Anti-Chinese cracks in Philippines rice bowls
By Donald Kirk
2/04/2008
ราคาข้าวที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในฟิลิปปินส์ กำลังเสริมส่งความเชื่อซึ่งแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศนี้ ที่ว่าพวกเศรษฐีใหญ่ค้าข้าวชาวฟิลิปปินส์เชื้อจีน กำลังกักตุนสินค้าเอาไว้ตามโกดังลับต่างๆ ทั่วประเทศ ถึงแม้รัฐบาลออกมาให้สัญญาที่จะ “เล่นงานพวกกักตุนเก็งกำไร” ทว่าประเด็นนี้ก็ยังคงโลดแล่นไปในความรู้สึกต่อต้านคนจีนอันล้ำลึกของประชาชนจำนวนมาก ผู้ซึ่งเชื่ออย่างฝังหัวว่า “คนจีนรวยๆ” คือพวกที่กำลังครอบงำทุกๆ พื้นที่ของภาคธุรกิจและการเงิน
มะนิลา – หากยิงคำถามใส่ผู้หญิงคนที่มีชื่อ คอรา ว่าทำไมเดี๋ยวนี้เธอจึงต้องใช้เวลามากมายเหลือเกินในการหาข้าวมาไว้ใช้ในแผงขายอาหารของเธอตลอดจนให้ครอบครัวของเธอเองได้รับประทาน เธอก็จะโต้กลับมาอย่างรวดเร็วด้วยคำตอบแบบอ้างอิงเชื้อชาติ “ก็พวกคนจีนน่ะแหละเป็นตัวการ” เธอบอกอย่างไม่มีลังเล “พวกเขาเป็นตัวการของเรื่องพวกนี้ทั้งหมดเลย พวกเขาคือเหล่านายทุนแห่งฟิลิปปินส์”
ขณะตระเวนหาซื้อของราคาต่ำที่สุดในตลาดแบบดั้งเดิมแห่งหนึ่งของกรุงมะนิลา คอรากล่าวประณาม “พวกคนเจ็ดชื่อ” ซึ่งเป็นชื่อพ่อค้าชาวฟิลิปปินส์เชื้อจีนที่ถูกกล่าวหากันอย่างกว้างขวางว่ากำลังกักตุนข้าวเพื่อดันให้ราคาพุ่งลิ่ว จะได้ตักตวงกำไรมากขึ้นๆ
“พวกเขากำลังพยายามขายข้าวให้ได้ราคาสูงที่สุด” เธอกล่าว ถึงแม้รัฐบาลของประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ให้สัญญาที่จะปราบปรามการกักตุนสินค้า ด้วยความหวังที่จะขจัดปัดเป่าทั้งภาวะขาดแคลนข้าวที่ทำท่าใกล้จะเกิดขึ้นในประเทศซึ่งเวลานี้มีประชาชนหลามล้นเพิ่มเป็น 90 ล้านคนแล้ว และทั้งปัญหาความตึงเครียดทางเชื้อชาติ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การต่อต้านคนกลุ่มน้อยที่เป็นชนชั้นพ่อค้าเชื้อจีน
อย่างไรก็ตาม การตรวจค้นโดยหน่วยงานของทางการอย่างเช่น สำนักงานการสืบสวนสอบสวนแห่งชาติ, องค์การอาหารแห่งชาติ, และ คณะทำงานของประธานาธิบดีเพื่อต่อต้านการลักลอบค้าของเถื่อน ดูจะแค่สามารถสร้างรอยขีดข่วนนิดๆ หน่อยๆ ให้แก่เปลือกนอกของสิ่งที่กำลังกลายเป็นปัญหาตลอดกาลของประเทศนี้ สำหรับชาวฟิลิปปินส์แล้ว ข้าวเป็นอาหารพื้นฐานที่รับประทานกันวันละ 3 มื้อ นั่นคือจะต้องหมดเปลืองไปวันละ 3 ครั้ง แต่แน่นอนละ นี่หมายถึงสำหรับคนซึ่งมีเงินทองเพียงพอที่จะซื้อหามา
หลังจากค้นพบสิ่งที่ตามรายงานข่าวบอกว่าเป็น “ข้าวสารหลายพันกระสอบ” ตามโกดังต่างๆ กว่า 100 แห่งในจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เจ้าหน้าที่ระดับสูงในฝ่ายข่าวกรองผู้หนึ่งของสำนักงานการสืบสวนสอบสวนแห่งชาติก็สารภาพว่า คนของเขาไม่ได้มีหมายค้น และเพียงแค่ “ศึกษาดูอย่างระมัดระวัง” ให้ชัดๆ ว่า “มีการกระทำความผิดหรือเปล่า”
กลโกงอย่างหนึ่งที่พวกพ่อค้าข้าวนิยมทำกันก็คือ การแอบนำเอาข้าวกระสอบละ 50 กิโลกรัมที่รัฐบาลนำไปจำหน่ายตามพื้นที่ยากจนด้วยราคาแค่เกือบๆ ครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 เปโซ หรือ 0.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาจัดการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เสียใหม่แล้วเอาออกขายในราคาตลาด ทางฝ่ายสอบสวนค้นพบโกดังที่เข้าข่ายจะมีการทุจริตเช่นนี้เพียงรายเดียว ซึ่งก็คือแทบจะเท่ากับศูนย์ เมื่อเปรียบเทียบกับโกดังจำนวนหลายสิบแห่งที่เชื่อกันว่าพัวพันกับการคดโกงลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ
