(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Myanmar faces up to cyclone disaster
By Larry Jagan
06/05/08
ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 15,000 คนและอีกเป็นล้านๆ คนสูญหายหรือไร้ที่อยู่ ภายหลังถูกพายุไซโคลนโถมกระหน่ำเมื่อวันเสาร์(3) คณะผู้นำทหารในพม่าก็กำลังค่อยๆ เปิดประตูของตนออกมาต้อนรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ถึงแม้การกระทำเช่นนี้ย่อมจะเป็นการเปิดเผยให้เห็นกันเต็มๆ ถึงขนาดขอบเขตของภัยพิบัติคราวนี้ ตลอดจนความขาดเขินบกพร่องของปฏิกิริยาตอบสนองในเบื้องต้นของรัฐบาลชุดนี้ ขณะเดียวกัน คณะผู้นำทหารก็ยังคงยืนกรานที่จะเดินหน้าจัดการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันในสุดสัปดาห์นี้ต่อไป
กรุงเทพฯ – ขณะที่พม่ารายงานว่ามีประชาชนอย่างน้อย 15,000 คนเสียชีวิต และอีก 30,000 คนสูญหายไป ภายหลังพายุไซโคลนถล่มสร้างความวิบัติให้แก่ประเทศเมื่อวันเสาร์(3)ที่ผ่านมานั้น ประชาคมระหว่างประเทศแทบไม่สามารถที่จะกระทำอะไรซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือได้เลย หากไม่มีคำขออย่างเป็นทางการจากคณะผู้ปกครองทหารที่เก็บตัวลึกลับของประเทศนี้
จากการยอมรับกับบรรดานักการทูตต่างชาติเมื่อวันจันทร์(5)ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะสูงถึง 15,000 คนเช่นนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ เนียนวิน ของพม่าก็ดูเหมือนกำลังบ่งบอกเป็นนัยว่า เหล่านายพลผู้ปกครองประเทศเตรียมที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดเผยให้เห็นกันเต็มๆ ถึงขนาดขอบเขตของภัยพิบัติคราวนี้ ตลอดจนความขาดเขินบกพร่องของปฏิกิริยาตอบสนองในเบื้องต้นของรัฐบาลชุดนี้
สื่อภาครัฐของประเทศนี้รายงานว่า เฉพาะบนเกาะแห่งหนึ่งเกาะเดียว ก็มีบ้านเรือนเสียหายไปราว 20,000 หลัง จากฤทธิ์ของพายุไซโคลนนาร์กิส (อันเป็นพายุที่มีความรุนแรงระดับ 3 และมีความเร็วลมสูงสุดที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งพัดกระหน่ำผ่านแนวชายฝั่งของพม่าเมื่อช่วงเช้าวันเสาร์
ในขณะเดียวกัน สื่อของภาครัฐก็แจ้งว่า การลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จะยังคงเดินหน้าจัดขึ้นในวันที่ 10 พฤษภาคมต่อไปตามแผนการที่วางกันไว้ “ยังอีกไม่กี่วันก็จะถึงกำหนดการลงประชามติแล้ว และประชาชนต่างกำลังกระตือรือล้นเฝ้ารอคอยที่จะไปออกเสียง” รัฐบาลระบุในคำแถลงซึ่งเผยแพร่ทางสื่อของรัฐ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา โทรทัศน์ของภาครัฐก็แจ้งว่า สำหรับเขตซึ่งเสียหายหนักจากภัยพิบัติคราวนี้ การลงประชามติจะเลื่อนออกไปจัดในวันที่ 24 พฤษภาคม
การลงประชามติรัฐธรรมนูญนี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งแผนการ “โรดแมปสู่ประชาธิปไตย” ของคณะผู้นำทหาร ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่าถ้าหากทำตามไปเรื่อยๆ ก็จะไปจบลงที่การจัดการเลือกตั้งแบบมีหลายพรรคการเมืองในปี 2010 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่อนุญาตให้จัดการอภิปรายถกเถียงรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันในที่สาธารณะ และเฉพาะความเห็นที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะได้รับการเผยแพร่ โดยที่สื่อท้องถิ่นถูกห้ามขาดไม่ให้รายงานข่าวการรณรงค์ให้ออกเสียง “ไม่รับ” ใดๆ ทั้งสิ้น
