ไฟแนนเชียลไทมส์/เอเอฟพี - ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อผุดกลับขึ้นมาหลอนเศรษฐกิจโลกอีกครั้งเมื่อวันอังคาร (24) หลังจากที่บริษัทขนาดยักษ์ของโลกทั้งหลายตั้งแต่ "ดาวเคมิคัล" ของสหรัฐฯ ไปจนถึง "พอสโก" ของเกาหลีใต้ออกมาประกาศขึ้นราคาสินค้าเพราะต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบทะยานขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
การประกาศของดาวเคมิดัล อันเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ระบุว่า จะต้องขึ้นราคาสินค้าของบริษัทไปประมาณ 25% ซึ่งเป็นการขึ้นราคาครั้งใหญ่ที่สุดของบริษัท ในขณะที่พอสโก ผู้ผลิตเหล็กกล้าอันดับ 4 ของโลก ก็ประกาศเพิ่มราคาเหล็กกล้าของตนเองอีก 21% ทำให้อัตราเฟ้อรวมของราคาสินค้าพอสโก้เท่ากับ 60% แล้ว นอกจากนั้น ซัลซกิตเตอร์ ผู้ผลิตเหล็กกล้าออกเยอรมนีก็ออกมาประกาศเช่นกันว่า อาจจะขึ้นราคาสินค้าอีก 20% ในไม่ช้า
ส่วน ชาร์ลส ฮอลิเดย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดูปองท์ บริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่อีกรายของสหรัฐฯ ก็ออกมาเตือนว่า บริษัทอย่างดูปองท์กำลังเผชิญหน้ากับแรงกดดันของต้นทุนที่พุ่งขึ้น และ "มีภาระผูกพัน" จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อชดเชยกับต้นทุน เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในภาคธุรกิจกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง
ก่อนหน้านี้ บีเอชพี บิลลิตัน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ขนาดยักษ์ออกมาระบุว่า ราคาขายสินแร่เหล็กที่ทางริโอ ทินโท บริษัทเหมืองแร่ใหญ่ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของตน ไปตกลงเอาไว้กับเปาสตีล ผู้ผลิตเหล็กกล้าของจีนเมื่อวันจันทร์ (23) ซึ่งจะมีการปรับขึ้นราคาไป 96.5% นั้น ทางบีเอชพีบิลลิตันยังเห็นว่าไม่เพียงพอ อันเป็นการแสดงท่าทีว่าบริษัทอาจจะขอขึ้นราคาแร่เหล็กมากกว่า 100%
ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานขึ้นเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือ สินแร่และวัตถุดิบอื่นๆ กำลังทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการบินและผู้ผลิตรถยนต์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
ล่าสุด นิสสัน มอเตอร์ บริษัทรถยนต์อันดับ 3 ของญี่ปุ่นก็ต้องออกมาประกาศวันพุธ (25) ว่าคงจะต้องขึ้นราคาผลิตภัณฑ์เหมือนกัน เพราะได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากในตลาดโลก
คาร์โลส โกสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิสสัน ให้เหตุผลว่า การพุ่งขึ้นของราคาเหล็กกล้าและวัสดุอื่นๆ เป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดที่อุตสาหกรรมรถยนต์และนิสสันกำลังเผชิญอยู่ในตลาดนี้
ปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกกำลังเกิดความกลัวว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มแบบก้าวกระโดดรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆ โดยเฉพาะการจลาจลที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจที่พ่อค้าคนกลางผลักภาระค่าใช้จ่ายมายังผู้บริโภค ซึ่งสถานการณ์นี้เกิดในประเทศเอเชียหลายแห่ง
ตัวเลขข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคทั่วโลกต่างกำลังหวั่นวิตกกับอนาคต อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนดัชนีราคาบ้านเฉลี่ยในเมืองใหญ่ 20 แห่งของสหรัฐฯในเดือนเมษายนก็ดิ่งลง 15.3% เมื่อเทียบกันแบบปีต่อปี อันเป็นอัตราลดลงสูงสุดเป็นประวัติการณ์
เงินเฟ้อคาดการณ์น่าจะเป็นประเด็นหลักของการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เอฟโอเอ็มซี็) ที่มีขึ้นในวันอังคารและพุธ (24-25) นี้ หลายฝ่ายคาดว่าแถลงการณ์ของเฟดที่จะออกมาหลังจบการประชุม น่าจะแสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังอ่อนแอลงต่อไป ในขณะเดียวกันก็จะหลีกเลี่ยงไม่พูดว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด
อัตราเงินเฟ้อที่ทะยานลิ่วจะยิ่งเพิ่มสภาพวิกฤตให้แก่ผู้บริโภคสหรัฐฯ มากขึ้นไปอีก หลังจากที่ขณะนี้พวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับสภาพฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก และความปั่นป่วนทางด้านการเงินที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ
อย่างไรเมื่อดูตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ บอกว่า ยังไม่เห็นร่องรอยของการผลักภาระต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ไปให้ผู้บริโภคแต่อย่างใด
การประกาศของดาวเคมิดัล อันเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ระบุว่า จะต้องขึ้นราคาสินค้าของบริษัทไปประมาณ 25% ซึ่งเป็นการขึ้นราคาครั้งใหญ่ที่สุดของบริษัท ในขณะที่พอสโก ผู้ผลิตเหล็กกล้าอันดับ 4 ของโลก ก็ประกาศเพิ่มราคาเหล็กกล้าของตนเองอีก 21% ทำให้อัตราเฟ้อรวมของราคาสินค้าพอสโก้เท่ากับ 60% แล้ว นอกจากนั้น ซัลซกิตเตอร์ ผู้ผลิตเหล็กกล้าออกเยอรมนีก็ออกมาประกาศเช่นกันว่า อาจจะขึ้นราคาสินค้าอีก 20% ในไม่ช้า
ส่วน ชาร์ลส ฮอลิเดย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดูปองท์ บริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่อีกรายของสหรัฐฯ ก็ออกมาเตือนว่า บริษัทอย่างดูปองท์กำลังเผชิญหน้ากับแรงกดดันของต้นทุนที่พุ่งขึ้น และ "มีภาระผูกพัน" จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อชดเชยกับต้นทุน เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในภาคธุรกิจกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง
ก่อนหน้านี้ บีเอชพี บิลลิตัน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ขนาดยักษ์ออกมาระบุว่า ราคาขายสินแร่เหล็กที่ทางริโอ ทินโท บริษัทเหมืองแร่ใหญ่ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของตน ไปตกลงเอาไว้กับเปาสตีล ผู้ผลิตเหล็กกล้าของจีนเมื่อวันจันทร์ (23) ซึ่งจะมีการปรับขึ้นราคาไป 96.5% นั้น ทางบีเอชพีบิลลิตันยังเห็นว่าไม่เพียงพอ อันเป็นการแสดงท่าทีว่าบริษัทอาจจะขอขึ้นราคาแร่เหล็กมากกว่า 100%
ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทะยานขึ้นเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือ สินแร่และวัตถุดิบอื่นๆ กำลังทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการบินและผู้ผลิตรถยนต์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
ล่าสุด นิสสัน มอเตอร์ บริษัทรถยนต์อันดับ 3 ของญี่ปุ่นก็ต้องออกมาประกาศวันพุธ (25) ว่าคงจะต้องขึ้นราคาผลิตภัณฑ์เหมือนกัน เพราะได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมากในตลาดโลก
คาร์โลส โกสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิสสัน ให้เหตุผลว่า การพุ่งขึ้นของราคาเหล็กกล้าและวัสดุอื่นๆ เป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดที่อุตสาหกรรมรถยนต์และนิสสันกำลังเผชิญอยู่ในตลาดนี้
ปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกกำลังเกิดความกลัวว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มแบบก้าวกระโดดรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆ โดยเฉพาะการจลาจลที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจที่พ่อค้าคนกลางผลักภาระค่าใช้จ่ายมายังผู้บริโภค ซึ่งสถานการณ์นี้เกิดในประเทศเอเชียหลายแห่ง
ตัวเลขข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคทั่วโลกต่างกำลังหวั่นวิตกกับอนาคต อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนดัชนีราคาบ้านเฉลี่ยในเมืองใหญ่ 20 แห่งของสหรัฐฯในเดือนเมษายนก็ดิ่งลง 15.3% เมื่อเทียบกันแบบปีต่อปี อันเป็นอัตราลดลงสูงสุดเป็นประวัติการณ์
เงินเฟ้อคาดการณ์น่าจะเป็นประเด็นหลักของการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เอฟโอเอ็มซี็) ที่มีขึ้นในวันอังคารและพุธ (24-25) นี้ หลายฝ่ายคาดว่าแถลงการณ์ของเฟดที่จะออกมาหลังจบการประชุม น่าจะแสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังอ่อนแอลงต่อไป ในขณะเดียวกันก็จะหลีกเลี่ยงไม่พูดว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด
อัตราเงินเฟ้อที่ทะยานลิ่วจะยิ่งเพิ่มสภาพวิกฤตให้แก่ผู้บริโภคสหรัฐฯ มากขึ้นไปอีก หลังจากที่ขณะนี้พวกเขาก็ต้องเผชิญหน้ากับสภาพฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก และความปั่นป่วนทางด้านการเงินที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ
อย่างไรเมื่อดูตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ บอกว่า ยังไม่เห็นร่องรอยของการผลักภาระต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ไปให้ผู้บริโภคแต่อย่างใด