จากการที่คะแนนความนิยมในตัวเธอกำลังดำดิ่งลงมาเหลือประมาณ 23% ตามผลโพลของพัลซ์เอเชีย สิ่งที่อาร์โรโยหวาดกลัวมากที่สุดจึงเป็นเรื่องการเกิดภาวะอดอยากในหมู่ประชาชนซึ่งถูกจัดว่ามีฐานะยากจน หรือก็คือราวหนึ่งในสามของประชากรทีเดียว โดยคนเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตด้วยเงินรายได้ไม่ถึง 80 เปโซต่อวัน
เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ฟิลิปปินส์ไม่มีข้าวเพียงพอบริโภคมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ทั้งๆ ที่มี “การปฏิวัติเขียว” ในด้านการผลิตข้าว โดยวางแผนดำเนินการกันที่สถาบันข้าวอันมีชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ณ ลอสบานอส นี่เอง ผู้ชำนาญการบางคนบอกว่า “ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์” ซึ่งคิดค้นกันขึ้นมาและคุยโอ่อวดกันนักหนาเมื่อ 40 ปีก่อน เอาเข้าจริงแล้วก็มีความทนทานต่ำกว่าพันธุ์ข้าวดั้งเดิมเป็นอันมาก โดยอ่อนแอกว่าเยอะเมื่อเผชิญภาวะแห้งแล้ง ตลอดจนภาวะความเสียหายของสิ่งแวดล้อมจากมลพิษซึ่งเพิ่มขึ้นในท่ามกลางจำนวนประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
การมีข้าวไม่เพียงพอบริโภคเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่าง 20 ปีแห่งการปกครองของ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้สามารถเอาชนะบิดาของอาร์โรโย นั่นคือ ดิออสดาโด มาคาปากัล ซึ่งเวลานั้นเป็นประธานาธิบดีอยู่ เมื่อปี 1965 จากนั้นก็ดำเนินการด้วยความรวดเร็วในการคัดสรร “พวกพ้อง” ไม่กี่คนให้เข้ารับผิดชอบภาคส่วนสำคัญๆ ของเศรษฐกิจ แน่นอนว่าบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด ต่างเป็นคนเชื้อจีนหรือมีบรรพบุรุษซึ่งมีเชื้อจีนผสม โดยบุคลที่ขึ้นชื่อกว่าเพื่อนก็มีอาทิ เอดูอาร์โด “ดันดิง” โคฮวงโก ราชามะพร้าว และ โรแบร์โต เบเนดิกโต ราชาน้ำตาล
อย่างไรก็ตาม “การรุกราน”ของคนจีนสามารถย้อนหลังกลับไปไกลกว่านั้นหลายศตวรรษ ไปจนถึงยุคสมัยเมื่อครั้งคนจีนที่มักยากจน และส่วนใหญ่มาจากบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เริ่มเดินทางมาที่ฟิลิปปินส์เพื่อเสาะแสวงหางาน, การค้า, และเงินทอง บ่อยครั้งที่พวกเขาจะร่วมมือเป็นกลุ่มผลประโยชน์กับชาวสเปน ผู้ซึ่งปกครองฟิลิปปินส์มายาวนานกว่า 300 ปี จวบจนกระทั่งคนอเมริกันขับไล่พวกเขาออกไปในปี 1898 แต่หลังจากนั้น คนอเมริกันที่ก้าวเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมแทนที่ ก็ยังคงสนับสนุนสืบเนื่องความสัมพันธ์อันแสนสุโขอย่างเดียวกันนั้น กับเหล่าผู้นำในชนชั้นปกครองซึ่งก็ยังคงครอบงำโดยชาวฟิลิปปินส์มั่งคั่งหน้าเดิมๆ ที่มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนและคนสเปน
ในสิ่งแวดล้อมอันสะดวกสบายเช่นนี้เองที่คนจีนค่อยๆ กลายเป็นเจ้านายผู้ควบคุมเศรษฐกิจ อิทธิพลของพวกเขามีมากมายถึงขนาดที่กฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของถือครองอสังหาริมทรัพย์ในฟิลิปปินส์นั้น แท้ที่จริงมุ่งหมายที่จะใช้กับคนจีนผู้แกร่งกร้าวมากกว่าจะใช้กับคนต่างชาติจากที่อื่นๆ “ถ้าไม่มีกฎหมายฉบับนั้น พวกเราก็คงได้เห็นคนจีนเป็นเจ้าของร้านค้าและบ้านเรือนทั้งหมดในทุกหนทุกแห่ง” ชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งวาดภาพเปรียบเปรย
เรื่องการค้าข้าวก็เหมือนกัน คนจีนเป็นผู้ควบคุมมาตั้งแต่ยุคสเปนปกครองแล้ว และพยายามที่จะเกาะกุมให้แน่นหนาขึ้นอีกตอนที่มาร์กอสขึ้นสู่อำนาจ การที่คนจีนคุมการค้าข้าวทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าหมายการก่อกบฎของพวกฝ่ายซ้ายไปด้วย ดังเห็นได้จากเหตุโจมตีตอนสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อพวกจรยุทธ์จากกองทัพประชาชนใหม่ของคอมมิวนิสต์ จุดไฟเผารถบรรทุก 2 คันและร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นของพ่อค้าข้าวชั้นนำบนเกาะปาไนย์