นครย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่า และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อยู่ถัดไปทางตะวันออก คือพื้นที่ซึ่งอยู่ตรงบริเวณตาของพายุคราวนี้ เป็นที่คาดหมายกันว่าจำนวนผู้เสียชีวิตน่าจะพุ่งสูงไปกว่านี้อีก เนื่องจากทางการผู้รับผิดชอบของพม่าตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ ยังคงไม่สามารถติดต่อกับเกาะต่างๆ ตลอดจนพวกหมู่บ้านแถวที่ลุ่มในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกข้าวของประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้คนที่ต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยก็น่าจะจำนวนเป็นล้านๆ คน
“ทุกๆ ฝ่ายต่างก็กำลังประสบความลำบาก ในการประเมินความเสียหายและคิดคำนวณความช่วยเหลือที่จำเป็นให้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และเห็นชัดเลยว่าทางรัฐบาลเองก็น่าจะกำลังเผชิญความจำกัดอย่างเดียวกันนี้เช่นกัน” ริชาร์ด ฮอร์ซีย์ โฆษกของสำนักงานสหประชาชาติเพื่อการประสานงานด้านกิจการมนุษยธรรม สาขาประจำภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งตั้งออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส(ไอพีเอส) “ช่องทางสื่อสารโทรคมนาคมใช้การไม่ได้, ถนนหนทางก็ถูกตัดขัด, และจะต้องใช้เวลามากทีเดียวที่จะเข้าให้ถึงหมู่บ้านเล็กๆ จำนวนมากซึ่งได้รับความเสียหายหนักหน่วงที่สุด” เขาบอก
ในนครย่างกุ้ง ต้นไม้จำนวนมากถูกพายุกระหน่ำจนถอนรากถอนโคน และตกกระจายเกลื่อนกลาดไปตามถนน หลังคาของบ้านและอาคารจำนวนมากถูกพัดปลิวหายเป็นแถบๆ และเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากฤทธิ์พายุ ก็ยิ่งเพิ่มความโกลาหลอลหม่าน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ โรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้รับความเสียหายหนัก สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้าถูกตัดขาด “มันเหมือนกับเป็นเขตสงคราม” เป็นคำบอกเล่าของนักการทูตชาวตะวันตกผู้หนึ่งซึ่งขอให้สงวนนาม
ความพยายามของบรรดาผู้ทำงานให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ที่จะเข้าให้ถึงความเป็นจริงเพื่อประเมินความเสียหายและความช่วยเหลือที่จำเป็นต้องได้รับ ปรากฏว่าถูกทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายทหารขัดขวางและจำกัดอย่างเข้มงวด อันที่จริงในระยะไม่กี่ปีมานี้ คณะผู้นำทหารก็ได้จำกัดกิจกรรมของบรรดาองค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ต่างๆ จนจำนวนมากได้ถอยหนีออกจากพม่าไปแล้วด้วยความหงุดหงิดผิดหวัง
