(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Asia: The land of raising sons
By William Sparrow
23/05/2008
ความนิยมชมชอบต้องการได้ทารกที่เป็นชายอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดปัญหาสังคมจำนวนมากขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย ที่ซึ่งประเพณีและการกำหนดบงการของรัฐ นำไปสู่การเลือกเพศของเด็กที่ถือกำเนิดออกมาอย่างรุนแรงสุดขั้ว เวลานี้ มารดาทั้งหลายจึงกำลังถูกประณามกล่าวโทษหากไม่มีลูกชาย ขณะที่ทารกหญิงก็กำลังถูกทิ้งขว้าง และคนโสดทั้งหลายประสบความลำบากในการหาคู่ครอง มันยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่จะเปล่งคำพูดอย่างที่ มัวริซ เชวาลิเยร์ เคยกล่าว นั่นคือ ขอบคุณสวรรค์สำหรับเด็กหญิงตัวน้อยๆ
กรุงเทพฯ – ผู้คนจำนวนมากรู้สึกเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อชะตากรรมของเจ้าหญิงคิโกะแห่งญี่ปุ่น เมื่อพระองค์ต้องทรงอยู่ใต้แรงบีบคั้นอย่างไม่ปราณี ให้ต้องทรงมีพระโอรสเพื่อเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์สมเด็จพระจักรพรรดิ ญี่ปุ่นนั้นมีการตีความเกี่ยวกับอุดมคติของครอบครัวในทางที่ถือผู้ชายเป็นศูนย์กลางมานมนานแล้ว และเห็นกันว่าจะต้องมีบุตรชายเท่านั้นจึงจะสามารถสืบทอดนามของตระกูลต่อไปได้ การติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดที่เจ้าหญิงคิโกะ หรือนามเดิม คิโกะ นาวาชิมะ ซึ่งมีพระชนมายุ 41 พรรษาแล้ว ทรงได้รับการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบไปกว้างไกล โดยกำลังทำให้บังเกิดผลในทางลบขึ้นในสังคมเอเชียบางแห่ง และความเสียหายที่ปรากฏออกมาก็ทั้งอันตรายและน่าเศร้า
ช่างไม่ยุติธรรมสำหรับบรรดาผู้หญิงในเอเชีย ที่ความรับผิดชอบในการคลอดลูกให้ได้เป็นเพศใดเพศหนึ่งตามที่ปรารถนา ถูกถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพวกเธอเท่านั้น ทัศนคติเช่นนี้คือการละเลยเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า เชื้ออสุจิของฝ่ายชายซึ่งมีโครโมโซมไม่ X ก็ Y ต่างหาก ที่เป็นตัวตัดสินเพศของทารก
ยังดีที่ในกรณีของเจ้าหญิงคิโกะ ผลลัพธ์ยังคงออกมาในทางเบิกบานสดใส โดยภายหลังจากที่ทรงมีพระธิดามาแล้ว 2 พระองค์ และในครั้งที่สามก็ทรงถูกคาดการณ์วาดหวังเอาไว้มากมาย เจ้าหญิงคิโกะก็ทรงมีพระประสูติกาลเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2006 โดยปรากฏว่าเป็นพระโอรส ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าชายฮิซาฮิโตะ จึงทำให้มีการเฉลิมฉลองกันเอิกเกริกทั้งภายในพระราชวงศ์ และตลอดทั่วทั้งญี่ปุ่น
เจ้าหญิงคิโกะทรงเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นสะดุดตา ในเรื่องแรงกดดันที่บดทับลงใส่ผู้หญิงเพื่อให้ผลิตทายาทชายออกมาให้ได้ ในกรณีของพระองค์ มันคือการสร้างหลักประกันว่าสถาบันพระจักรพรรดิจะสามารถสืบทอดต่อเนื่องต่อไป ส่วนสังคมญี่ปุ่นโดยองค์รวมแล้วไม่ได้ถึงกับพึงพอใจแต่กับทารกเพศชายเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม สังคมในอินเดียและจีน สองประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกต่างหาก ซึ่งกำลังบังเกิดประเด็นปัญหาร้ายแรงในทางวัฒนธรรมและทางสังคม สืบเนื่องจากการเลือกที่รักมักที่ชังอย่างรุนแรงต่อเพศของเด็กที่ถือกำเนิดออกมา ประเทศทั้งสองกำลังบาดเจ็บจากความนิยมต้องการได้แต่บุตรชายมานานหลายสิบปี จนกระทั่งทำให้อัตราส่วนระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ในสภาพที่ไร้ความสมดุลเป็นอย่างยิ่ง
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) รายงานตัวเลขล่าสุดเท่าที่หาได้ของประเทศจีน ซึ่งคือของปี 2006 โดยบอกว่า ในปีดังกล่าวอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างทารกที่คลอดออกมาเป็นหญิงกับที่คลอดออกมาเป็นชาย เป็นที่เชื่อกันว่าอยู่ในระดับ 850 ต่อ 1,000 ขณะที่ผลการสำรวจสำมโนประชากรเมื่อปี 2001 ในอินเดีย พบว่าอัตราส่วนเปรียบเทียบนี้อยู่ที่ 927 ต่อ 1,000 ตัวเลขที่ยกมาเหล่านี้เป็นค่าเฉลี่ยในระดับชาติ หากเจาะลึกลงไปถึงระดับมณฑลและรัฐด้วยแล้ว ตัวเลขจะยิ่งชวนหดหู่กว่านี้อีก เป็นต้นว่า ที่รัฐหรยาณา ของอินเดีย รายงานสำมโนประชากรปี 2001 พบว่าอัตราส่วนนี้อยู่ที่ 820 ต่อ 1,000
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า เมื่อรวมตัวเลขของจีนและอินเดียเข้าด้วยกัน เรื่องการทำลายตัวอ่อนในครรภ์ที่เป็นเพศหญิงด้วยกระบวนการทำแท้งซึ่งมุ่งผลในการเลือกเพศทารก น่าจะสูงถึง 3 ล้านคนในแต่ละปี ผลลัพธ์ระยะยาวของการสูญเสียผู้หญิงเหล่านี้ไป สามารถสร้างความเสียหายระดับหายนะทั้งในทางสังคมและทางเศรษฐกิจได้ทีเดียว
ทั้งสองประเทศนี้มีสาเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันอยู่ ที่ทำให้เกิดความต้องการได้ทารกชายกันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูเช่นนี้ ในประเทศจีน มีแรงกดดันภายในครอบครัวที่แรงกล้ายิ่งให้มีการผลิตทารกชายเพื่อจะสืบแซ่สืบสกุลต่อไป แรงกดดันเช่นนี้ยิ่งรุนแรงหนักหน่วงจาก “นโยบายลูกคนเดียว” ของจีน ซึ่งนำมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1979 เจตนารมณ์ของนโยบายลูกคนเดียว คือการหยุดยั้งจำนวนประชากรที่กำลังขยายตัวพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว ทว่าแม้นโยบายนี้อาจจะบังเกิดผลดีอยู่เหมือนกัน แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายก็คือ การแอบทิ้งทารกหญิง, การฆ่าทารกหญิง, และการทำแท้งด้วยจุดมุ่งหมายในการเลือกเพศทารก
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้พยายามพลิกกลับแนวโน้มเช่นนี้ ด้วยการอนุญาตให้คู่สมรสที่ได้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำตามกฎการมีลูกเพียงคนเดียว, การเสนอมาตรการอุดหนุนช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกสาวคนเดียว ตลอดจนให้การอุดหนุนช่วยเหลือมากขึ้นอีก หากลูกคนที่สองก็ยังเป็นหญิง