รัฐบาลกำลังหวาดกลัวว่าความรุนแรงจะแผ่ขยายถ้าหากผู้คนนับล้านๆ ต้องท้องหิวไม่มีอะไรจะกิน เพื่อบรรเทาภัยคุกคามอันนี้ เมื่อไม่นานมานี้เองรัฐบาลฟิลิปปินส์จึงต้องไปลงนามทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อนำเข้าข้าวจำนวน 1.5 ล้านตันจากเวียดนาม ประเทศผู้ส่งออกที่ก็ได้ไปทำข้อตกลงผูกพันส่งข้าวให้แก่จีนและอื่นๆ อีก กระนั้นก็ตาม ข้าวเหล่านี้ยังไม่เพียงพอครอบคลุมความต้องการนำเข้าทั้งหมดซึ่งจะอยู่ในปริมาณมากกว่า 2 ล้านตัน และกำลังทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นชาตินำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก
ทัศนะซึ่งแพร่กระจายออกไปกว้างขวางมาก ในเรื่องที่ว่าพวกพ่อค้าชาวจีน อันรู้กันดีว่าเป็นผู้ควบคุมการนำเข้าและการจัดจำหน่ายข้าว กำลังพากันกักตุนสินค้ากันนั้น เข้ากันได้เป็นอันดีกับอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านคนจีนที่แฝงฝังอยู่ล้ำลึกสุด ในประเทศซึ่งเป็นที่รับรู้เข้าใจกันในหมู่ชาวบ้านร้านถิ่นว่า “คนจีนรวยๆ” คือ พวกที่กำลังครอบงำภาคธุรกิจและการเงินชนิดที่เรียกว่าทุกพื้นที่ปริมณฑลเลยก็ว่าได้
ทัศนะอันเก่าแก่หลายชั่วอายุคนเช่นนี้ เข้ายึดครองหัวจิตหัวใจแห่งปมซับซ้อนเชิงจิตวิทยาของบรรดาชาวฟิลิปปินส์ผู้ถูกกดขี จนพวกเขาโน้มเอียงที่จะประณาม “คนจีน” ว่าเป็นตัวการของปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่พวกเขาเผชิญอยู่ไม่ว่าในทางอาชีพหรือในทางเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงที่ว่ามีชาวฟิลิปปินส์เป็นล้านๆ ซึ่งมีเลือดจีนผสมอยู่ตรงไหนสักแห่งในวงศ์วารบรรพบุรุษใกล้หรือไกลของพวกเขานั้น แทบไม่ได้ยับยั้งไม่ให้พวกเขาสรุปตัดสินคนซึ่งดูจะเข้าข่ายระบุชี้ตัวกันได้ง่ายหน่อยว่าเป็นคนจีน โดยเฉพาะการดูจากนามสกุลที่ทราบกันดีว่ามักมีเสียงแค่พยางเดียว ตลอดจนในหมู่พวกซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์การค้าอันโอฬาร, โรงแรม, สายการบิน, และธุรกิจใหญ่ๆ อื่นๆ
เช่นนี้เองที่ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อาร์เธอร์ ยัป ถูกมองถูกเข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่ากำลังทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนจีน ถึงแม้อาร์โรโยจะ “ออกคำสั่ง” ให้เขาเข้าไปสืบสวนสอบสวนพวกโกดังข้าว, เพิกถอนอภิสิทธิ์ต่างๆ ของพ่อค้า, รวมทั้งให้สอดส่องติดตามพวกรถบรรทุกที่ขนข้าวในทั่วประเทศ “เขาจะเป็นคนเล่นงานพวกกักตุน” นี่คือคำพูดของอาร์โรโย ซึ่งไม่ได้พาดพิงมุ่งหมายเป็นพิเศษว่านักกักตุนพวกนี้เป็นพวกเชื้อชาติอะไร
อย่างไรก็ดี ยัปก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย จากการไปพูดแนะนำชาวฟิลิปปินส์ผู้หิวโหยให้รับประทานข้าวให้น้อยลง คนฟิลิปปินส์จำนวนมากเลย “ไม่ได้รับประทานข้าวให้หมดจาน” เขาตั้งข้อสังเกต พร้อมกับแนะนำพวกร้านฟาสต์ฟู้ดทั้งหลายให้ขายอาหารที่มีปริมาณครึ่งเดียวของระดับปกติ เขาบอกว่าถ้าประชาชนรับประทานข้าวกันน้อยลงหน่อย ประเทศชาติก็จะอาจลดการนำเข้าข้าวลงได้ถึง 37%ทีเดียว นั่นคือ จากระดับ 1.87 ล้านตันในปีที่แล้ว เหลือสัก 1.17 ล้านตันในปีนี้