ข้อมูลข่าวสารๆ ใดๆที่ออกมาจากประเทศนี้ ส่วนใหญ่มักไหลผ่านมาทางหน่วยงานของยูเอ็นหลายต่อหลายแห่งซึ่งยังคงมีบุคลากรทำงานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ “ความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดนั้น แน่นอนทีเดียวว่าคือเรื่องที่พักอาศัยและน้ำสะอาด” ฮอร์ซีย์บอก “ผ้าพลาสติก, เต็นท์, มุ้ง, เครื่องครัว, และยาเม็ดทำน้ำให้บริสุทธิ์ เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องการกันอย่างเร่งด่วน”
องค์การกาชาดแจ้งว่า ทีมงานของตนกำลังแจกจ่ายข้าวของจำเป็นฉุกเฉิน อาทิ น้ำสะอาด และผ้าห่ม กันอยู่แล้วในพื้นที่อิระวดีซึ่งดูจะถูกกระหน่ำเสียหายยับเยินที่สุด อย่างไรก็ตาม ทีมงานตอบโต้เร็วที่เป็นทีมหลักๆ ของยูเอ็น ยังคงรอคอยขอการอนุมัติจากรัฐบาลทหารพม่าซึ่งขึ้นชื่อลือฉาวในเรื่องการอยู่โดดเดี่ยวไม่ยุ่งกับใครและการระแวงหวาดผวาคนอื่น ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีผู้รอดชีวิตมากขึ้นเพียงไหนถ้าหากคณะผู้นำทหารยอมอนุญาตให้ภายนอกได้เข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้วยความรวดเร็ว
นั่นเท่ากับว่า มีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างเหล่าเจ้าหน้าที่องค์กรช่วยเหลือในย่างกุ้งกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า นับแต่ที่พายุไซโคลนกระหน่ำเมื่อวันเสาร์ และแหล่งข่าวหลายรายในยูเอ็นก็พูดเป็นการภายในว่า รัฐบาลพม่าน่าจะเริ่มยอมรับความช่วยเหลือต่างๆ จากประชาคมระหว่างประเทศในอีกเวลาอีกไม่นานนัก
“สัญญาณบ่งชี้หลายๆ อย่างแสดงว่า รัฐบาลชุดนี้พร้อมยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ” ฮอร์ซีย์กล่าว “และเราคาดหมายว่าจะได้เห็นสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นอีกในเรื่องนี้ในเร็ววัน”
ทั้งประเทศไทย, สหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และอินเดีย ต่างกำลังส่งความช่วยเหลือต่างๆ ไปให้ และ ลอรา บุช สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯก็แถลงว่า สหรัฐฯเสนอให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่า 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนั้นยังมีทีมงานช่วยเหลือที่พร้อมเดินทางเข้าไปปฏิบัติงานในทันทีที่ได้รับการร้องขอ ทางด้านองค์กรให้ความช่วยเหลือ “เวิลด์ วิชั่น” ในออสเตรเลียบอกว่า ทางการพม่ายินยอมออกวีซ่าพิเศษเพื่อให้ทางองค์กรส่งบุคลากรไปเสริมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งมีอยู่แล้วราว 600 คน
รัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการตอบโต้ภัยพิบัติขึ้นมาชุดหนึ่งที่เมืองหลวงเนย์ปิดอว์ โดยอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรี พลเอก เต็งเส่ง ตัวนายกรัฐมนตรีผู้นี้เองได้ไปยังย่างกุ้งแล้วเพื่อตรวจดูความเสียหายจากพายุไซโคลนด้วยตนเอง และโทรทัศน์ของภาครัฐก็เผยแพร่ข่าวที่เห็นภาพพวกทหารกำลังเก็บกวาดต้นไม้กิ่งไม้ออกจากท้องถนน ตลอดจนเต็งเส่งกำลังเยี่ยมเยียนประชาชนซึ่งหลบภัยอยู่ในเจดีย์แห่งหนึ่ง
ผลการประเมินความเสียหายโดยส่วนใหญ่บอกตรงกันว่า ความหายนะที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่โตมหึมาจนทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายทหารไม่สามารถรับมือได้ แต่ก็ดังที่ วินมิน นักวิชาการอิสระซึ่งพำนักอยู่ที่เชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า “ถึงแม้คณะผู้นำทหารน่าจะยินดีรับเครื่องมืออุปกรณ์และสัมภาระต่างๆ แต่นายพลระดับท็อปเหล่านี้คงไม่ยินดีหรอก ที่จะอนุญาตให้พวกคนต่างชาติเป็นโขยง เข้ามาทำอะไรๆ อยู่รอบประเทศไปหมด”
