนั้น กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย ยังได้เอ่ยถึงตำรวจด้วย โดยมีการระบุอย่างเจาะจงถึง “การจับกุม, การคุมขัง, และการทรมาน” นักเคลื่อนไหวของขบวนการ เอสไอเอ็มไอ ทั้งนี้มีนักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ จำนวนหลายสิบคน ถูกจับกุมคุมขังทั้งในรัฐกรณาฏกะ, เกรละ, มัธยประเทศ, และสถานที่อื่นๆ อีก ระหว่างการปราบปรามองค์กรนี้ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
ปีนี้เอง พวกผู้นำเอสไอเอ็มไอหลายคน อาทิ ซัฟดาร์ นาโกรี เลขาธิการและนักเผยแพร่อุดมการณ์ของขบวนการ, คามรุดดีน นาโกรี น้องชายของซัฟดาร์ ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการในรัฐอานธรประเทศ, ฮาฟิซ ฮัสเซน ผู้นำสาขาในรัฐกรณาฏกะ, และ พีดิคัล อับดุล วิศวกรซอฟต์แวร์ที่เกิดในรัฐเกรละ ซึ่งหันมาเป็นผู้ก่อการร้าย ต่างก็ถูกจับกุม โดยการรวบตัวคนสำคัญเหล่านี้ถูกมองว่าได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อองค์กรนี้
เรื่องที่กลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย โดยแท้ที่จริงแล้วเป็นองค์กรบังหน้าของ เอสไอเอ็มไอ และกลุ่มอื่นๆ หรืออย่างน้อยก็เป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับ เอสไอเอ็มไอ นั้น ปรากฏหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่า อีเมล์ฉบับดังกล่าวข้างต้น ได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวบรรดานักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ ที่ถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาก่อการร้าย
ตำรวจในบังคาลอร์บอกว่า การสอบสวนเหตุระเบิดเมื่อวันศุกร์(25) ก็จะมุ่งเน้นไปที่ เอสไอเอ็มไอ รัฐกรณาฏกะคือศูนย์กลางสำคัญในการหาสมาชิกใหม่และการฝึกอบรมของเอสไอเอ็มไอ โดยที่กลุ่มนี้มีค่ายฝึกอบรมสิบกว่าแห่งตามเมืองเล็กๆ หลายแห่งอย่าง เช่น ดาเวนเกเร, ฮูบลิ, และ ธารวาร ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา และผู้รับการอบรมส่วนใหญ่ก็เป็นชาวเมืองบังคาลอร์นี่เอง
ขณะที่พวกบริษัทไอทีในบังคาลอร์ เป็นที่สนใจของพวกผู้ก่อการร้ายเหล่านี้มาหลายปีแล้ว แต่การจับกุมเหล่านักเคลื่อนไหวของ เอสไอเอ็มไอ ในปีนี้ ซึ่งหลายคนเป็นลูกจ้างของพวกบริษัทนานาชาติด้านซอฟต์แวร์ในบังคาลอร์ ก็ทำให้เกิดความสนใจกันเกี่ยวกับการขยายกิ่งก้านสาขาของขบวนการนี้ เหตุระเบิดที่บังคาลอร์ในวันศุกร์ยังยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงภัยคุกคามที่นครหลวงแห่งไอทีของอินเดียแห่งนี้กำลังเผชิญอยู่
แม้เหตุระเบิดในบังคาลอร์ไม่ได้ทำให้มีการสูญเสียชีวิตมนุษย์ไปมากมาย โดยที่มีผู้หญิงถูกสังหารไปคนหนึ่ง และมีผู้บาดเจ็บราว 6 คน แต่ตำรวจก็กลัวว่านี่อาจจะเป็นเพียงการซ้อมใหญ่เท่านั้น นั่นหมายความว่ายังอาจจะมีการโจมตีมากกว่านี้ตามมาอีก
การระเบิดที่บังคาลอร์และอาห์เมดาบัดบ่งชี้ให้เห็นว่า การจับกุมพวกผู้นำระดับสูงสุดตลอดจนนักเคลื่อนไหวอีกหลายสิบคนของ เอสไอเอ็มไอ ยังไม่ได้ทำลายความสามารถในการเข้าโจมตีของขบวนการนี้ อันที่จริง การที่ยังสามารถเปิดการโจมตีในอาห์เมดาบัด หนึ่งวันภายหลังทั่วประเทศอินเดียมีการประกาศเตือนให้เตรียมพร้อมระวังภัยในระดับสูง สืบเนื่องจากการระเบิดที่บังคาลอร์ คือสัญญาณอันชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าโจมตีของ เอสไอเอ็มไอ
ถ้าหากกลุ่มนักรบมุจาฮีดีนชาวอินเดีย/เอสไอเอ็มไอ กำลังพุ่งเป้าเล่นงานบรรดารัฐที่อยู่ในการปกครองของบีเจพี รวมทั้งกำลังปฏิบัติการตอบโต้พวกที่มุ่งเล่นงานชาวมุสลิมตลอดจนทำให้องค์การของพวกเขาอ่อนแอแล้ว ตำรวจหลายคนก็รู้สึกว่าเป้าหมายต่อไปน่าจะเป็นที่รัฐมัธยประเทศ รัฐแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใจกลางประเทศอินเดีย ไม่เพียงปกครองโดยบีเจพีเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของเมืองอินโดเร และเมืองอุชเชน อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้นำของ เอสไอเอ็มไอ หลายคนถูกกวาดจับไปในปีนี้