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว คำพูดแบบไม่คิดให้ดีเสียก่อนของยัป ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันทีจากเหล่านักการเมือง ซึ่งมองเห็นว่าวิกฤตข้าวเป็นเรื่องร้ายแรงเสียยิ่งกว่ากรณีอื้อฉาวพาดหัวตัวไม้ที่สามีของอาร์โรโยและคนอื่นๆ ถูกกล่าวหาว่า จ่ายสินบนเพื่อคบคิดกันชักเปอร์เซ็นต์จากสัญญาสัมปทานต่างๆ รวมทั้งรายที่เป็นสัญญาสัมปทานวางเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานโทรศัพท์ระบบบรอดแบนด์ ซึ่งบริษัทจีนแห่งหนึ่งเสนอเข้ามา โดยมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ทีเดียว
ประธานวุฒิสภา มานูเอล วิลลาร์ กล่าวหารัฐบาลว่าดำเนินการอย่างล่าช้าและไร้ประสิทธิภาพ ในการติดตามปราบปราม “กลุ่มผูกขาดข้าว” เขาบอกว่ารัฐบาลยังล้มเหลวในการประสานงานเพื่อสอบสวนบรรดากลโกงในการค้ากำไรเกินควรจากปุ๋ย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปลูกข้าว “การทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคนยากคนจน เป็นสิ่งซึ่งจะต้องไม่ยอมปล่อยปละผ่อนผันให้กันเลย” เขากล่าว
คนฟิลิปปินส์ซึ่งคุ้นชินกับการพบเห็นคนฟิลิปปินส์ชนชั้นกลางและพวกมั่งคั่งร่ำรวยพากันไปสำเริงสำราญตามภัตตาคารซึ่งราคาแพงเกินกว่าที่พลเมืองส่วนมากจะไปใช้บริการไหว พากันคับข้องใจและตำหนิยัปว่า คงไม่เคยไปดูตามชุมชนแออัดในเมืองและเขตยากจนในชนบทจำนวนมากมายซึ่งเป็นที่พำนักอาศัยของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ณ แผงขายอาหารของเธอในย่านชานเมืองแห่งหนึ่งของกรุงมะนิลา คอรามีความคิดความเห็นที่ง่ายๆ ยิ่งกว่านั้นอีก ในเรื่องที่ยัปอ้างว่ายินดีเต็มใจที่จะไปปราบปรามพวกกักตุน
“ตัวเขาเองก็เป็นนักธุรกิจคนจีนอยู่แล้ว” เธอกล่าว “มีแต่อาร์โรโยเท่านั้นแหละที่ไว้เนื้อเชื่อใจเขา เขากำลังทำงานให้คนจีน ใครๆ ก็พูดกันอย่างนี้ทั้งนั้น” อันที่จริงก็มีรายงานข่าวว่า ยัปเป็นบุตรเขยของพ่อค้าข้าวชั้นนำคนหนึ่งของประเทศ ข้อเท็จจริงนี้ยิ่งกระตุ้นให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อึงคะนึงขึ้นอีกในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ ผู้เผชิญกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนแบบนี้มาเนิ่นนานแล้ว
สำหรับเรื่องที่ยัปเสนอแนะให้ร้านอาหารต่างๆ ทำอาหารครึ่งจานออกมาขายนั้น คอราตอบโต้ด้วยอาการสร้อยเศร้า “คนฟิลิปปินส์น่ะอยู่ได้ก็เพราะข้าวนะ” เธอพูดเหน็บแนมข้อสังเกตของเขาที่ว่าคนจำนวนมากรับประทานข้าวไม่หมดจาน และชี้ว่าเห็นชัดเหลือเกินว่านี่ไม่ได้เป็นการพูดถึงการรับประทานอาหารที่คนฟิลิปปินส์ทั่วๆ ไปกินกันหรอก
อาร์โรโยซึ่งกำลังเยือนฮ่องกงเพื่อเสาะแสวงหาการลงทุนจากคนจีนให้มากขึ้น กล่าวว่าเธอหวังที่จะเพิ่มการผลิตข้าวให้สูงขึ้นได้ถึง 7% ในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลลงทุนมากขึ้นทั้งในเรื่องเครื่องจักรอุปกรณ์ทางชลประทาน, การวิจัยพัฒนา, และพันธุ์ข้าว รัฐบาลยังอาจจะลดภาษีนำเข้าข้าวที่คิดในอัตรา 50% สำหรับข้าวนำเข้าโดยภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม คอราไม่ได้ศรัทธาเชื่อถืออะไรนักต่อคำมั่นสัญญาของรัฐบาล “พวกคนจีนกำลังกว้านซื้อโครงการต่างๆ กันแล้ว” เธอบอก “พวกเขากำลังทำเงินจากประเทศนี้ แล้วก็เอาเงินทองไปใช้จ่ายกันนอกประเทศ”
เธอกล่าวว่า ลงท้ายแล้วมีแต่คนฟิลิปปินส์ราวๆ 10 ล้านคนที่กำลังทำงานอยู่ในต่างแดน และคอยส่งเงินทองที่หามาได้กลับมาบ้านนั่นแหละ คือผู้ที่ช่วยเหลือกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง “พวกเขาทำให้พวกเรามีชีวิตรอดอยู่ได้” เธอบอก “พวกคนจีนมีแต่คอยขูดรีดเราเหมือนอย่างที่เคยทำมานั่นแหละ”
โดนัลด์ เคิร์ก เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งไปเยือนฟิลิปปินส์เป็นประจำ และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Philippines in Crisis: US Power Versus Local Revolt และ Looted: The Philippines after the Bases