สำหรับกลุ่มลี้ภัยทางการเมืองนั้น ได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติมาตั้งแต่ที่เกิดเหตุพายุไซโคลนถล่มแล้ว “ระบอบปกครองทหารนั้นขาดการเตรียมพร้อมเป็นอย่างยิ่ง ในการรับมือกับสถานการณ์ภายหลังพายุไซโคลนกระหน่ำ” หน่ายอ่อง แห่ง ฟอรัม ฟอร์ ดีมอกเครซี อิน เบอร์มา ซึ่งตั้งฐานอยู่ในประเทศไทย ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกลุ่ม
พม่าแต่ไหนแต่ไรมาก็ไม่ได้มีความเต็มใจเลยที่จะยอมรับความช่วยเหลือที่จำเป็นจากองค์การบรรเทาทุกข์นานาชาติ เพื่อนำมาใช้รับมือกับปัญหามากมายเหลือคณานับของตน ตั้งแต่เรื่องโรคระบาดอย่าง เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ไปจนถึงเรื่องภาวะความยากจนแบบสุดๆ ทางการผู้มีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมอนุญาตให้องค์กรต่างๆ ในสังกัดยูเอ็น และองค์การให้ความช่วยเหลือนานาชาติทั้งหลาย สามารถเข้าถึงพื้นที่ชนบทต่างๆ ของพม่าได้โดยไม่ถูกควบคุม และในช่วงปีที่ผ่านมา การจำกัดควบคุมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนานาชาติกลับเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำไป
“การเก็บกวาดทำความสะอาด (ที่ทางรัฐบาลเป็นผู้ทำ) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ทว่ายังจะต้องใช้เวลาอีกนานมากทีเดียวกว่าที่จะเสร็จเรียบร้อย” นักการทูตที่พำนักอยู่ที่ย่างกุ้งผู้หนึ่งบอกกับไอพีเอส “ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วเมืองนี้มีมากมายเหลือเกิน”
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์อิระวดี ซึ่งเป็นของพวกลี้ภัยการเมือง ราคาอาหารได้พุ่งสูงขึ้นลิบลิ่วนับแต่พายุไซโคลนถล่ม เวลานี้ไข่ฟองหนึ่งมีราคาราว 250 จั๊ต (20 เซ็นต์สหรัฐฯ) ในย่างกุ้ง หรือเป็นประมาณ 3 เท่าตัวของราคาก่อนหน้าวันเสาร์ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้บอก
“ราคาที่พุ่งลิ่วเช่นนี้กำลังทำให้อยู่กันไม่ได้” เป็นความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ชาวพม่าผู้หนึ่งที่ขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ “อีกไม่นาน ประชาชนก็คงจะต้องกลายเป็นขอทาน ถ้ารัฐบาลไม่เริ่มต้นทำอะไรอย่างรวดเร็วแล้ว อีกไม่นานความหงุดหงิดไม่พอใจในเวลานี้ก็จะเดือดระอุกลายเป็นความโกรธแค้น และแทบจะแน่นอนเหลือเกินว่า การประท้วงตามท้องถนนจะต้องเกิดขึ้นมาอีก” เขากล่าว
“ใน (ย่างกุ้ง) ผู้คนรู้สึกกันว่าพวกเขาสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว และไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะสูญเสียกันอีก” นักศึกษาวัยหนุ่มสาวที่เป็นนักเคลื่อนไหวผู้หนึ่ง กล่าวให้ความเห็นเช่นนี้ผ่านทางโทรศัพท์
(รายงานของสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส และเอเชียไทมส์ออนไลน์เพิ่มเติมขึ้นมาอีกบางส่วน)
