(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
How to rule the world after Bush
By Mark Engler
19/05/2008
ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้าทำคนเดียว” ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่ใยดีที่จะนำเอาพวกเครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้มั่นคง พวกเขาจึงต้องการที่จะดำเนินการ “โจมตีแบบจรยุทธ์” เพื่อที่จะได้หวนกลับคืนไปสู่จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า เวลานี้ พวกนักโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทเหล่านี้กำลังพยายามหาทางเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ได้ และพวกเขาก็เห็นว่าผู้สมัครของพรรคเดโมแครตนั่นแหละ คือโอกาสที่ดีที่สุดของพวกเขา
*รายงานนี้แบ่งเป็นสองตอน นี่คือตอนแรก*
ลองวาดภาพถึงวันที่ 20 มกราคม 2009 วันที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช จะต้องอพยพออกไปจากห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาว
ง่ายดายเหลือเกินที่จะจินตนาการกันได้ว่า จะต้องมีการจัดงานปาร์ตี้เพื่อฉลองวาระอันดีเยี่ยมเช่นนี้ โดยที่มีทั้งพวกประท้วงต่อต้านสงคราม, พวกพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน, เหล่าผู้นำชุมชน, นักสิ่งแวดล้อม, ผู้รณรงค์ต่อสู้ด้านโครงการประกันสุขภาพ, และผู้นำสหภาพแรงงาน ชวนกันยกแก้วเพื่อดื่มให้แก่การสิ้นสุดของยุคสมัยอันเลวร้าย แม้กระทั่งชาวอเมริกันที่ปกติไม่ใฝ่ใจกับชีวิตทางการเมือง ก็ยังอาจรู้สึกอยากจะเข้าร่วมความรื่นเริงบันเทิงใจคราวนี้ โดยนำเอาขวดเครื่องดื่มฟองฟู่ของพวกเขาเองมายังงานเลี้ยง
พิจารณาจากเรตติ้งความยอมรับผลงานของประธานาธิบดีที่แทบไม่เคยจะทะลุเกิน 40% ขึ้นมาเลยในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา และเวลานี้ยืนอย่างดื้อรั้นอยู่แถวๆ 30%หรือต่ำกว่านั้น (อันจัดว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) มันก็ไม่น่าจะต้องประหลาดใจอะไรเลย ถ้าหากจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างใหญ่โตพอดูในวันนั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าประหลาดใจมากกว่าเสียอีก ก็คือในหมู่ฝูงชนที่มาร่วมเฉลิมฉลองกันนี้ อาจจะมีผู้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งกำลังดื่มแชมเปญแบรนด์เลิศรสกว่าธรรมดา ท่ามกลางงานเลี้ยงของพวกนักเรียกร้องเชิดชูหลักการประชาธิปไตยพื้นฐานทั้งหลาย เราอาจจะได้พบเห็นตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสูงๆ ในโลกบรรษัทธุรกิจ เหล่าปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเฝ้ารอคอยการขึ้นครองอำนาจของท่านประธานาธิบดีบุชผู้จบปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ ทว่าบัดนี้พวกเขาเชื่อแล้วว่าการคุยโตวางก้ามแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ ไม่ใช่หนทางที่จะบริหารจักรวรรดิได้
ในบรรดาลักษณะที่ออกจะแปลกพิศดารในยุคสมัยของบุชนั้น อย่างหนึ่งก็คือบุคคลที่อ้างตัวเองเป็น “นักสร้างความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว”ผู้นี้ กลับกลายเป็นผู้ทำให้เกิดการแตกแยกแบ่งขั้ว ไม่เพียงแต่ในสังคมอเมริกันวงกว้างเท่านั้น หากยังภายในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจและทางการเมืองของสังคมอเมริกันด้วย ชนชั้นนำที่กล่าวถึงนี้คือบุคคลประเภทที่ไปชุมนุมกันในเวทีประชุมสัมมนาประจำปีซึ่งคัดกรองผู้เข้าร่วมอย่างสุดเข้มของ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีผู้ช่วยที่จะคอยยื่นคอยรับแลกเปลี่ยนนามบัตรแทนพวกเขา
ถึงแม้บางครั้งพวกเขาดูเข้าสังคมเก่งสนิทสนมกับคนอื่นได้ง่ายดาย ทว่าในเวลานี้ผู้ทรงอำนาจจำนวนไม่มากเหล่านี้ กำลังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องที่ว่าควรจะจัดทรงปรับรูปอำนาจของอเมริกันกันอย่างไรในยุคสมัยหลังจากบุช ทั้งนี้พวกเขาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังกระโดดตีจากถอยหนี เมื่อพวกพรรครีพับลิกันตัดสินใจเลือกเดินต่อไปตามเส้นทางเดิมที่ได้เดินกันมาหลายปีแล้ว และเวลานี้พวกเขาจึงกำลังวุ่นอยู่กับการถกเถียงอภิปรายกันว่าจะปกครองโลกใบนี้กันต่อไปอย่างไรดี