เป็นสิ่งที่กระจ่างชัดเจนมาหลายปีแล้วว่า พวกองค์กรก่อการร้ายกำลังตั้งเป้าหมายเล่นงานระบอบประชาธิปไตยแบบแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของอินเดีย และพวกเขาก็กำลังหาทางปลุกปั่นให้เกิดการจลาจลระหว่างชุมชนต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำลายโครงสร้างของระบอบนี้ พวกเขาพุ่งเป้าหมายโจมตีวัดฮินดูหลายแห่ง อาทิ วัดอัคชาร์ธรรม ในเมืองคานธีนคร และวัดรากุนาถ ในแคว้นชัมมู เมื่อปี 2002 และวัดสังกัต โมจัน ในเมืองพาราณสี ปี 2006
เมื่อการกระทำเช่นนี้ยังไม่สามารถจุดชนวนให้เกิดการจลาจลได้ ก็ปรากฏว่าได้มีมัสยิดแหลายแห่งถูกโจมตีบ้าง อาทิ มัสยิดเมกกะ ในเมืองไอเดอราบัด เมื่อปี 2007 นอกจากนั้นยังมีการโจมตีในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ทั้งของทางชุมชนชาวฮินดูและทางชุมชนชาวมุสลิม แล้วมาถึงตอนนี้ก็เกิดการโจมตีตามรัฐต่างๆ ที่ปกครองโดยบีเจพี
เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในบังคาลอร์และอาห์เมดาบัดอาจจะมีเชื้อมาจากความโกรธกริ้วและความต้องการที่จะแก้แค้น ทว่ามันก็มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความวุ่นวายระหว่างชุมชนขั้นมาด้วย โดยที่หลายๆ จุดซึ่งเกิดการระเบิดนั้น เป็นย่านที่มีความอ่อนไหวระหว่างชุมชนอยู่แล้ว และถึงอย่างไร หากเกิดการจลาจลขึ้นมาก็ย่อมทำให้กลุ่มอย่างเช่น เอสไอเอ็มไอ ได้นักรบใหม่จำนวนมากที่เป็นคนรุ่นเยาว์ผู้เดือดดาลคั่งแค้น
พวกที่อยู่เบื้องหลังการระเบิดเหล่านี้หวังที่จะให้เกิดเหตุการณ์ในคุชราตปี 2002 ซ้ำรอยขึ้นอีก ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2002 ขบวนรถไฟที่นำเอาพวกนักเคลื่อนไหวของวีเอชพี เดินทางกลับจากเมืองอโยธยา อันเป็นเมืองสำคัญของทางฮินดู ขณะแล่นมาถึงเมืองโกธรา ของคุชราต ก็ได้ถูกโจมตีโดยที่กล่าวหากันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อการร้าย การโจมตีคราวนั้นมีผู้เสียชีวิตเพราะถูกเผาทั้งเป็น 58 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 25 คน และเด็ก 15 คน ฝูงชนฮินดูที่นำโดยวีเอชพีได้ออกไล่ล่าแก้แค้น โดยพุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิมทั่วทั้งรัฐคุชราต
รัฐบาลโมดีในตอนนี้จะยินยอมให้การจลาจลอันหฤโหดในคุชราตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2002 เกิดขึ้นมาอีกคำรบหนึ่งหรือเปล่า? แต่อย่างน้อยปฏิกิริยาเฉพาะหน้าของรัฐบาลคุชราตในปัจจุบัน ก็มีความกระฉับกระเฉงและรับผิดชอบกว่าในปี 2002 เป็นอันมาก เป็นต้นว่า เมื่อวันเสาร์(26) ได้มีการส่งตำรวจและกำลังอาสาสมัครกึ่งทหาร กระจายออกไปทั่วนครอาห์เมดาบัดในทันที รวมทั้งมีทหารจากกองทัพบกอินเดียออกมาลาดตระเวนตรวจตราในตัวเมืองด้วย
ในปี 2002 โมดีสามารถหาความสนับสนุนจากรัฐบาลผสมนำโดยบีเจพีในกรุงนิวเดลี แต่เวลานี้ รัฐบาลผสมพันธมิตรสามัคคีฝ่ายก้าวหน้าที่นำโดยพรรคคองเกรส ซึ่งเป็นปรปักษ์กับเขาต่างหาก ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ถึงแม้ประวัติในเรื่องการจลาจลระหว่างชุมชนต่างศาสนาของพรรคคองเกรส ก็นองเลือดพอๆ กับของบีเจพี เพราะผู้นำและนักเคลื่อนไหวของพรรคนี้ได้เคยปลุกระดมและยุยงฝูงชนระหว่างการจลาจลต่อต้านชาวซิกข์ทั้งในกรุงนิวเดลีและเมืองใหญ่อื่นๆ เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1984 ทว่าพรรคคองเกรสคงไม่ปล่อยโมดีเอาไว้นานหรอก ถ้าหากเกิดกรณีพรรคบีเจพียั่วยุให้เกิดความรุนแรงเพื่อแก้แค้นกันขึ้นในคุชราต
โมดีอาจจะพบว่ารัฐบาลของเขาถูกรัฐบาลกลางสั่งยุบ หากเขาขืนกลับไปใช้ลูกไม้เก่าของเขาอีกครั้งหนึ่ง
สุธา รามาจันทรัน เป็นนักหนังสือพิมพ์/นักวิจัยอิสระ ซึ่งพำนักอยู่ที่บังคาลอร์