By Donald Kirk
2/04/2008
ราคาข้าวที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในฟิลิปปินส์ กำลังเสริมส่งความเชื่อซึ่งแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศนี้ ที่ว่าพวกเศรษฐีใหญ่ค้าข้าวชาวฟิลิปปินส์เชื้อจีน กำลังกักตุนสินค้าเอาไว้ตามโกดังลับต่างๆ ทั่วประเทศ ถึงแม้รัฐบาลออกมาให้สัญญาที่จะ “เล่นงานพวกกักตุนเก็งกำไร” ทว่าประเด็นนี้ก็ยังคงโลดแล่นไปในความรู้สึกต่อต้านคนจีนอันล้ำลึกของประชาชนจำนวนมาก ผู้ซึ่งเชื่ออย่างฝังหัวว่า “คนจีนรวยๆ” คือพวกที่กำลังครอบงำทุกๆ พื้นที่ของภาคธุรกิจและการเงิน
มะนิลา – หากยิงคำถามใส่ผู้หญิงคนที่มีชื่อ คอรา ว่าทำไมเดี๋ยวนี้เธอจึงต้องใช้เวลามากมายเหลือเกินในการหาข้าวมาไว้ใช้ในแผงขายอาหารของเธอตลอดจนให้ครอบครัวของเธอเองได้รับประทาน เธอก็จะโต้กลับมาอย่างรวดเร็วด้วยคำตอบแบบอ้างอิงเชื้อชาติ “ก็พวกคนจีนน่ะแหละเป็นตัวการ” เธอบอกอย่างไม่มีลังเล “พวกเขาเป็นตัวการของเรื่องพวกนี้ทั้งหมดเลย พวกเขาคือเหล่านายทุนแห่งฟิลิปปินส์”
ขณะตระเวนหาซื้อของราคาต่ำที่สุดในตลาดแบบดั้งเดิมแห่งหนึ่งของกรุงมะนิลา คอรากล่าวประณาม “พวกคนเจ็ดชื่อ” ซึ่งเป็นชื่อพ่อค้าชาวฟิลิปปินส์เชื้อจีนที่ถูกกล่าวหากันอย่างกว้างขวางว่ากำลังกักตุนข้าวเพื่อดันให้ราคาพุ่งลิ่ว จะได้ตักตวงกำไรมากขึ้นๆ
“พวกเขากำลังพยายามขายข้าวให้ได้ราคาสูงที่สุด” เธอกล่าว ถึงแม้รัฐบาลของประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ให้สัญญาที่จะปราบปรามการกักตุนสินค้า ด้วยความหวังที่จะขจัดปัดเป่าทั้งภาวะขาดแคลนข้าวที่ทำท่าใกล้จะเกิดขึ้นในประเทศซึ่งเวลานี้มีประชาชนหลามล้นเพิ่มเป็น 90 ล้านคนแล้ว และทั้งปัญหาความตึงเครียดทางเชื้อชาติ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การต่อต้านคนกลุ่มน้อยที่เป็นชนชั้นพ่อค้าเชื้อจีน
อย่างไรก็ตาม การตรวจค้นโดยหน่วยงานของทางการอย่างเช่น สำนักงานการสืบสวนสอบสวนแห่งชาติ, องค์การอาหารแห่งชาติ, และ คณะทำงานของประธานาธิบดีเพื่อต่อต้านการลักลอบค้าของเถื่อน ดูจะแค่สามารถสร้างรอยขีดข่วนนิดๆ หน่อยๆ ให้แก่เปลือกนอกของสิ่งที่กำลังกลายเป็นปัญหาตลอดกาลของประเทศนี้ สำหรับชาวฟิลิปปินส์แล้ว ข้าวเป็นอาหารพื้นฐานที่รับประทานกันวันละ 3 มื้อ นั่นคือจะต้องหมดเปลืองไปวันละ 3 ครั้ง แต่แน่นอนละ นี่หมายถึงสำหรับคนซึ่งมีเงินทองเพียงพอที่จะซื้อหามา
หลังจากค้นพบสิ่งที่ตามรายงานข่าวบอกว่าเป็น “ข้าวสารหลายพันกระสอบ” ตามโกดังต่างๆ กว่า 100 แห่งในจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลา เจ้าหน้าที่ระดับสูงในฝ่ายข่าวกรองผู้หนึ่งของสำนักงานการสืบสวนสอบสวนแห่งชาติก็สารภาพว่า คนของเขาไม่ได้มีหมายค้น และเพียงแค่ “ศึกษาดูอย่างระมัดระวัง” ให้ชัดๆ ว่า “มีการกระทำความผิดหรือเปล่า”
กลโกงอย่างหนึ่งที่พวกพ่อค้าข้าวนิยมทำกันก็คือ การแอบนำเอาข้าวกระสอบละ 50 กิโลกรัมที่รัฐบาลนำไปจำหน่ายตามพื้นที่ยากจนด้วยราคาแค่เกือบๆ ครึ่งหนึ่งของราคาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 เปโซ หรือ 0.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาจัดการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เสียใหม่แล้วเอาออกขายในราคาตลาด ทางฝ่ายสอบสวนค้นพบโกดังที่เข้าข่ายจะมีการทุจริตเช่นนี้เพียงรายเดียว ซึ่งก็คือแทบจะเท่ากับศูนย์ เมื่อเปรียบเทียบกับโกดังจำนวนหลายสิบแห่งที่เชื่อกันว่าพัวพันกับการคดโกงลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ
จากการที่คะแนนความนิยมในตัวเธอกำลังดำดิ่งลงมาเหลือประมาณ 23% ตามผลโพลของพัลซ์เอเชีย สิ่งที่อาร์โรโยหวาดกลัวมากที่สุดจึงเป็นเรื่องการเกิดภาวะอดอยากในหมู่ประชาชนซึ่งถูกจัดว่ามีฐานะยากจน หรือก็คือราวหนึ่งในสามของประชากรทีเดียว โดยคนเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตด้วยเงินรายได้ไม่ถึง 80 เปโซต่อวัน
เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ฟิลิปปินส์ไม่มีข้าวเพียงพอบริโภคมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ทั้งๆ ที่มี “การปฏิวัติเขียว” ในด้านการผลิตข้าว โดยวางแผนดำเนินการกันที่สถาบันข้าวอันมีชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ณ ลอสบานอส นี่เอง ผู้ชำนาญการบางคนบอกว่า “ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์” ซึ่งคิดค้นกันขึ้นมาและคุยโอ่อวดกันนักหนาเมื่อ 40 ปีก่อน เอาเข้าจริงแล้วก็มีความทนทานต่ำกว่าพันธุ์ข้าวดั้งเดิมเป็นอันมาก โดยอ่อนแอกว่าเยอะเมื่อเผชิญภาวะแห้งแล้ง ตลอดจนภาวะความเสียหายของสิ่งแวดล้อมจากมลพิษซึ่งเพิ่มขึ้นในท่ามกลางจำนวนประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
การมีข้าวไม่เพียงพอบริโภคเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่าง 20 ปีแห่งการปกครองของ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้สามารถเอาชนะบิดาของอาร์โรโย นั่นคือ ดิออสดาโด มาคาปากัล ซึ่งเวลานั้นเป็นประธานาธิบดีอยู่ เมื่อปี 1965 จากนั้นก็ดำเนินการด้วยความรวดเร็วในการคัดสรร “พวกพ้อง” ไม่กี่คนให้เข้ารับผิดชอบภาคส่วนสำคัญๆ ของเศรษฐกิจ แน่นอนว่าบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด ต่างเป็นคนเชื้อจีนหรือมีบรรพบุรุษซึ่งมีเชื้อจีนผสม โดยบุคลที่ขึ้นชื่อกว่าเพื่อนก็มีอาทิ เอดูอาร์โด “ดันดิง” โคฮวงโก ราชามะพร้าว และ โรแบร์โต เบเนดิกโต ราชาน้ำตาล
อย่างไรก็ตาม “การรุกราน”ของคนจีนสามารถย้อนหลังกลับไปไกลกว่านั้นหลายศตวรรษ ไปจนถึงยุคสมัยเมื่อครั้งคนจีนที่มักยากจน และส่วนใหญ่มาจากบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เริ่มเดินทางมาที่ฟิลิปปินส์เพื่อเสาะแสวงหางาน, การค้า, และเงินทอง บ่อยครั้งที่พวกเขาจะร่วมมือเป็นกลุ่มผลประโยชน์กับชาวสเปน ผู้ซึ่งปกครองฟิลิปปินส์มายาวนานกว่า 300 ปี จวบจนกระทั่งคนอเมริกันขับไล่พวกเขาออกไปในปี 1898 แต่หลังจากนั้น คนอเมริกันที่ก้าวเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมแทนที่ ก็ยังคงสนับสนุนสืบเนื่องความสัมพันธ์อันแสนสุโขอย่างเดียวกันนั้น กับเหล่าผู้นำในชนชั้นปกครองซึ่งก็ยังคงครอบงำโดยชาวฟิลิปปินส์มั่งคั่งหน้าเดิมๆ ที่มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนและคนสเปน
ในสิ่งแวดล้อมอันสะดวกสบายเช่นนี้เองที่คนจีนค่อยๆ กลายเป็นเจ้านายผู้ควบคุมเศรษฐกิจ อิทธิพลของพวกเขามีมากมายถึงขนาดที่กฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของถือครองอสังหาริมทรัพย์ในฟิลิปปินส์นั้น แท้ที่จริงมุ่งหมายที่จะใช้กับคนจีนผู้แกร่งกร้าวมากกว่าจะใช้กับคนต่างชาติจากที่อื่นๆ “ถ้าไม่มีกฎหมายฉบับนั้น พวกเราก็คงได้เห็นคนจีนเป็นเจ้าของร้านค้าและบ้านเรือนทั้งหมดในทุกหนทุกแห่ง” ชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งวาดภาพเปรียบเปรย
เรื่องการค้าข้าวก็เหมือนกัน คนจีนเป็นผู้ควบคุมมาตั้งแต่ยุคสเปนปกครองแล้ว และพยายามที่จะเกาะกุมให้แน่นหนาขึ้นอีกตอนที่มาร์กอสขึ้นสู่อำนาจ การที่คนจีนคุมการค้าข้าวทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าหมายการก่อกบฎของพวกฝ่ายซ้ายไปด้วย ดังเห็นได้จากเหตุโจมตีตอนสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อพวกจรยุทธ์จากกองทัพประชาชนใหม่ของคอมมิวนิสต์ จุดไฟเผารถบรรทุก 2 คันและร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นของพ่อค้าข้าวชั้นนำบนเกาะปาไนย์