อย่าคิดว่าที่พวกเขาทำกันอยู่นี้เป็นเรื่องของการวางอุบายสมคบคิดกันอะไรทำนองนั้น เพราะที่จริงแล้วมันเป็นการอภิปรายถกเถียงแบบอาศัยสามัญสำนึกอย่างสมบูรณ์ที่สุด ในเรื่องที่ว่านโยบายอะไรบ้างซึ่งจะเอื้ออำนวยผลประโยชน์มากที่สุดแก่พวกเขา ซึ่งเป็นพวกที่ว่าจ้างนักล็อบบี้ในวอชิงตันเป็นโขยง ตลอดจนเป็นผู้อัดฉีดเงินทองให้แก่ทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาทั้งหลาย มีผู้นำทางธุรกิจจำนวนมากที่ยังชมชอบระลึกถึงช่วงหลายๆ ปีแห่ง “การค้าเสรี” ในยุคคณะรัฐบาล บิลล์ คลินตัน อันเป็นช่วงเวลาที่เงินเดือนผลตอบแทนของเหล่าซีอีโอบริษัททะยานลิ่วๆ และอิทธิพลในทั่วโลกของประดาบรรษัทนานาชาติก็พุ่งสูงโด่ง
พวกเขาปฏิเสธลัทธิทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ และต้องการเห็นการหวนกลับมาโฟกัสกันอีกครั้งที่ “อำนาจแบบละมุนนุ่มนวล”ของอเมริกัน ตลอดจนใช้เครื่องมือเพื่อการควบคุมเศรษฐกิจของอเมริกัน อาทิ ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ), และองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งก็คือบรรดาสถาบันแบบร่วมมือกันหลายฝ่ายที่ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในแวดวงนโยบายระหว่างประเทศว่า “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) พวกนักโลกนิยมภาคบรรษัทเหล่านี้ กำลังพยายามที่จะเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจภายในคณะรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งจะเป็นคณะรัฐบาลของพรรคเดโมแครต
แทบจะไม่ต้องมาตั้งคำถามอะไรกันเลย ประชาชนส่วนข้างมากบนพื้นพิภพนี้ ผู้ซึ่งต้องทนทุกข์ทั้งภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัทแห่งยุคคลินตัน และภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบจักรวรรดิแห่งยุคบุช ย่อมสมควรอยู่แล้วที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าสองยุคสมัยนั้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่นอนเอาเลยว่า พวกนักต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งต้องการส่งเสริมให้ใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยมากขึ้นในเรื่องกิจการของโลก และในเรื่องความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก จะสามารถมีอิทธิพลต่อคณะรัฐบาลอเมริกันชุดใหม่ได้ ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเสียหายที่บังเกิดขึ้นจากระยะเวลาแปดปีแห่งการปกครองของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ตลอดจนปัญหาท้าทายจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่น่าหวั่นเกรงมากขึ้นทุกที ก็กำลังก่อให้เกิดปุจฉาอันวิสัชนาให้กระจ่างได้ยากยิ่งสำหรับเหล่านักโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทเหล่านี้ นั่นคือ ยังเป็นไปได้หรือที่จะหวนกลับไปสู่หนทางเดิมในยุคสมัยก่อนหน้าบุช
** การก่อกบฎของนักบรรษัทนิยม **
ตลอดระยะเวลาที่พวกเขาครองอำนาจ ถึงแม้มีหลักฐานอุดมสมบูรณ์ที่แสดงถึงความล้มเหลวของพวกเขา แต่ทั้งบุชและรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ ก็ยังคงรักษาความเชื่อมั่นในตนเองแบบไร้สติ โดยยืนยันถึงความสำเร็จของพวกเขาในการส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ หรืออย่างน้อยก็ผลประโยชน์ของพวกผู้บริจาคกระเป๋าหนักระดับ “ไพโอเนียร์” ของพวกเขา (ระดับไพโอเนียร์ คือพวกที่รวบรวมเงินบริจาคได้ตั้งแต่ 100,000 ดอลลาร์ขึ้นไปให้แก่การรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีของบุชในปี 2000 และ 2004 –ผู้แปล) กระนั้นก็ตาม สาธารณชนก็ย่อมสังเกตเห็นได้อยู่บ่อยๆ ว่า พวกที่บอกว่าจงรักภักดีต่อบุช-เชนีย์ เอาเข้าจริงแล้วกลับกำลังจ้ำอ้าวถอยหนีจากคณะรัฐบาลบุชที่อยู่ในสภาพจมดิ่งลงทุกทีๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนตุลาคม 2007 ข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ที่พาดหัวไว้ว่า “รีพับลิกันคุมเสียงพวกแกนกลางธุรกิจไม่อยู่” รายงานว่าพรรครีพับลิกันอาจจะเผชิญปัญหาวิกฤตในลักษณะเหมือนปัญหาทางด้านแบรนด์สินค้าของภาคธุรกิจ เพราะ “ผู้นำธุรกิจบางส่วนกำลังถอยห่างออกจากพรรค สืบเนื่องจากสงครามในอิรัก, หนี้สินรัฐบาลกลางที่เพิ่มทวีขึ้น, และวาระทางสังคมแบบอนุรักษนิยมที่ผู้นำธุรกิจเหล่านี้ไม่เห็นด้วย”
เมื่อพูดกันถึงเรื่องการตอบสนองของภาคบรรษัทต่อ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ของประธานาธิบดีบุช ส่วนมากที่สุดเราจะได้ยินเรื่องราวของพวกบริษัทแบบฮัลลิเบอร์ตัน และ แบล็กวอเตอร์ ซึ่งก็คือพวกบริษัทที่พัวพันโดยตรงกับการรุกรานและยึดครองอิรัก และมีความคิดจิตใจแบบนักปล้นสะดม บริษัทจำพวกนี้มักมีความสามารถดีเยี่ยมในการทำกำไรให้รวดเร็วจากกลไกทางทหารของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีชาวพรรครีพับลิกันฝ่ายที่เป็นพวกยอมรับความเป็นจริงและใฝ่ใจในทางธุรกิจ ผู้ซึ่งคัดค้านการรุกรานคราวนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันจะส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยิ่งการเสี่ยงภัยในอิรักของคณะรัฐบาลชุดนี้กลายเป็นการถลำจมลงสู่หล่มลึก ขบวนแถวของพวกที่ไม่พอใจในภาคบรรษัทก็มีแต่เพิ่มมากขึ้น
ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้าทำคนเดียว” ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่ใยดีที่จะนำเอาพวกเครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้มั่นคง พวกเขาเชื่อว่า วิธีดำเนินกิจการต่างประเทศแบบกระหายสงครามเช่นนี้ เป็นการขวางกั้นความเจริญรุดหน้าของกระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัท เซบาสเตียน มัลลาบี ผู้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ของพวกนักโลกนิยม ได้เขียนลงในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อเดือนเมษายน 2006 โดยตั้งคำถามว่า “ทำไมกระแสโลกาภิวัตน์จึงชะงักงัน” แล้วก็นำเอาคำประณามในเรื่องนี้มาวางไว้แทบเท้าคณะรัฐบาลบุช มัลลาบีกล่าวหาว่า ทำเนียบขาวไม่มีเจตนารมณ์ที่จะลงทุนทางการเมืองใดๆ ในไอเอ็มเอฟ, ธนาคารโลก, หรือดับเบิลยูทีโอ เขาเขียนเอาไว้ดังนี้
“เมื่อสิบห้าปีก่อน เคยมีความหวังกันว่าการสิ้นสุดแห่งการแตกแยกแบ่งค่ายของยุคสงครามเย็น จะเปิดทางให้บรรดาสถาบันระหว่างประเทศสามารถที่จะยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวกันได้ใหม่ แต่แล้วพวกมหาอำนาจยิ่งใหญ่ของทุกวันนี้กลับไม่ได้ให้ความสนใจเอาเลย กับการสร้างระบบแห่งความร่วมมือระหว่างหลายฝ่ายที่มีความยืดหยุ่น ... สหรัฐฯยังคงเป็นควอเตอร์แบ็กผู้น่าเชื่อถือเพียงคนเดียวสำหรับระบบความร่วมมือหลายฝ่ายดังกล่าว ทว่าคณะรัฐบาลบุชได้ทำให้ผู้เล่นจำนวนมากเกินไปรู้สึกแปลกแยกจนยากที่นำทีมได้อย่างทรงประสิทธิภาพ นโยบายการต่างประเทศเสียงดังแข็งกร้าวของพวกเขาตอนเริ่มต้นนั้น ยังพอเข้าใจได้ว่าเป็นการตอบโต้ต่อความอ่อนแอไร้น้ำยาของมหาอำนาจรายอื่นๆ แต่ลัทธิทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวเช่นนี้ก็ได้ส่งผลด้านกลับอันน่าเศร้า และกำลังทำลายโอกาสไม่ว่าจะเหลือน้อยนิดแค่ไหน ในการที่จะใช้หนทางเลือกแบบความร่วมมือหลายฝ่ายซึ่งยังใช้การได้ผล”
บุคคลจำนวนมากในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจซึ่งหงุดหงิดผิดหวังกับความบกพร่องล้มเหลวของบุช จึงต้องการที่จะหวนกลับไปสู่จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัฒน์แบบบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า และพวกเขาก็กำลังมองกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ฝ่ายพรรคเดโมแครตนั่นแหละที่จะนำทางสู่การเลี้ยวกลับดังกล่าว นักวิเคราะห์การเมือง เควิน ฟิลลิปส์ ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ “Bad Money” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของปรากฏการณ์มุ่งไปในทิศทางดังกล่าวนี้ โดยเขาชี้ว่า เมื่อปี 2007 “พวกลูกจ้างของเหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ มีการบริจาคเงินช่วยการรณรงค์หาเสียง ให้แก่คณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเป็นวุฒิสมาชิกของทางพรรคเดโมแครต มากกว่าที่ให้แก่คณะกรรมการคู่แข่งของพรรครีพับลิกัน ในอัตราส่วนเป็นตัวเลขกลมๆ เท่ากับ 9 ต่อ 1 ทีเดียว”
การก่อกบฎอย่างเงียบๆ ของพวกนักบรรษัทนิยมเช่นนี้ กำลังก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนที่น่าสนใจในเส้นทางเดินของการรณรงค์หาเสียงคราวนี้ ระดับฐานรากของพรรคเดโมแครตนั้นได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนต่อแนวความคิด “การค้าเสรี” เวอร์ชั่นที่เน้นหลักการเศรษฐศาสตร์แบบจากบนลงสู่ล่าง ซึ่งมีแต่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือพวกผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ตลอดจนพวกผู้บริหารภาคธุรกิจที่ไปไหนมาไหนด้วยเครื่องบินไอพ่นส่วนตัว ยิ่งกว่าจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ในระดับแถวล่างลงมาของขั้นบันไดทางเศรษฐกิจ