Myanmar faces up to cyclone disaster
By Larry Jagan
06/05/08
ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 15,000 คนและอีกเป็นล้านๆ คนสูญหายหรือไร้ที่อยู่ ภายหลังถูกพายุไซโคลนโถมกระหน่ำเมื่อวันเสาร์(3) คณะผู้นำทหารในพม่าก็กำลังค่อยๆ เปิดประตูของตนออกมาต้อนรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ถึงแม้การกระทำเช่นนี้ย่อมจะเป็นการเปิดเผยให้เห็นกันเต็มๆ ถึงขนาดขอบเขตของภัยพิบัติคราวนี้ ตลอดจนความขาดเขินบกพร่องของปฏิกิริยาตอบสนองในเบื้องต้นของรัฐบาลชุดนี้ ขณะเดียวกัน คณะผู้นำทหารก็ยังคงยืนกรานที่จะเดินหน้าจัดการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันในสุดสัปดาห์นี้ต่อไป
กรุงเทพฯ – ขณะที่พม่ารายงานว่ามีประชาชนอย่างน้อย 15,000 คนเสียชีวิต และอีก 30,000 คนสูญหายไป ภายหลังพายุไซโคลนถล่มสร้างความวิบัติให้แก่ประเทศเมื่อวันเสาร์(3)ที่ผ่านมานั้น ประชาคมระหว่างประเทศแทบไม่สามารถที่จะกระทำอะไรซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือได้เลย หากไม่มีคำขออย่างเป็นทางการจากคณะผู้ปกครองทหารที่เก็บตัวลึกลับของประเทศนี้
จากการยอมรับกับบรรดานักการทูตต่างชาติเมื่อวันจันทร์(5)ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะสูงถึง 15,000 คนเช่นนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ เนียนวิน ของพม่าก็ดูเหมือนกำลังบ่งบอกเป็นนัยว่า เหล่านายพลผู้ปกครองประเทศเตรียมที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดเผยให้เห็นกันเต็มๆ ถึงขนาดขอบเขตของภัยพิบัติคราวนี้ ตลอดจนความขาดเขินบกพร่องของปฏิกิริยาตอบสนองในเบื้องต้นของรัฐบาลชุดนี้
สื่อภาครัฐของประเทศนี้รายงานว่า เฉพาะบนเกาะแห่งหนึ่งเกาะเดียว ก็มีบ้านเรือนเสียหายไปราว 20,000 หลัง จากฤทธิ์ของพายุไซโคลนนาร์กิส (อันเป็นพายุที่มีความรุนแรงระดับ 3 และมีความเร็วลมสูงสุดที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งพัดกระหน่ำผ่านแนวชายฝั่งของพม่าเมื่อช่วงเช้าวันเสาร์
ในขณะเดียวกัน สื่อของภาครัฐก็แจ้งว่า การลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จะยังคงเดินหน้าจัดขึ้นในวันที่ 10 พฤษภาคมต่อไปตามแผนการที่วางกันไว้ “ยังอีกไม่กี่วันก็จะถึงกำหนดการลงประชามติแล้ว และประชาชนต่างกำลังกระตือรือล้นเฝ้ารอคอยที่จะไปออกเสียง” รัฐบาลระบุในคำแถลงซึ่งเผยแพร่ทางสื่อของรัฐ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา โทรทัศน์ของภาครัฐก็แจ้งว่า สำหรับเขตซึ่งเสียหายหนักจากภัยพิบัติคราวนี้ การลงประชามติจะเลื่อนออกไปจัดในวันที่ 24 พฤษภาคม
การลงประชามติรัฐธรรมนูญนี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งแผนการ “โรดแมปสู่ประชาธิปไตย” ของคณะผู้นำทหาร ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่าถ้าหากทำตามไปเรื่อยๆ ก็จะไปจบลงที่การจัดการเลือกตั้งแบบมีหลายพรรคการเมืองในปี 2010 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่อนุญาตให้จัดการอภิปรายถกเถียงรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันในที่สาธารณะ และเฉพาะความเห็นที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะได้รับการเผยแพร่ โดยที่สื่อท้องถิ่นถูกห้ามขาดไม่ให้รายงานข่าวการรณรงค์ให้ออกเสียง “ไม่รับ” ใดๆ ทั้งสิ้น
นครย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่า และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อยู่ถัดไปทางตะวันออก คือพื้นที่ซึ่งอยู่ตรงบริเวณตาของพายุคราวนี้ เป็นที่คาดหมายกันว่าจำนวนผู้เสียชีวิตน่าจะพุ่งสูงไปกว่านี้อีก เนื่องจากทางการผู้รับผิดชอบของพม่าตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ ยังคงไม่สามารถติดต่อกับเกาะต่างๆ ตลอดจนพวกหมู่บ้านแถวที่ลุ่มในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกข้าวของประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้คนที่ต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยก็น่าจะจำนวนเป็นล้านๆ คน
“ทุกๆ ฝ่ายต่างก็กำลังประสบความลำบาก ในการประเมินความเสียหายและคิดคำนวณความช่วยเหลือที่จำเป็นให้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และเห็นชัดเลยว่าทางรัฐบาลเองก็น่าจะกำลังเผชิญความจำกัดอย่างเดียวกันนี้เช่นกัน” ริชาร์ด ฮอร์ซีย์ โฆษกของสำนักงานสหประชาชาติเพื่อการประสานงานด้านกิจการมนุษยธรรม สาขาประจำภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งตั้งออฟฟิศอยู่ที่กรุงเทพฯ บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส(ไอพีเอส) “ช่องทางสื่อสารโทรคมนาคมใช้การไม่ได้, ถนนหนทางก็ถูกตัดขัด, และจะต้องใช้เวลามากทีเดียวที่จะเข้าให้ถึงหมู่บ้านเล็กๆ จำนวนมากซึ่งได้รับความเสียหายหนักหน่วงที่สุด” เขาบอก
ในนครย่างกุ้ง ต้นไม้จำนวนมากถูกพายุกระหน่ำจนถอนรากถอนโคน และตกกระจายเกลื่อนกลาดไปตามถนน หลังคาของบ้านและอาคารจำนวนมากถูกพัดปลิวหายเป็นแถบๆ และเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากฤทธิ์พายุ ก็ยิ่งเพิ่มความโกลาหลอลหม่าน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ โรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้รับความเสียหายหนัก สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้าถูกตัดขาด “มันเหมือนกับเป็นเขตสงคราม” เป็นคำบอกเล่าของนักการทูตชาวตะวันตกผู้หนึ่งซึ่งขอให้สงวนนาม
ความพยายามของบรรดาผู้ทำงานให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ที่จะเข้าให้ถึงความเป็นจริงเพื่อประเมินความเสียหายและความช่วยเหลือที่จำเป็นต้องได้รับ ปรากฏว่าถูกทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายทหารขัดขวางและจำกัดอย่างเข้มงวด อันที่จริงในระยะไม่กี่ปีมานี้ คณะผู้นำทหารก็ได้จำกัดกิจกรรมของบรรดาองค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ต่างๆ จนจำนวนมากได้ถอยหนีออกจากพม่าไปแล้วด้วยความหงุดหงิดผิดหวัง
ข้อมูลข่าวสารๆ ใดๆที่ออกมาจากประเทศนี้ ส่วนใหญ่มักไหลผ่านมาทางหน่วยงานของยูเอ็นหลายต่อหลายแห่งซึ่งยังคงมีบุคลากรทำงานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ “ความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดนั้น แน่นอนทีเดียวว่าคือเรื่องที่พักอาศัยและน้ำสะอาด” ฮอร์ซีย์บอก “ผ้าพลาสติก, เต็นท์, มุ้ง, เครื่องครัว, และยาเม็ดทำน้ำให้บริสุทธิ์ เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องการกันอย่างเร่งด่วน”
องค์การกาชาดแจ้งว่า ทีมงานของตนกำลังแจกจ่ายข้าวของจำเป็นฉุกเฉิน อาทิ น้ำสะอาด และผ้าห่ม กันอยู่แล้วในพื้นที่อิระวดีซึ่งดูจะถูกกระหน่ำเสียหายยับเยินที่สุด อย่างไรก็ตาม ทีมงานตอบโต้เร็วที่เป็นทีมหลักๆ ของยูเอ็น ยังคงรอคอยขอการอนุมัติจากรัฐบาลทหารพม่าซึ่งขึ้นชื่อลือฉาวในเรื่องการอยู่โดดเดี่ยวไม่ยุ่งกับใครและการระแวงหวาดผวาคนอื่น ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีผู้รอดชีวิตมากขึ้นเพียงไหนถ้าหากคณะผู้นำทหารยอมอนุญาตให้ภายนอกได้เข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้วยความรวดเร็ว
นั่นเท่ากับว่า มีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างเหล่าเจ้าหน้าที่องค์กรช่วยเหลือในย่างกุ้งกับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า นับแต่ที่พายุไซโคลนกระหน่ำเมื่อวันเสาร์ และแหล่งข่าวหลายรายในยูเอ็นก็พูดเป็นการภายในว่า รัฐบาลพม่าน่าจะเริ่มยอมรับความช่วยเหลือต่างๆ จากประชาคมระหว่างประเทศในอีกเวลาอีกไม่นานนัก
“สัญญาณบ่งชี้หลายๆ อย่างแสดงว่า รัฐบาลชุดนี้พร้อมยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ” ฮอร์ซีย์กล่าว “และเราคาดหมายว่าจะได้เห็นสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นอีกในเรื่องนี้ในเร็ววัน”
ทั้งประเทศไทย, สหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และอินเดีย ต่างกำลังส่งความช่วยเหลือต่างๆ ไปให้ และ ลอรา บุช สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯก็แถลงว่า สหรัฐฯเสนอให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่า 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนั้นยังมีทีมงานช่วยเหลือที่พร้อมเดินทางเข้าไปปฏิบัติงานในทันทีที่ได้รับการร้องขอ ทางด้านองค์กรให้ความช่วยเหลือ “เวิลด์ วิชั่น” ในออสเตรเลียบอกว่า ทางการพม่ายินยอมออกวีซ่าพิเศษเพื่อให้ทางองค์กรส่งบุคลากรไปเสริมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งมีอยู่แล้วราว 600 คน
รัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการตอบโต้ภัยพิบัติขึ้นมาชุดหนึ่งที่เมืองหลวงเนย์ปิดอว์ โดยอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรี พลเอก เต็งเส่ง ตัวนายกรัฐมนตรีผู้นี้เองได้ไปยังย่างกุ้งแล้วเพื่อตรวจดูความเสียหายจากพายุไซโคลนด้วยตนเอง และโทรทัศน์ของภาครัฐก็เผยแพร่ข่าวที่เห็นภาพพวกทหารกำลังเก็บกวาดต้นไม้กิ่งไม้ออกจากท้องถนน ตลอดจนเต็งเส่งกำลังเยี่ยมเยียนประชาชนซึ่งหลบภัยอยู่ในเจดีย์แห่งหนึ่ง
ผลการประเมินความเสียหายโดยส่วนใหญ่บอกตรงกันว่า ความหายนะที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่โตมหึมาจนทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายทหารไม่สามารถรับมือได้ แต่ก็ดังที่ วินมิน นักวิชาการอิสระซึ่งพำนักอยู่ที่เชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า “ถึงแม้คณะผู้นำทหารน่าจะยินดีรับเครื่องมืออุปกรณ์และสัมภาระต่างๆ แต่นายพลระดับท็อปเหล่านี้คงไม่ยินดีหรอก ที่จะอนุญาตให้พวกคนต่างชาติเป็นโขยง เข้ามาทำอะไรๆ อยู่รอบประเทศไปหมด”