รัฐบาลกำลังหวาดกลัวว่าความรุนแรงจะแผ่ขยายถ้าหากผู้คนนับล้านๆ ต้องท้องหิวไม่มีอะไรจะกิน เพื่อบรรเทาภัยคุกคามอันนี้ เมื่อไม่นานมานี้เองรัฐบาลฟิลิปปินส์จึงต้องไปลงนามทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อนำเข้าข้าวจำนวน 1.5 ล้านตันจากเวียดนาม ประเทศผู้ส่งออกที่ก็ได้ไปทำข้อตกลงผูกพันส่งข้าวให้แก่จีนและอื่นๆ อีก กระนั้นก็ตาม ข้าวเหล่านี้ยังไม่เพียงพอครอบคลุมความต้องการนำเข้าทั้งหมดซึ่งจะอยู่ในปริมาณมากกว่า 2 ล้านตัน และกำลังทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นชาตินำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก
ทัศนะซึ่งแพร่กระจายออกไปกว้างขวางมาก ในเรื่องที่ว่าพวกพ่อค้าชาวจีน อันรู้กันดีว่าเป็นผู้ควบคุมการนำเข้าและการจัดจำหน่ายข้าว กำลังพากันกักตุนสินค้ากันนั้น เข้ากันได้เป็นอันดีกับอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านคนจีนที่แฝงฝังอยู่ล้ำลึกสุด ในประเทศซึ่งเป็นที่รับรู้เข้าใจกันในหมู่ชาวบ้านร้านถิ่นว่า “คนจีนรวยๆ” คือ พวกที่กำลังครอบงำภาคธุรกิจและการเงินชนิดที่เรียกว่าทุกพื้นที่ปริมณฑลเลยก็ว่าได้
ทัศนะอันเก่าแก่หลายชั่วอายุคนเช่นนี้ เข้ายึดครองหัวจิตหัวใจแห่งปมซับซ้อนเชิงจิตวิทยาของบรรดาชาวฟิลิปปินส์ผู้ถูกกดขี จนพวกเขาโน้มเอียงที่จะประณาม “คนจีน” ว่าเป็นตัวการของปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่พวกเขาเผชิญอยู่ไม่ว่าในทางอาชีพหรือในทางเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงที่ว่ามีชาวฟิลิปปินส์เป็นล้านๆ ซึ่งมีเลือดจีนผสมอยู่ตรงไหนสักแห่งในวงศ์วารบรรพบุรุษใกล้หรือไกลของพวกเขานั้น แทบไม่ได้ยับยั้งไม่ให้พวกเขาสรุปตัดสินคนซึ่งดูจะเข้าข่ายระบุชี้ตัวกันได้ง่ายหน่อยว่าเป็นคนจีน โดยเฉพาะการดูจากนามสกุลที่ทราบกันดีว่ามักมีเสียงแค่พยางเดียว ตลอดจนในหมู่พวกซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์การค้าอันโอฬาร, โรงแรม, สายการบิน, และธุรกิจใหญ่ๆ อื่นๆ
เช่นนี้เองที่ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อาร์เธอร์ ยัป ถูกมองถูกเข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่ากำลังทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนจีน ถึงแม้อาร์โรโยจะ “ออกคำสั่ง” ให้เขาเข้าไปสืบสวนสอบสวนพวกโกดังข้าว, เพิกถอนอภิสิทธิ์ต่างๆ ของพ่อค้า, รวมทั้งให้สอดส่องติดตามพวกรถบรรทุกที่ขนข้าวในทั่วประเทศ “เขาจะเป็นคนเล่นงานพวกกักตุน” นี่คือคำพูดของอาร์โรโย ซึ่งไม่ได้พาดพิงมุ่งหมายเป็นพิเศษว่านักกักตุนพวกนี้เป็นพวกเชื้อชาติอะไร
อย่างไรก็ดี ยัปก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย จากการไปพูดแนะนำชาวฟิลิปปินส์ผู้หิวโหยให้รับประทานข้าวให้น้อยลง คนฟิลิปปินส์จำนวนมากเลย “ไม่ได้รับประทานข้าวให้หมดจาน” เขาตั้งข้อสังเกต พร้อมกับแนะนำพวกร้านฟาสต์ฟู้ดทั้งหลายให้ขายอาหารที่มีปริมาณครึ่งเดียวของระดับปกติ เขาบอกว่าถ้าประชาชนรับประทานข้าวกันน้อยลงหน่อย ประเทศชาติก็จะอาจลดการนำเข้าข้าวลงได้ถึง 37%ทีเดียว นั่นคือ จากระดับ 1.87 ล้านตันในปีที่แล้ว เหลือสัก 1.17 ล้านตันในปีนี้
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว คำพูดแบบไม่คิดให้ดีเสียก่อนของยัป ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันทีจากเหล่านักการเมือง ซึ่งมองเห็นว่าวิกฤตข้าวเป็นเรื่องร้ายแรงเสียยิ่งกว่ากรณีอื้อฉาวพาดหัวตัวไม้ที่สามีของอาร์โรโยและคนอื่นๆ ถูกกล่าวหาว่า จ่ายสินบนเพื่อคบคิดกันชักเปอร์เซ็นต์จากสัญญาสัมปทานต่างๆ รวมทั้งรายที่เป็นสัญญาสัมปทานวางเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานโทรศัพท์ระบบบรอดแบนด์ ซึ่งบริษัทจีนแห่งหนึ่งเสนอเข้ามา โดยมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ทีเดียว