ผลก็คือ ทั้งวุฒิสมาชิกบารัค โอบามา และวุฒิสมาชิกฮิลลารี คลินตัน ต่างกำลังหาเสียงโดยวางตัวเป็นศัตรูของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) และศัตรูของข้อตกลงการค้าสองฝ่ายฉบับใหม่ที่สหรัฐฯจะทำกับโคลอมเบีย ประเทศซึ่งการวิ่งเต้นจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือการส่งเสียงดังๆ เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอาจจะกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย น้ำเสียงหลักของการรณรงค์หาเสียงในเวลานี้นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญจากของช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อพวกผู้สมัครระดับตัวเก็งสำคัญของพรรคเดโมแครต ต่างพยายามวางตัวเองว่าเป็นผู้สนับสนุนภาคบรรษัทอย่างแท้จริง ตลอดจนประสานมาตรการวิธีการที่พวกเขาคิดจะนำมาใช้ ให้เข้ากันได้กับนโยบายเศรษฐกิจแบบอนุรักษนิยม
กระนั้นก็ตาม ทั้งโอบามาและคลินตันก็ยังคงกำลังถูกแวดล้อมด้วยพวกที่ปรึกษาผู้เป็นมิตรกับภาคธุรกิจ และทัศนะของคนเหล่านี้ก็สามารถสอดรับได้อย่างเหมาะเจาะกับกระบวนทัศน์แห่งกระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัทของคณะรัฐบาลชุดก่อนหน้าบุช แต่ความตึงเครียดขัดแย้งระหว่างเหล่านักเคลื่อนไหวต่อต้านนาฟตาในระดับฐานรากของพรรค กับพวกที่ได้เข้าไปอยู่ในห้องวอร์รูมของทีมรณรงค์หาเสียง ก็ยังคงส่งผลให้เกิดกรณีผิดมารยาทอันฉาวโฉ่น่าอับอายขายหน้าขึ้นมาบ้าง ในระหว่างกระบวนการแข่งขันเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้ที่จะได้เป็นผู้สมัครของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
สำหรับฝ่ายของฮิลลารี คลินตัน กรณีซึ่งเตะตาที่สุดนั้น เกี่ยวพันกับหนึ่งในบุคคลระดับหัวหน้านักยุทธศาสตร์ของเธอ นั่นคือ มาร์ก เพนน์ บุรุษผู้มีประวัติความเป็นมาอันเลวร้ายยาวเหยียดในเรื่องการปกป้องคุ้มครองการกระทำผิดของภาคบรรษัท จากการมีอาชีพเป็นนักล็อบบี้คนหนึ่งในกรุงวอชิงตันมานานปี ตามที่ได้มีการเปิดโปงออกมานั้น บริษัทที่ปรึกษาของเพนน์ได้รับเงินจำนวน 300,000 ดอลลาร์ในปี 2007 เพื่อหาทางสนับสนุนผลักดันข้อตกลง “การค้าเสรี” กับประเทศโคลอมเบีย ทั้งๆ ที่ตัวคลินตันเองกำลังประกาศก้องว่าเธอคัดค้านข้อตกลงดังกล่าวนี้ด้วยความรู้สึกแท้จริงจากขั้วหัวใจ อีกทั้งกำลังตอกย้ำถึง “ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ปราบปรามและการหมายหัวสังหารผู้จัดตั้งขบวนการแรงงาน”ในประเทศนั้น แต่ผู้เล่นคนสำคัญคนหนึ่งในทีมรณรงค์หาเสียงของเธอ กลับกำลังวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลโคลอมเบีย เพื่อให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านออกมามีผลบังคับใช้
ทีมรณรงค์หาเสียงของโอบามาก็พบตัวเองอยู่ในสภาพอิหลักอิเหลื่อทำนองเดียวกันนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยขณะที่ผู้สมัครรายนี้กำลังหาเสียงอยู่ในสนามเลือกตั้งขั้นต้นมลรัฐโอไฮโอ ด้วยการประกาศตัวเป็นผู้คัดค้านข้อตกลงนาฟตา และเรียกมันว่าเป็น “ความผิดพลาด”ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้ใช้แรงงาน ปรากฏว่าที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ศาสตราจารย์ ออสแทน กูลสบี แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ก็กำลังพบปะหารืออยู่กับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลแคนาดา รัฐสมาชิกอีกรายหนึ่งของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือโดยศาสตราจารย์ผู้นี้ได้ไปอธิบาย (ซึ่งทางแคนาดาระบุว่ามีการทำเป็นบันทึกช่วยจำ) ว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ต่อข้อตกลงนาฟตาของโอบามานั้น เป็นเพียง “การเสริมสร้างที่มั่นทางการเมือง” เท่านั้นเอง
กูลสบีรีบออกมาอ้างทันทีว่า จุดยืนของเขาถูกบิดเบือนจนผิดไปจากอุปนิสัยของเขา ทว่าเหตุการณ์คราวนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องก่อให้เกิดคำถามหลายๆ ข้อ ตัวอย่างเช่น ทำไมกูลสบี ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสให้กับ สภาคณะผู้นำพรรคเดโมแครต อันเป็นองค์กรชั้นนำของพวกปีกขวาภายในพรรคที่เป็นมิตรกับภาคบรรษัท และเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็น “แหล่งที่มาของคำแนะนำอันมีคุณค่าเกี่ยวกับการค้าเสรีมาเป็นเวลาเกือบทศวรรษแล้ว” จึงได้รับการวางฐานะให้เป็นผู้หล่อหลอมกำหนดจุดยืนต่างๆ ในทางเศรษฐกิจของโอบามามาตั้งแต่ตอนเริ่มแรก
มาร์ก เองเกลอร์ เป็นนักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับ Foreign Policy in Focus เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “How to Rule the World: The Coming Battle over the Global Economy” ที่เพิ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Nation Books
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