ในทำนองเดียวกัน อินเดียก็มีประเด็นปัญหาต่างๆ เบื้องหลังความนิยมชมชอบเด็กผู้ชายของสังคมนี้ อย่างแรกที่สุดเลยคือ อคติอันหยั่งรากลึกในเรื่องไม่ชอบทารกหญิง อินเดียเป็นสังคมที่ใช้ระบบ “สินสอดกลับข้าง” ซึ่งเป็นการตรงกันข้ามกับสังคมอื่นๆ ส่วนใหญ่ ในอินเดียนั้น ความรับผิดชอบในเรื่องการให้สินสอด ตกเป็นของฝ่ายหญิงและครอบครัวของเธอ โดยบ่อยครั้งทีเดียวมักมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ในประเทศซึ่งความยากจกยังคงเป็นปัญหาอันหนักหน่วงสำคัญยิ่งยวดเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ว่า ภาระของการแต่งงานลูกสาวอาจทำให้บางครอบครัวต้องขบคิดอย่างมากมาย
ในอินเดียก็เหมือนๆ กับในจีน การคลอดเด็กผู้ชายถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสืบวงศ์ตระกูล ผลก็คือ อินเดียก็ประสบปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการทำแท้งเมื่อลูกในท้องเป็นผู้หญิง, การทิ้งลูกที่เป็นผู้หญิง, และการฆ่าทารกที่เป็นผู้หญิง
อินเดียยังมีการดำเนินการคล้ายๆ กัน ในความพยายามที่จะพลิกกลับแนวโน้มเช่นนี้ โดยในกรณีของอินเดียนี้ ได้มีการออกกฎหมายระบุห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องสินสอด ทว่าโชคร้าย มันยังคงมีการประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางโดยผู้คนเห็นว่านี่เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ทำกันมานานแล้วและควรรักษากันไว้ต่อไป อินเดียยังเริ่มใช้มาตรการอุดหนุนช่วยเหลือเด็กผู้หญิงด้วย ขณะที่การทำแท้งด้วยจุดประสงค์ในการเลือกเพศทารก ก็ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายทั้งในอินเดียและจีน ทว่ามันก็ยังคงมีการประพฤติปฏิบัติกันกว้างขวางอยู่นั่นเอง
ไม่ว่าจะถูกทอดทิ้งไปตั้งแต่ตอนถือกำเนิดออกมาหรือภายหลังจากนั้น ผู้หญิงเหล่านี้จำนวนมากก็ต้องเผชิญกับการถูกขูดรีดในอุตสาหกรรมเซ็กซ์ทั้งในจีนและอินเดีย บางครั้งพ่อแม่ของพวกเธอเองนั่นแหละเป็นผู้ขายลูกสาวซึ่งไม่เป็นที่ต้องการไปให้แก่วงการค้าเซ็กซ์ เพื่อแลกกับเงินทอง และบางครั้งมันก็เป็นเพียงวิธีในการผ่อนเบาลดปากท้องที่จะต้องเป็นภาระเลี้ยงดูลงบ้าง
ภาวะที่จำนวนผู้หญิงมีน้อยกว่าผู้ชาย ยังกำลังทำให้เกิดปัญหาหนุ่มโสดจำนวนหนึ่งหมดปัญญาหาคู่ครองทั้งในสังคมจีนและอินเดีย ผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือความเฟื่องฟูของกิจการโสเภณี, การทำร้ายกันทางเพศและการข่มขืน ผู้ชายจำนวนมากไม่มีช่องทางระบายออกทางเพศ และจำนวนมากโอดครวญร้องทุกข์เกี่ยวกับโอกาสช่องทางของพวกเขาที่จะแสวงหาแฟนหรือภรรยา
ครอบครัวต่างๆ ทึกทักเอาอย่างเห็นแก่ตัวว่า จะต้องมีครอบครัวอื่นๆ บ้างแหละที่จะเป็นฝ่ายคลอดเจ้าหญิงแสนดีเตรียมไว้ให้แก่จักรพรรดิองค์น้อยๆ ของพวกเขา แต่ความจริงอันแสนเศร้าก็คือ ชายจีนและชายอินเดียกำลังประสบกับความยากลำบากมากขึ้นทุกทีในการค้นหาซินเดอเรลลาของพวกเขา
“พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่างกำลังช็อกกับสภาพการขาดแคลนเจ้าสาว (ในอินเดีย) โดยที่การหดหายไปเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและใหญ่โตกว้างขวางมาก” ริชา ตันวาร์ ผู้อำนวยการโครงการสตรีศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยคุรุกเชตรา ในรัฐหรยาณา กล่าวกับหนังสือพิมพ์ ไทมส์ออฟอินเดีย “แต่กระทั่งเมื่อเกิดสภาพเจ้าสาวขาดแคลนขึ้นมาแล้ว มันก็ยังจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในสังคม (ของเรา) ... ทัศนคติที่มีกันอยู่ก็คือ ‘โอเค ให้พวกเพื่อนบ้านมีลูกสาวกันไป แต่ฉันยังต้องการที่จะมีลูกชาย’”
ลูกชายนั้นเชื่อกันว่าเป็นทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ แต่ลูกสาวถูกมองเป็นภาระหนี้สิน ทัศนคติเช่นนี้ไม่ใช่ของใหม่อะไรสำหรับเอเชีย มันไม่ใช่เรื่องในอดีตอันใกล้โพ้นเลยที่พ่อแม่บางคนสังหารลูกน้อยที่เป็นหญิงด้วยการทำให้หายใจไม่ออก, ทำให้อดตาย, หรือป้อนยาฝิ่นขนาดออกฤทธิ์ทำให้เสียชีวิต
ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย, จีน, หรือประเทศเอเชียอื่นๆ จำนวนมาก ล้วนแต่จำเป็นจะต้องเพิ่มคุณค่าของผู้หญิงในสังคมให้มากกว่าในปัจจุบัน เพราะถึงอย่างไรพวกเธอก็เป็นแม่ เป็นพี่สาวน้องสาว และเป็นลูกสาว ของผู้คนในสังคมนั่นเอง
และก็ไม่ควรจะมองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วคิดว่ามันจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เพราะผู้หญิงตลอดทั่วทั้งเอเชียกำลังประสบความสำเร็จมากขึ้นทุกทีๆ และบ่อยครั้งที่สามารถสนับสนุนครอบครัวของพวกเธอแบบเดียวกับสมาชิกคนอื่นที่เป็นผู้ชาย การให้ความดูแลทางด้านสุขภาพ, การศึกษา, และการเพิ่มพลังอำนาจให้แก่พวกเธอมากขึ้น จะเป็นหลักประกันแห่งความสำเร็จของผู้หญิงในรุ่นต่อๆ ไป สังคมเฉกเช่นจีนและอินเดียจะกลายเป็นสังคมที่ประสบความสำเร็จมากกว่านี้อีก เมื่อพวกเขาสามารถอุดรูโหว่ข้อบกพร่องทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นจากช่องว่างทางด้านเพศสภาพ
น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเตือนให้คู่ครองชาวจีนและชาวอินเดียได้ตระหนักว่า ลูกสาวของพวกเขาสามารถที่จะกลายเป็นนางเอกภาพยนตร์แห่ง “บอลลีวู้ด” หรือ “มิสไชน่า” หรือกระทั่งดียิ่งกว่านั้นอีก นั่นคือเป็นนักการเมืองผู้ทรงอำนาจ หรือเป็นแพทย์หญิง... ความเป็นไปได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดเลย และมันถึงเวลาแล้วที่จะยุติการพรากศักยภาพของผู้หญิงไปโดยที่ยังไม่ทันได้ให้โอกาสพวกเธอ
วิลเลียม สแปร์โรว์ เขียนบทความให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นครั้งคราวมาระยะหนึ่งแล้ว และเวลานี้ก็เข้าร่วมเป็นผู้เขียนคอลัมน์ประจำสัปดาห์ละครั้ง ให้แก่ทางเอเชียไทมส์ออนไลน์ สแปร์โรว์เป็นบรรณาธิการอำนวยการของ “เอเชียน เซ็กส์ กาเซตต์” และรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับเพศในเอเชียมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว
Asia: The land of raising sons
By William Sparrow
23/05/2008
ความนิยมชมชอบต้องการได้ทารกที่เป็นชายอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดปัญหาสังคมจำนวนมากขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย ที่ซึ่งประเพณีและการกำหนดบงการของรัฐ นำไปสู่การเลือกเพศของเด็กที่ถือกำเนิดออกมาอย่างรุนแรงสุดขั้ว เวลานี้ มารดาทั้งหลายจึงกำลังถูกประณามกล่าวโทษหากไม่มีลูกชาย ขณะที่ทารกหญิงก็กำลังถูกทิ้งขว้าง และคนโสดทั้งหลายประสบความลำบากในการหาคู่ครอง มันยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่จะเปล่งคำพูดอย่างที่ มัวริซ เชวาลิเยร์ เคยกล่าว นั่นคือ ขอบคุณสวรรค์สำหรับเด็กหญิงตัวน้อยๆ
กรุงเทพฯ – ผู้คนจำนวนมากรู้สึกเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อชะตากรรมของเจ้าหญิงคิโกะแห่งญี่ปุ่น เมื่อพระองค์ต้องทรงอยู่ใต้แรงบีบคั้นอย่างไม่ปราณี ให้ต้องทรงมีพระโอรสเพื่อเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์สมเด็จพระจักรพรรดิ ญี่ปุ่นนั้นมีการตีความเกี่ยวกับอุดมคติของครอบครัวในทางที่ถือผู้ชายเป็นศูนย์กลางมานมนานแล้ว และเห็นกันว่าจะต้องมีบุตรชายเท่านั้นจึงจะสามารถสืบทอดนามของตระกูลต่อไปได้ การติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดที่เจ้าหญิงคิโกะ หรือนามเดิม คิโกะ นาวาชิมะ ซึ่งมีพระชนมายุ 41 พรรษาแล้ว ทรงได้รับการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบไปกว้างไกล โดยกำลังทำให้บังเกิดผลในทางลบขึ้นในสังคมเอเชียบางแห่ง และความเสียหายที่ปรากฏออกมาก็ทั้งอันตรายและน่าเศร้า
ช่างไม่ยุติธรรมสำหรับบรรดาผู้หญิงในเอเชีย ที่ความรับผิดชอบในการคลอดลูกให้ได้เป็นเพศใดเพศหนึ่งตามที่ปรารถนา ถูกถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพวกเธอเท่านั้น ทัศนคติเช่นนี้คือการละเลยเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า เชื้ออสุจิของฝ่ายชายซึ่งมีโครโมโซมไม่ X ก็ Y ต่างหาก ที่เป็นตัวตัดสินเพศของทารก
ยังดีที่ในกรณีของเจ้าหญิงคิโกะ ผลลัพธ์ยังคงออกมาในทางเบิกบานสดใส โดยภายหลังจากที่ทรงมีพระธิดามาแล้ว 2 พระองค์ และในครั้งที่สามก็ทรงถูกคาดการณ์วาดหวังเอาไว้มากมาย เจ้าหญิงคิโกะก็ทรงมีพระประสูติกาลเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2006 โดยปรากฏว่าเป็นพระโอรส ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าชายฮิซาฮิโตะ จึงทำให้มีการเฉลิมฉลองกันเอิกเกริกทั้งภายในพระราชวงศ์ และตลอดทั่วทั้งญี่ปุ่น
เจ้าหญิงคิโกะทรงเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นสะดุดตา ในเรื่องแรงกดดันที่บดทับลงใส่ผู้หญิงเพื่อให้ผลิตทายาทชายออกมาให้ได้ ในกรณีของพระองค์ มันคือการสร้างหลักประกันว่าสถาบันพระจักรพรรดิจะสามารถสืบทอดต่อเนื่องต่อไป ส่วนสังคมญี่ปุ่นโดยองค์รวมแล้วไม่ได้ถึงกับพึงพอใจแต่กับทารกเพศชายเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม สังคมในอินเดียและจีน สองประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกต่างหาก ซึ่งกำลังบังเกิดประเด็นปัญหาร้ายแรงในทางวัฒนธรรมและทางสังคม สืบเนื่องจากการเลือกที่รักมักที่ชังอย่างรุนแรงต่อเพศของเด็กที่ถือกำเนิดออกมา ประเทศทั้งสองกำลังบาดเจ็บจากความนิยมต้องการได้แต่บุตรชายมานานหลายสิบปี จนกระทั่งทำให้อัตราส่วนระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ในสภาพที่ไร้ความสมดุลเป็นอย่างยิ่ง
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) รายงานตัวเลขล่าสุดเท่าที่หาได้ของประเทศจีน ซึ่งคือของปี 2006 โดยบอกว่า ในปีดังกล่าวอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างทารกที่คลอดออกมาเป็นหญิงกับที่คลอดออกมาเป็นชาย เป็นที่เชื่อกันว่าอยู่ในระดับ 850 ต่อ 1,000 ขณะที่ผลการสำรวจสำมโนประชากรเมื่อปี 2001 ในอินเดีย พบว่าอัตราส่วนเปรียบเทียบนี้อยู่ที่ 927 ต่อ 1,000 ตัวเลขที่ยกมาเหล่านี้เป็นค่าเฉลี่ยในระดับชาติ หากเจาะลึกลงไปถึงระดับมณฑลและรัฐด้วยแล้ว ตัวเลขจะยิ่งชวนหดหู่กว่านี้อีก เป็นต้นว่า ที่รัฐหรยาณา ของอินเดีย รายงานสำมโนประชากรปี 2001 พบว่าอัตราส่วนนี้อยู่ที่ 820 ต่อ 1,000
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า เมื่อรวมตัวเลขของจีนและอินเดียเข้าด้วยกัน เรื่องการทำลายตัวอ่อนในครรภ์ที่เป็นเพศหญิงด้วยกระบวนการทำแท้งซึ่งมุ่งผลในการเลือกเพศทารก น่าจะสูงถึง 3 ล้านคนในแต่ละปี ผลลัพธ์ระยะยาวของการสูญเสียผู้หญิงเหล่านี้ไป สามารถสร้างความเสียหายระดับหายนะทั้งในทางสังคมและทางเศรษฐกิจได้ทีเดียว
ทั้งสองประเทศนี้มีสาเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันอยู่ ที่ทำให้เกิดความต้องการได้ทารกชายกันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูเช่นนี้ ในประเทศจีน มีแรงกดดันภายในครอบครัวที่แรงกล้ายิ่งให้มีการผลิตทารกชายเพื่อจะสืบแซ่สืบสกุลต่อไป แรงกดดันเช่นนี้ยิ่งรุนแรงหนักหน่วงจาก “นโยบายลูกคนเดียว” ของจีน ซึ่งนำมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1979 เจตนารมณ์ของนโยบายลูกคนเดียว คือการหยุดยั้งจำนวนประชากรที่กำลังขยายตัวพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว ทว่าแม้นโยบายนี้อาจจะบังเกิดผลดีอยู่เหมือนกัน แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายก็คือ การแอบทิ้งทารกหญิง, การฆ่าทารกหญิง, และการทำแท้งด้วยจุดมุ่งหมายในการเลือกเพศทารก
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้พยายามพลิกกลับแนวโน้มเช่นนี้ ด้วยการอนุญาตให้คู่สมรสที่ได้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำตามกฎการมีลูกเพียงคนเดียว, การเสนอมาตรการอุดหนุนช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกสาวคนเดียว ตลอดจนให้การอุดหนุนช่วยเหลือมากขึ้นอีก หากลูกคนที่สองก็ยังเป็นหญิง