ประธานวุฒิสภา มานูเอล วิลลาร์ กล่าวหารัฐบาลว่าดำเนินการอย่างล่าช้าและไร้ประสิทธิภาพ ในการติดตามปราบปราม “กลุ่มผูกขาดข้าว” เขาบอกว่ารัฐบาลยังล้มเหลวในการประสานงานเพื่อสอบสวนบรรดากลโกงในการค้ากำไรเกินควรจากปุ๋ย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปลูกข้าว “การทุจริตคอร์รัปชั่นในเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคนยากคนจน เป็นสิ่งซึ่งจะต้องไม่ยอมปล่อยปละผ่อนผันให้กันเลย” เขากล่าว
คนฟิลิปปินส์ซึ่งคุ้นชินกับการพบเห็นคนฟิลิปปินส์ชนชั้นกลางและพวกมั่งคั่งร่ำรวยพากันไปสำเริงสำราญตามภัตตาคารซึ่งราคาแพงเกินกว่าที่พลเมืองส่วนมากจะไปใช้บริการไหว พากันคับข้องใจและตำหนิยัปว่า คงไม่เคยไปดูตามชุมชนแออัดในเมืองและเขตยากจนในชนบทจำนวนมากมายซึ่งเป็นที่พำนักอาศัยของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ณ แผงขายอาหารของเธอในย่านชานเมืองแห่งหนึ่งของกรุงมะนิลา คอรามีความคิดความเห็นที่ง่ายๆ ยิ่งกว่านั้นอีก ในเรื่องที่ยัปอ้างว่ายินดีเต็มใจที่จะไปปราบปรามพวกกักตุน
“ตัวเขาเองก็เป็นนักธุรกิจคนจีนอยู่แล้ว” เธอกล่าว “มีแต่อาร์โรโยเท่านั้นแหละที่ไว้เนื้อเชื่อใจเขา เขากำลังทำงานให้คนจีน ใครๆ ก็พูดกันอย่างนี้ทั้งนั้น” อันที่จริงก็มีรายงานข่าวว่า ยัปเป็นบุตรเขยของพ่อค้าข้าวชั้นนำคนหนึ่งของประเทศ ข้อเท็จจริงนี้ยิ่งกระตุ้นให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อึงคะนึงขึ้นอีกในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ ผู้เผชิญกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนแบบนี้มาเนิ่นนานแล้ว
สำหรับเรื่องที่ยัปเสนอแนะให้ร้านอาหารต่างๆ ทำอาหารครึ่งจานออกมาขายนั้น คอราตอบโต้ด้วยอาการสร้อยเศร้า “คนฟิลิปปินส์น่ะอยู่ได้ก็เพราะข้าวนะ” เธอพูดเหน็บแนมข้อสังเกตของเขาที่ว่าคนจำนวนมากรับประทานข้าวไม่หมดจาน และชี้ว่าเห็นชัดเหลือเกินว่านี่ไม่ได้เป็นการพูดถึงการรับประทานอาหารที่คนฟิลิปปินส์ทั่วๆ ไปกินกันหรอก
อาร์โรโยซึ่งกำลังเยือนฮ่องกงเพื่อเสาะแสวงหาการลงทุนจากคนจีนให้มากขึ้น กล่าวว่าเธอหวังที่จะเพิ่มการผลิตข้าวให้สูงขึ้นได้ถึง 7% ในปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลลงทุนมากขึ้นทั้งในเรื่องเครื่องจักรอุปกรณ์ทางชลประทาน, การวิจัยพัฒนา, และพันธุ์ข้าว รัฐบาลยังอาจจะลดภาษีนำเข้าข้าวที่คิดในอัตรา 50% สำหรับข้าวนำเข้าโดยภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม คอราไม่ได้ศรัทธาเชื่อถืออะไรนักต่อคำมั่นสัญญาของรัฐบาล “พวกคนจีนกำลังกว้านซื้อโครงการต่างๆ กันแล้ว” เธอบอก “พวกเขากำลังทำเงินจากประเทศนี้ แล้วก็เอาเงินทองไปใช้จ่ายกันนอกประเทศ”
เธอกล่าวว่า ลงท้ายแล้วมีแต่คนฟิลิปปินส์ราวๆ 10 ล้านคนที่กำลังทำงานอยู่ในต่างแดน และคอยส่งเงินทองที่หามาได้กลับมาบ้านนั่นแหละ คือผู้ที่ช่วยเหลือกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง “พวกเขาทำให้พวกเรามีชีวิตรอดอยู่ได้” เธอบอก “พวกคนจีนมีแต่คอยขูดรีดเราเหมือนอย่างที่เคยทำมานั่นแหละ”
โดนัลด์ เคิร์ก เป็นนักหนังสือพิมพ์ซึ่งไปเยือนฟิลิปปินส์เป็นประจำ และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Philippines in Crisis: US Power Versus Local Revolt และ Looted: The Philippines after the Bases