ชนชั้นนำในสหรัฐฯหาวิธีปกครองโลกหลังยุค‘บุช’ (ตอนจบ)
How to rule the world after Bush
By Mark Engler
19/05/2008
ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้าทำคนเดียว” ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่ใยดีที่จะนำเอาพวกเครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้มั่นคง พวกเขาจึงต้องการที่จะดำเนินการ “โจมตีแบบจรยุทธ์” เพื่อที่จะได้หวนกลับคืนไปสู่จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า เวลานี้ พวกนักโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทเหล่านี้กำลังพยายามหาทางเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ได้ และพวกเขาก็เห็นว่าผู้สมัครของพรรคเดโมแครตนั่นแหละ คือโอกาสที่ดีที่สุดของพวกเขา
*รายงานนี้แบ่งเป็นสองตอน นี่คือตอนแรก*
ลองวาดภาพถึงวันที่ 20 มกราคม 2009 วันที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช จะต้องอพยพออกไปจากห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาว
ง่ายดายเหลือเกินที่จะจินตนาการกันได้ว่า จะต้องมีการจัดงานปาร์ตี้เพื่อฉลองวาระอันดีเยี่ยมเช่นนี้ โดยที่มีทั้งพวกประท้วงต่อต้านสงคราม, พวกพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน, เหล่าผู้นำชุมชน, นักสิ่งแวดล้อม, ผู้รณรงค์ต่อสู้ด้านโครงการประกันสุขภาพ, และผู้นำสหภาพแรงงาน ชวนกันยกแก้วเพื่อดื่มให้แก่การสิ้นสุดของยุคสมัยอันเลวร้าย แม้กระทั่งชาวอเมริกันที่ปกติไม่ใฝ่ใจกับชีวิตทางการเมือง ก็ยังอาจรู้สึกอยากจะเข้าร่วมความรื่นเริงบันเทิงใจคราวนี้ โดยนำเอาขวดเครื่องดื่มฟองฟู่ของพวกเขาเองมายังงานเลี้ยง
พิจารณาจากเรตติ้งความยอมรับผลงานของประธานาธิบดีที่แทบไม่เคยจะทะลุเกิน 40% ขึ้นมาเลยในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา และเวลานี้ยืนอย่างดื้อรั้นอยู่แถวๆ 30%หรือต่ำกว่านั้น (อันจัดว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) มันก็ไม่น่าจะต้องประหลาดใจอะไรเลย ถ้าหากจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างใหญ่โตพอดูในวันนั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าประหลาดใจมากกว่าเสียอีก ก็คือในหมู่ฝูงชนที่มาร่วมเฉลิมฉลองกันนี้ อาจจะมีผู้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งกำลังดื่มแชมเปญแบรนด์เลิศรสกว่าธรรมดา ท่ามกลางงานเลี้ยงของพวกนักเรียกร้องเชิดชูหลักการประชาธิปไตยพื้นฐานทั้งหลาย เราอาจจะได้พบเห็นตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสูงๆ ในโลกบรรษัทธุรกิจ เหล่าปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเฝ้ารอคอยการขึ้นครองอำนาจของท่านประธานาธิบดีบุชผู้จบปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ ทว่าบัดนี้พวกเขาเชื่อแล้วว่าการคุยโตวางก้ามแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ ไม่ใช่หนทางที่จะบริหารจักรวรรดิได้
ในบรรดาลักษณะที่ออกจะแปลกพิศดารในยุคสมัยของบุชนั้น อย่างหนึ่งก็คือบุคคลที่อ้างตัวเองเป็น “นักสร้างความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว”ผู้นี้ กลับกลายเป็นผู้ทำให้เกิดการแตกแยกแบ่งขั้ว ไม่เพียงแต่ในสังคมอเมริกันวงกว้างเท่านั้น หากยังภายในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจและทางการเมืองของสังคมอเมริกันด้วย ชนชั้นนำที่กล่าวถึงนี้คือบุคคลประเภทที่ไปชุมนุมกันในเวทีประชุมสัมมนาประจำปีซึ่งคัดกรองผู้เข้าร่วมอย่างสุดเข้มของ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีผู้ช่วยที่จะคอยยื่นคอยรับแลกเปลี่ยนนามบัตรแทนพวกเขา
ถึงแม้บางครั้งพวกเขาดูเข้าสังคมเก่งสนิทสนมกับคนอื่นได้ง่ายดาย ทว่าในเวลานี้ผู้ทรงอำนาจจำนวนไม่มากเหล่านี้ กำลังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องที่ว่าควรจะจัดทรงปรับรูปอำนาจของอเมริกันกันอย่างไรในยุคสมัยหลังจากบุช ทั้งนี้พวกเขาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังกระโดดตีจากถอยหนี เมื่อพวกพรรครีพับลิกันตัดสินใจเลือกเดินต่อไปตามเส้นทางเดิมที่ได้เดินกันมาหลายปีแล้ว และเวลานี้พวกเขาจึงกำลังวุ่นอยู่กับการถกเถียงอภิปรายกันว่าจะปกครองโลกใบนี้กันต่อไปอย่างไรดี
อย่าคิดว่าที่พวกเขาทำกันอยู่นี้เป็นเรื่องของการวางอุบายสมคบคิดกันอะไรทำนองนั้น เพราะที่จริงแล้วมันเป็นการอภิปรายถกเถียงแบบอาศัยสามัญสำนึกอย่างสมบูรณ์ที่สุด ในเรื่องที่ว่านโยบายอะไรบ้างซึ่งจะเอื้ออำนวยผลประโยชน์มากที่สุดแก่พวกเขา ซึ่งเป็นพวกที่ว่าจ้างนักล็อบบี้ในวอชิงตันเป็นโขยง ตลอดจนเป็นผู้อัดฉีดเงินทองให้แก่ทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาทั้งหลาย มีผู้นำทางธุรกิจจำนวนมากที่ยังชมชอบระลึกถึงช่วงหลายๆ ปีแห่ง “การค้าเสรี” ในยุคคณะรัฐบาล บิลล์ คลินตัน อันเป็นช่วงเวลาที่เงินเดือนผลตอบแทนของเหล่าซีอีโอบริษัททะยานลิ่วๆ และอิทธิพลในทั่วโลกของประดาบรรษัทนานาชาติก็พุ่งสูงโด่ง
พวกเขาปฏิเสธลัทธิทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ และต้องการเห็นการหวนกลับมาโฟกัสกันอีกครั้งที่ “อำนาจแบบละมุนนุ่มนวล”ของอเมริกัน ตลอดจนใช้เครื่องมือเพื่อการควบคุมเศรษฐกิจของอเมริกัน อาทิ ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ), และองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งก็คือบรรดาสถาบันแบบร่วมมือกันหลายฝ่ายที่ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในแวดวงนโยบายระหว่างประเทศว่า “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) พวกนักโลกนิยมภาคบรรษัทเหล่านี้ กำลังพยายามที่จะเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจภายในคณะรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งจะเป็นคณะรัฐบาลของพรรคเดโมแครต
แทบจะไม่ต้องมาตั้งคำถามอะไรกันเลย ประชาชนส่วนข้างมากบนพื้นพิภพนี้ ผู้ซึ่งต้องทนทุกข์ทั้งภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัทแห่งยุคคลินตัน และภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบจักรวรรดิแห่งยุคบุช ย่อมสมควรอยู่แล้วที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าสองยุคสมัยนั้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่นอนเอาเลยว่า พวกนักต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งต้องการส่งเสริมให้ใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยมากขึ้นในเรื่องกิจการของโลก และในเรื่องความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก จะสามารถมีอิทธิพลต่อคณะรัฐบาลอเมริกันชุดใหม่ได้ ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเสียหายที่บังเกิดขึ้นจากระยะเวลาแปดปีแห่งการปกครองของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ตลอดจนปัญหาท้าทายจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่น่าหวั่นเกรงมากขึ้นทุกที ก็กำลังก่อให้เกิดปุจฉาอันวิสัชนาให้กระจ่างได้ยากยิ่งสำหรับเหล่านักโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทเหล่านี้ นั่นคือ ยังเป็นไปได้หรือที่จะหวนกลับไปสู่หนทางเดิมในยุคสมัยก่อนหน้าบุช
** การก่อกบฎของนักบรรษัทนิยม **
ตลอดระยะเวลาที่พวกเขาครองอำนาจ ถึงแม้มีหลักฐานอุดมสมบูรณ์ที่แสดงถึงความล้มเหลวของพวกเขา แต่ทั้งบุชและรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ ก็ยังคงรักษาความเชื่อมั่นในตนเองแบบไร้สติ โดยยืนยันถึงความสำเร็จของพวกเขาในการส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ หรืออย่างน้อยก็ผลประโยชน์ของพวกผู้บริจาคกระเป๋าหนักระดับ “ไพโอเนียร์” ของพวกเขา (ระดับไพโอเนียร์ คือพวกที่รวบรวมเงินบริจาคได้ตั้งแต่ 100,000 ดอลลาร์ขึ้นไปให้แก่การรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีของบุชในปี 2000 และ 2004 –ผู้แปล) กระนั้นก็ตาม สาธารณชนก็ย่อมสังเกตเห็นได้อยู่บ่อยๆ ว่า พวกที่บอกว่าจงรักภักดีต่อบุช-เชนีย์ เอาเข้าจริงแล้วกลับกำลังจ้ำอ้าวถอยหนีจากคณะรัฐบาลบุชที่อยู่ในสภาพจมดิ่งลงทุกทีๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนตุลาคม 2007 ข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ที่พาดหัวไว้ว่า “รีพับลิกันคุมเสียงพวกแกนกลางธุรกิจไม่อยู่” รายงานว่าพรรครีพับลิกันอาจจะเผชิญปัญหาวิกฤตในลักษณะเหมือนปัญหาทางด้านแบรนด์สินค้าของภาคธุรกิจ เพราะ “ผู้นำธุรกิจบางส่วนกำลังถอยห่างออกจากพรรค สืบเนื่องจากสงครามในอิรัก, หนี้สินรัฐบาลกลางที่เพิ่มทวีขึ้น, และวาระทางสังคมแบบอนุรักษนิยมที่ผู้นำธุรกิจเหล่านี้ไม่เห็นด้วย”
เมื่อพูดกันถึงเรื่องการตอบสนองของภาคบรรษัทต่อ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ของประธานาธิบดีบุช ส่วนมากที่สุดเราจะได้ยินเรื่องราวของพวกบริษัทแบบฮัลลิเบอร์ตัน และ แบล็กวอเตอร์ ซึ่งก็คือพวกบริษัทที่พัวพันโดยตรงกับการรุกรานและยึดครองอิรัก และมีความคิดจิตใจแบบนักปล้นสะดม บริษัทจำพวกนี้มักมีความสามารถดีเยี่ยมในการทำกำไรให้รวดเร็วจากกลไกทางทหารของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีชาวพรรครีพับลิกันฝ่ายที่เป็นพวกยอมรับความเป็นจริงและใฝ่ใจในทางธุรกิจ ผู้ซึ่งคัดค้านการรุกรานคราวนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันจะส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยิ่งการเสี่ยงภัยในอิรักของคณะรัฐบาลชุดนี้กลายเป็นการถลำจมลงสู่หล่มลึก ขบวนแถวของพวกที่ไม่พอใจในภาคบรรษัทก็มีแต่เพิ่มมากขึ้น
ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้าทำคนเดียว” ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่ใยดีที่จะนำเอาพวกเครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้มั่นคง พวกเขาเชื่อว่า วิธีดำเนินกิจการต่างประเทศแบบกระหายสงครามเช่นนี้ เป็นการขวางกั้นความเจริญรุดหน้าของกระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัท เซบาสเตียน มัลลาบี ผู้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ของพวกนักโลกนิยม ได้เขียนลงในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อเดือนเมษายน 2006 โดยตั้งคำถามว่า “ทำไมกระแสโลกาภิวัตน์จึงชะงักงัน” แล้วก็นำเอาคำประณามในเรื่องนี้มาวางไว้แทบเท้าคณะรัฐบาลบุช มัลลาบีกล่าวหาว่า ทำเนียบขาวไม่มีเจตนารมณ์ที่จะลงทุนทางการเมืองใดๆ ในไอเอ็มเอฟ, ธนาคารโลก, หรือดับเบิลยูทีโอ เขาเขียนเอาไว้ดังนี้
“เมื่อสิบห้าปีก่อน เคยมีความหวังกันว่าการสิ้นสุดแห่งการแตกแยกแบ่งค่ายของยุคสงครามเย็น จะเปิดทางให้บรรดาสถาบันระหว่างประเทศสามารถที่จะยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวกันได้ใหม่ แต่แล้วพวกมหาอำนาจยิ่งใหญ่ของทุกวันนี้กลับไม่ได้ให้ความสนใจเอาเลย กับการสร้างระบบแห่งความร่วมมือระหว่างหลายฝ่ายที่มีความยืดหยุ่น ... สหรัฐฯยังคงเป็นควอเตอร์แบ็กผู้น่าเชื่อถือเพียงคนเดียวสำหรับระบบความร่วมมือหลายฝ่ายดังกล่าว ทว่าคณะรัฐบาลบุชได้ทำให้ผู้เล่นจำนวนมากเกินไปรู้สึกแปลกแยกจนยากที่นำทีมได้อย่างทรงประสิทธิภาพ นโยบายการต่างประเทศเสียงดังแข็งกร้าวของพวกเขาตอนเริ่มต้นนั้น ยังพอเข้าใจได้ว่าเป็นการตอบโต้ต่อความอ่อนแอไร้น้ำยาของมหาอำนาจรายอื่นๆ แต่ลัทธิทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวเช่นนี้ก็ได้ส่งผลด้านกลับอันน่าเศร้า และกำลังทำลายโอกาสไม่ว่าจะเหลือน้อยนิดแค่ไหน ในการที่จะใช้หนทางเลือกแบบความร่วมมือหลายฝ่ายซึ่งยังใช้การได้ผล”
บุคคลจำนวนมากในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจซึ่งหงุดหงิดผิดหวังกับความบกพร่องล้มเหลวของบุช จึงต้องการที่จะหวนกลับไปสู่จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัฒน์แบบบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า และพวกเขาก็กำลังมองกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ฝ่ายพรรคเดโมแครตนั่นแหละที่จะนำทางสู่การเลี้ยวกลับดังกล่าว นักวิเคราะห์การเมือง เควิน ฟิลลิปส์ ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ “Bad Money” ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของปรากฏการณ์มุ่งไปในทิศทางดังกล่าวนี้ โดยเขาชี้ว่า เมื่อปี 2007 “พวกลูกจ้างของเหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ มีการบริจาคเงินช่วยการรณรงค์หาเสียง ให้แก่คณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเป็นวุฒิสมาชิกของทางพรรคเดโมแครต มากกว่าที่ให้แก่คณะกรรมการคู่แข่งของพรรครีพับลิกัน ในอัตราส่วนเป็นตัวเลขกลมๆ เท่ากับ 9 ต่อ 1 ทีเดียว”
การก่อกบฎอย่างเงียบๆ ของพวกนักบรรษัทนิยมเช่นนี้ กำลังก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนที่น่าสนใจในเส้นทางเดินของการรณรงค์หาเสียงคราวนี้ ระดับฐานรากของพรรคเดโมแครตนั้นได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนต่อแนวความคิด “การค้าเสรี” เวอร์ชั่นที่เน้นหลักการเศรษฐศาสตร์แบบจากบนลงสู่ล่าง ซึ่งมีแต่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือพวกผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ตลอดจนพวกผู้บริหารภาคธุรกิจที่ไปไหนมาไหนด้วยเครื่องบินไอพ่นส่วนตัว ยิ่งกว่าจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ในระดับแถวล่างลงมาของขั้นบันไดทางเศรษฐกิจ
ผลก็คือ ทั้งวุฒิสมาชิกบารัค โอบามา และวุฒิสมาชิกฮิลลารี คลินตัน ต่างกำลังหาเสียงโดยวางตัวเป็นศัตรูของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) และศัตรูของข้อตกลงการค้าสองฝ่ายฉบับใหม่ที่สหรัฐฯจะทำกับโคลอมเบีย ประเทศซึ่งการวิ่งเต้นจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือการส่งเสียงดังๆ เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอาจจะกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย น้ำเสียงหลักของการรณรงค์หาเสียงในเวลานี้นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญจากของช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อพวกผู้สมัครระดับตัวเก็งสำคัญของพรรคเดโมแครต ต่างพยายามวางตัวเองว่าเป็นผู้สนับสนุนภาคบรรษัทอย่างแท้จริง ตลอดจนประสานมาตรการวิธีการที่พวกเขาคิดจะนำมาใช้ ให้เข้ากันได้กับนโยบายเศรษฐกิจแบบอนุรักษนิยม
กระนั้นก็ตาม ทั้งโอบามาและคลินตันก็ยังคงกำลังถูกแวดล้อมด้วยพวกที่ปรึกษาผู้เป็นมิตรกับภาคธุรกิจ และทัศนะของคนเหล่านี้ก็สามารถสอดรับได้อย่างเหมาะเจาะกับกระบวนทัศน์แห่งกระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัทของคณะรัฐบาลชุดก่อนหน้าบุช แต่ความตึงเครียดขัดแย้งระหว่างเหล่านักเคลื่อนไหวต่อต้านนาฟตาในระดับฐานรากของพรรค กับพวกที่ได้เข้าไปอยู่ในห้องวอร์รูมของทีมรณรงค์หาเสียง ก็ยังคงส่งผลให้เกิดกรณีผิดมารยาทอันฉาวโฉ่น่าอับอายขายหน้าขึ้นมาบ้าง ในระหว่างกระบวนการแข่งขันเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้ที่จะได้เป็นผู้สมัครของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
สำหรับฝ่ายของฮิลลารี คลินตัน กรณีซึ่งเตะตาที่สุดนั้น เกี่ยวพันกับหนึ่งในบุคคลระดับหัวหน้านักยุทธศาสตร์ของเธอ นั่นคือ มาร์ก เพนน์ บุรุษผู้มีประวัติความเป็นมาอันเลวร้ายยาวเหยียดในเรื่องการปกป้องคุ้มครองการกระทำผิดของภาคบรรษัท จากการมีอาชีพเป็นนักล็อบบี้คนหนึ่งในกรุงวอชิงตันมานานปี ตามที่ได้มีการเปิดโปงออกมานั้น บริษัทที่ปรึกษาของเพนน์ได้รับเงินจำนวน 300,000 ดอลลาร์ในปี 2007 เพื่อหาทางสนับสนุนผลักดันข้อตกลง “การค้าเสรี” กับประเทศโคลอมเบีย ทั้งๆ ที่ตัวคลินตันเองกำลังประกาศก้องว่าเธอคัดค้านข้อตกลงดังกล่าวนี้ด้วยความรู้สึกแท้จริงจากขั้วหัวใจ อีกทั้งกำลังตอกย้ำถึง “ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ปราบปรามและการหมายหัวสังหารผู้จัดตั้งขบวนการแรงงาน”ในประเทศนั้น แต่ผู้เล่นคนสำคัญคนหนึ่งในทีมรณรงค์หาเสียงของเธอ กลับกำลังวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลโคลอมเบีย เพื่อให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านออกมามีผลบังคับใช้
ทีมรณรงค์หาเสียงของโอบามาก็พบตัวเองอยู่ในสภาพอิหลักอิเหลื่อทำนองเดียวกันนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยขณะที่ผู้สมัครรายนี้กำลังหาเสียงอยู่ในสนามเลือกตั้งขั้นต้นมลรัฐโอไฮโอ ด้วยการประกาศตัวเป็นผู้คัดค้านข้อตกลงนาฟตา และเรียกมันว่าเป็น “ความผิดพลาด”ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้ใช้แรงงาน ปรากฏว่าที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ศาสตราจารย์ ออสแทน กูลสบี แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ก็กำลังพบปะหารืออยู่กับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลแคนาดา รัฐสมาชิกอีกรายหนึ่งของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือโดยศาสตราจารย์ผู้นี้ได้ไปอธิบาย (ซึ่งทางแคนาดาระบุว่ามีการทำเป็นบันทึกช่วยจำ) ว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ต่อข้อตกลงนาฟตาของโอบามานั้น เป็นเพียง “การเสริมสร้างที่มั่นทางการเมือง” เท่านั้นเอง
กูลสบีรีบออกมาอ้างทันทีว่า จุดยืนของเขาถูกบิดเบือนจนผิดไปจากอุปนิสัยของเขา ทว่าเหตุการณ์คราวนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องก่อให้เกิดคำถามหลายๆ ข้อ ตัวอย่างเช่น ทำไมกูลสบี ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสให้กับ สภาคณะผู้นำพรรคเดโมแครต อันเป็นองค์กรชั้นนำของพวกปีกขวาภายในพรรคที่เป็นมิตรกับภาคบรรษัท และเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็น “แหล่งที่มาของคำแนะนำอันมีคุณค่าเกี่ยวกับการค้าเสรีมาเป็นเวลาเกือบทศวรรษแล้ว” จึงได้รับการวางฐานะให้เป็นผู้หล่อหลอมกำหนดจุดยืนต่างๆ ในทางเศรษฐกิจของโอบามามาตั้งแต่ตอนเริ่มแรก
มาร์ก เองเกลอร์ เป็นนักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับ Foreign Policy in Focus เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “How to Rule the World: The Coming Battle over the Global Economy” ที่เพิ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Nation Books
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)