ในทำนองเดียวกัน อินเดียก็มีประเด็นปัญหาต่างๆ เบื้องหลังความนิยมชมชอบเด็กผู้ชายของสังคมนี้ อย่างแรกที่สุดเลยคือ อคติอันหยั่งรากลึกในเรื่องไม่ชอบทารกหญิง อินเดียเป็นสังคมที่ใช้ระบบ “สินสอดกลับข้าง” ซึ่งเป็นการตรงกันข้ามกับสังคมอื่นๆ ส่วนใหญ่ ในอินเดียนั้น ความรับผิดชอบในเรื่องการให้สินสอด ตกเป็นของฝ่ายหญิงและครอบครัวของเธอ โดยบ่อยครั้งทีเดียวมักมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ในประเทศซึ่งความยากจกยังคงเป็นปัญหาอันหนักหน่วงสำคัญยิ่งยวดเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ว่า ภาระของการแต่งงานลูกสาวอาจทำให้บางครอบครัวต้องขบคิดอย่างมากมาย
ในอินเดียก็เหมือนๆ กับในจีน การคลอดเด็กผู้ชายถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสืบวงศ์ตระกูล ผลก็คือ อินเดียก็ประสบปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการทำแท้งเมื่อลูกในท้องเป็นผู้หญิง, การทิ้งลูกที่เป็นผู้หญิง, และการฆ่าทารกที่เป็นผู้หญิง
อินเดียยังมีการดำเนินการคล้ายๆ กัน ในความพยายามที่จะพลิกกลับแนวโน้มเช่นนี้ โดยในกรณีของอินเดียนี้ ได้มีการออกกฎหมายระบุห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องสินสอด ทว่าโชคร้าย มันยังคงมีการประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางโดยผู้คนเห็นว่านี่เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ทำกันมานานแล้วและควรรักษากันไว้ต่อไป อินเดียยังเริ่มใช้มาตรการอุดหนุนช่วยเหลือเด็กผู้หญิงด้วย ขณะที่การทำแท้งด้วยจุดประสงค์ในการเลือกเพศทารก ก็ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายทั้งในอินเดียและจีน ทว่ามันก็ยังคงมีการประพฤติปฏิบัติกันกว้างขวางอยู่นั่นเอง
ไม่ว่าจะถูกทอดทิ้งไปตั้งแต่ตอนถือกำเนิดออกมาหรือภายหลังจากนั้น ผู้หญิงเหล่านี้จำนวนมากก็ต้องเผชิญกับการถูกขูดรีดในอุตสาหกรรมเซ็กซ์ทั้งในจีนและอินเดีย บางครั้งพ่อแม่ของพวกเธอเองนั่นแหละเป็นผู้ขายลูกสาวซึ่งไม่เป็นที่ต้องการไปให้แก่วงการค้าเซ็กซ์ เพื่อแลกกับเงินทอง และบางครั้งมันก็เป็นเพียงวิธีในการผ่อนเบาลดปากท้องที่จะต้องเป็นภาระเลี้ยงดูลงบ้าง
ภาวะที่จำนวนผู้หญิงมีน้อยกว่าผู้ชาย ยังกำลังทำให้เกิดปัญหาหนุ่มโสดจำนวนหนึ่งหมดปัญญาหาคู่ครองทั้งในสังคมจีนและอินเดีย ผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือความเฟื่องฟูของกิจการโสเภณี, การทำร้ายกันทางเพศและการข่มขืน ผู้ชายจำนวนมากไม่มีช่องทางระบายออกทางเพศ และจำนวนมากโอดครวญร้องทุกข์เกี่ยวกับโอกาสช่องทางของพวกเขาที่จะแสวงหาแฟนหรือภรรยา
ครอบครัวต่างๆ ทึกทักเอาอย่างเห็นแก่ตัวว่า จะต้องมีครอบครัวอื่นๆ บ้างแหละที่จะเป็นฝ่ายคลอดเจ้าหญิงแสนดีเตรียมไว้ให้แก่จักรพรรดิองค์น้อยๆ ของพวกเขา แต่ความจริงอันแสนเศร้าก็คือ ชายจีนและชายอินเดียกำลังประสบกับความยากลำบากมากขึ้นทุกทีในการค้นหาซินเดอเรลลาของพวกเขา
“พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่างกำลังช็อกกับสภาพการขาดแคลนเจ้าสาว (ในอินเดีย) โดยที่การหดหายไปเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและใหญ่โตกว้างขวางมาก” ริชา ตันวาร์ ผู้อำนวยการโครงการสตรีศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยคุรุกเชตรา ในรัฐหรยาณา กล่าวกับหนังสือพิมพ์ ไทมส์ออฟอินเดีย “แต่กระทั่งเมื่อเกิดสภาพเจ้าสาวขาดแคลนขึ้นมาแล้ว มันก็ยังจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในสังคม (ของเรา) ... ทัศนคติที่มีกันอยู่ก็คือ ‘โอเค ให้พวกเพื่อนบ้านมีลูกสาวกันไป แต่ฉันยังต้องการที่จะมีลูกชาย’”
ลูกชายนั้นเชื่อกันว่าเป็นทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ แต่ลูกสาวถูกมองเป็นภาระหนี้สิน ทัศนคติเช่นนี้ไม่ใช่ของใหม่อะไรสำหรับเอเชีย มันไม่ใช่เรื่องในอดีตอันใกล้โพ้นเลยที่พ่อแม่บางคนสังหารลูกน้อยที่เป็นหญิงด้วยการทำให้หายใจไม่ออก, ทำให้อดตาย, หรือป้อนยาฝิ่นขนาดออกฤทธิ์ทำให้เสียชีวิต
ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย, จีน, หรือประเทศเอเชียอื่นๆ จำนวนมาก ล้วนแต่จำเป็นจะต้องเพิ่มคุณค่าของผู้หญิงในสังคมให้มากกว่าในปัจจุบัน เพราะถึงอย่างไรพวกเธอก็เป็นแม่ เป็นพี่สาวน้องสาว และเป็นลูกสาว ของผู้คนในสังคมนั่นเอง
และก็ไม่ควรจะมองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วคิดว่ามันจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เพราะผู้หญิงตลอดทั่วทั้งเอเชียกำลังประสบความสำเร็จมากขึ้นทุกทีๆ และบ่อยครั้งที่สามารถสนับสนุนครอบครัวของพวกเธอแบบเดียวกับสมาชิกคนอื่นที่เป็นผู้ชาย การให้ความดูแลทางด้านสุขภาพ, การศึกษา, และการเพิ่มพลังอำนาจให้แก่พวกเธอมากขึ้น จะเป็นหลักประกันแห่งความสำเร็จของผู้หญิงในรุ่นต่อๆ ไป สังคมเฉกเช่นจีนและอินเดียจะกลายเป็นสังคมที่ประสบความสำเร็จมากกว่านี้อีก เมื่อพวกเขาสามารถอุดรูโหว่ข้อบกพร่องทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นจากช่องว่างทางด้านเพศสภาพ
น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเตือนให้คู่ครองชาวจีนและชาวอินเดียได้ตระหนักว่า ลูกสาวของพวกเขาสามารถที่จะกลายเป็นนางเอกภาพยนตร์แห่ง “บอลลีวู้ด” หรือ “มิสไชน่า” หรือกระทั่งดียิ่งกว่านั้นอีก นั่นคือเป็นนักการเมืองผู้ทรงอำนาจ หรือเป็นแพทย์หญิง... ความเป็นไปได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดเลย และมันถึงเวลาแล้วที่จะยุติการพรากศักยภาพของผู้หญิงไปโดยที่ยังไม่ทันได้ให้โอกาสพวกเธอ
วิลเลียม สแปร์โรว์ เขียนบทความให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นครั้งคราวมาระยะหนึ่งแล้ว และเวลานี้ก็เข้าร่วมเป็นผู้เขียนคอลัมน์ประจำสัปดาห์ละครั้ง ให้แก่ทางเอเชียไทมส์ออนไลน์ สแปร์โรว์เป็นบรรณาธิการอำนวยการของ “เอเชียน เซ็กส์ กาเซตต์” และรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับเพศในเอเชียมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว