xs
xsm
sm
md
lg

นายกฯ อังกฤษหารือสงครามอิรัก-ศก.โลกกับ 3 ตัวเต็งชิง ปธน.สหรัฐฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ฮิลลารี-บราวน์
เอเจนซี - กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เข้าหารือในประเด็นสงครามอิรัก เศรษฐกิจโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลอนดอนกับวอชิงตันกับ 3 ตัวเต็งผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นจะก้าวมาเป็นพันธมิตรของเขาในเดือนมกราคมปีหน้า

จอห์น แมคเคน ผู้สมัครจากรีพับลิกัน และฮิลลารี คลินตันกับบารัค โอบามา สองผู้สมัครชิงตัวแทนพรรคเดโมแครต ใช้เวลาว่างช่วงหาเสียงเข้าพูดคุยกับบราวน์ ในหลายประเด็น

บราวน์เข้าสืบทอดตำแหน่งแทนโทนี แบลร์ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และหนนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่มาเยือนสหรัฐฯ และจะพบกับประธานาธิบดีจอห์จ ดับเบิลยู บุช ด้วย

“เราคิดว่ามันเป็นการดำเนินการที่ไตร่ตรองแล้วของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ต้องการทำความรู้จักกับหนึ่งในผู้ที่จะถูกเลือกมาเป็นประธานาธิบดีในอีก 1 ปีจากนี้” โฆษกทำเนียบขาวระบุ “มันดูมีเหตุผล”

บราวน์ได้หารือแบบตัวต่อตัวกับโอบามา ต่อด้วยฮิลลารี และปิดท้ายด้วยแมคเคนในเวลาห่างกันคนละ 45 นาที และใช้เวลาพูดคุยทั้งหมดกว่า 3 ชั่งโมง ณ ที่พักของเอกอัครราชทูตอังกฤษในวอชิงตัน

ครั้งนี้นับเป็นหนแรกที่โอบามาได้เจอกับบราวน์ ส่วนแมคเคนเคยพบกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษรายนี้แล้ว ระหว่างเยือนลอนดอนเมื่อเดือนก่อน

นายกรัฐมนตรีจากพรรคเลเบอร์ของอังกฤษ บราวน์ ยกย่องผู้สมัครทั้ง 3 คนผ่านการสัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์และคาดหมายว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและสหรัฐฯ จะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“ผมคิดว่าผมสามารถดึงยุโรปและอเมริกาให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นในอนาคต” บราวน์กล่าว “นี่จะเป็นประโยชน์ต่อเราทุกคน ในการจัดการกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ โลกร้อนและช่วยกันสร้างโลกแห่งสันติภาพมากขึ้นในอนาคต ผมมองเห็นโอกาสอันดีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าสำหรับยุโรปและอเมริกา ในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น”

สำหรับบุชและแบลร์มีพันธนาการที่พิเศษและเข้มแข็ง ในส่วนหนึ่งของแรงสนับสนุนต่อกันในสงครมอิรักอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามบุชกลับไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในอังกฤษและนโยบายการเมืองของแบลร์ก็ได้รับผลกระทบเพราะความสนิทสนมระหว่างสองคน

ในความแตกต่างจากแบลร์ นายกรัฐมนตรีคนก่อน บราวน์มีความระมัดมากกว่าในการพูดจากับบุช และความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติมีความตึงเครียดขึ้นเมื่ออังกฤษตัดสินใจถอนทหารออกจากอิรัก ทว่าบราวน์บอกว่าแผนลดกำลังทหารผู้ดีจาก 4,000 นาย หรือ 2,500 นาย ถูกพักไว้ชั่วคราว และได้เลื่อนออกไปหลังเกิดความรุนแรงในเขตบาสซาอีกระลอกไม่นานที่ผ่านมา

ในบรรดาผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แมคเคนสนับสนุนนโยบายคงกำลังทหารสหรัฐฯ ในอิรัก ขณะที่ฮิลลารีและโอบามาเรียกร้องให้ถอนกำลังออกมา
กำลังโหลดความคิดเห็น