สำหรับกลุ่มลี้ภัยทางการเมืองนั้น ได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติมาตั้งแต่ที่เกิดเหตุพายุไซโคลนถล่มแล้ว “ระบอบปกครองทหารนั้นขาดการเตรียมพร้อมเป็นอย่างยิ่ง ในการรับมือกับสถานการณ์ภายหลังพายุไซโคลนกระหน่ำ” หน่ายอ่อง แห่ง ฟอรัม ฟอร์ ดีมอกเครซี อิน เบอร์มา ซึ่งตั้งฐานอยู่ในประเทศไทย ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกลุ่ม
พม่าแต่ไหนแต่ไรมาก็ไม่ได้มีความเต็มใจเลยที่จะยอมรับความช่วยเหลือที่จำเป็นจากองค์การบรรเทาทุกข์นานาชาติ เพื่อนำมาใช้รับมือกับปัญหามากมายเหลือคณานับของตน ตั้งแต่เรื่องโรคระบาดอย่าง เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ไปจนถึงเรื่องภาวะความยากจนแบบสุดๆ ทางการผู้มีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมอนุญาตให้องค์กรต่างๆ ในสังกัดยูเอ็น และองค์การให้ความช่วยเหลือนานาชาติทั้งหลาย สามารถเข้าถึงพื้นที่ชนบทต่างๆ ของพม่าได้โดยไม่ถูกควบคุม และในช่วงปีที่ผ่านมา การจำกัดควบคุมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนานาชาติกลับเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำไป
“การเก็บกวาดทำความสะอาด (ที่ทางรัฐบาลเป็นผู้ทำ) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ทว่ายังจะต้องใช้เวลาอีกนานมากทีเดียวกว่าที่จะเสร็จเรียบร้อย” นักการทูตที่พำนักอยู่ที่ย่างกุ้งผู้หนึ่งบอกกับไอพีเอส “ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วเมืองนี้มีมากมายเหลือเกิน”
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์อิระวดี ซึ่งเป็นของพวกลี้ภัยการเมือง ราคาอาหารได้พุ่งสูงขึ้นลิบลิ่วนับแต่พายุไซโคลนถล่ม เวลานี้ไข่ฟองหนึ่งมีราคาราว 250 จั๊ต (20 เซ็นต์สหรัฐฯ) ในย่างกุ้ง หรือเป็นประมาณ 3 เท่าตัวของราคาก่อนหน้าวันเสาร์ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้บอก
“ราคาที่พุ่งลิ่วเช่นนี้กำลังทำให้อยู่กันไม่ได้” เป็นความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ชาวพม่าผู้หนึ่งที่ขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ “อีกไม่นาน ประชาชนก็คงจะต้องกลายเป็นขอทาน ถ้ารัฐบาลไม่เริ่มต้นทำอะไรอย่างรวดเร็วแล้ว อีกไม่นานความหงุดหงิดไม่พอใจในเวลานี้ก็จะเดือดระอุกลายเป็นความโกรธแค้น และแทบจะแน่นอนเหลือเกินว่า การประท้วงตามท้องถนนจะต้องเกิดขึ้นมาอีก” เขากล่าว
“ใน (ย่างกุ้ง) ผู้คนรู้สึกกันว่าพวกเขาสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว และไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะสูญเสียกันอีก” นักศึกษาวัยหนุ่มสาวที่เป็นนักเคลื่อนไหวผู้หนึ่ง กล่าวให้ความเห็นเช่นนี้ผ่านทางโทรศัพท์
(รายงานของสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส และเอเชียไทมส์ออนไลน์เพิ่มเติมขึ้นมาอีกบางส่วน)