เอเจนซี - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เบน เบอร์นันกี กล่าวในวันพฤหัสบดี(28)ว่า อเมริกาจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องประสบภาวะ "stagflation" แบบในยุคทศวรรษ 1970 แต่เขาก็ยอมรับว่า แรงกดดันของระดับราคาที่พุ่งทะยานทั่วโลก ทำให้เฟดต้องลำบากยุ่งยากมากขึ้นในความพยายามที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้เติบโต นอกจากนั้น เบอร์นันกียังเอ่ยด้วยว่าคงจะมีธนาคารเล็กๆ บางแห่งต้องล้มไป จากภาวะสินเชื่อตึงตัวสืบเนื่องจากการทรุดฮวบของภาคที่อยู่อาศัย
"ผมไม่คาดหมายหรอกว่าจะเกิด stagflation" เบอร์นันกีกล่าว เมื่อถูกถามในระหว่างไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา เนื่องในโอกาสการแถลงภาวะเศรษฐกิจรอบครึ่งปีต่อรัฐสภา "ผมไม่คิดว่าเรากำลังเข้าไปใกล้ตรงไหนเลยกับสถานการณ์ที่บังเกิดขึ้นในทศวรรษ 1970 ผมคาดหมายด้วยซ้ำว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดต่ำลงมา" ภาวะ stagflation ซึ่งประธานเฟดกล่าวถึงนั้น คือการที่เศรษฐกิจเจอทั้งปัญหาอัตราเจริญเติบโตชะงักงัน และทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ขึ้นสูง
ในการแถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันที่สองของการให้ปากคำ หลังจากไปแถลงต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ (27) เบอร์นันกี ย้ำว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในปัจจุบัน มีสาเหตุจากการที่ทั่วโลกต้องการใช้น้ำมัน โลหะ และอาหาร กันเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ แม้ต่อไปยังจะสูงอยู่ ทว่าน่าที่จะมีเสถียรภาพในระยะไม่กี่เดือนต่อจากนี้ไป
"หากเป็นเช่นนั้นจริง อัตราเงินเฟ้อก็ควรจะลดต่ำลง และเมื่อเป็นดังนั้น เราก็จะมีความสามารถที่จะตอบโต้ต่อภาวะที่ทั้งเกิดการชะลอตัวในอัตราเจริญเติบโต และทั้งมีปัญหาสำคัญในตลาดการเงิน" เขากล่าวต่อ
แต่เขาก็ยอมรับว่า แรงกดดันด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังละลิ่วลอยฟ่อง ในเวลาที่ราคาบ้านในสหรัฐฯกลับกำลังทรุดตัว ทำให้งานของเฟดในการพยุงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกันเอาไว้ ต้องประสบความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตอนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งสุดท้ายในปี 2001
"เราเจอแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในตอนนี้ ที่มีขนาดใหญ่โตกว่าที่เราเคยเจอในปี 2001" เบอร์นันกีบอก "ผมคิดว่าเป็นความจริงที่ทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ต่างก็ต้องเผชิญกับความจำกัดเพิ่มมากขึ้นในบางระดับ"
อย่างไรก็ตาม เบอร์นันกีกล่าวย้ำสิ่งที่เขาแถลงไว้กับทางสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ นั่นคือ ปัญหาหลักอยู่ที่ความเสี่ยงขาลงที่มีต่ออัตราเติบโต และเฟดจะลงมือปฏิบัติการอย่างทันเวลาตามที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโต
เขายังบอกด้วยว่า ธนาคารอเมริกันขนาดเล็กๆ บางแห่งคงต้องล้มไป เนื่องจากความตึงตัวทางการเงินอันเกิดขึ้นจากปัญหาสาหัสของตลาดที่อยู่อาศัย ถึงแม้ระบบการธนาคารของสหรัฐฯโดยตรงจะยังคงมั่นคงแข็งแรง
คำพูดนี้เองเมื่อบวกกับข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดซึ่งส่อไปในทางย่ำแย่ ก็ได้ส่งผลให้ตลาดวอลล์สตรีทถลาลงในวันพฤหัสบดี โดยตอนปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ติดลบ 112.10 จุด หรือ 0.88%
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ทำให้ตลาดเป็นกังวลด้วย ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯแถลงอัตราเติบโตของสหรัฐฯในไตรมาส 4/2007 ที่ทบทวนปรับปรุงแล้ว ปรากฏว่ายังคงอยู่ที่ 0.6% เหมือนที่แถลงคราวแรกในเดือนก่อน ทั้งที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะมีการปรับให้สูงขึ้นบ้างเป็น 0.8%
นอกจากนั้น กระทรวงแรงงานก็แจ้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการคนว่างงานครั้งแรกประจำรอบสัปดาห์ ซึ่งปรากฏว่าสูงขึ้นมา 19,000 คน ทำให้ยอดรวมหลังปรับปัจจัยผันผวนตามฤดูกาลแล้ว มาอยู่ที่ 373,000 คน อันเป็นตัวเลขที่บางคนมองว่าใกล้กับช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
"ผมไม่คาดหมายหรอกว่าจะเกิด stagflation" เบอร์นันกีกล่าว เมื่อถูกถามในระหว่างไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารของวุฒิสภา เนื่องในโอกาสการแถลงภาวะเศรษฐกิจรอบครึ่งปีต่อรัฐสภา "ผมไม่คิดว่าเรากำลังเข้าไปใกล้ตรงไหนเลยกับสถานการณ์ที่บังเกิดขึ้นในทศวรรษ 1970 ผมคาดหมายด้วยซ้ำว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดต่ำลงมา" ภาวะ stagflation ซึ่งประธานเฟดกล่าวถึงนั้น คือการที่เศรษฐกิจเจอทั้งปัญหาอัตราเจริญเติบโตชะงักงัน และทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ขึ้นสูง
ในการแถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันที่สองของการให้ปากคำ หลังจากไปแถลงต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ (27) เบอร์นันกี ย้ำว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในปัจจุบัน มีสาเหตุจากการที่ทั่วโลกต้องการใช้น้ำมัน โลหะ และอาหาร กันเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ แม้ต่อไปยังจะสูงอยู่ ทว่าน่าที่จะมีเสถียรภาพในระยะไม่กี่เดือนต่อจากนี้ไป
"หากเป็นเช่นนั้นจริง อัตราเงินเฟ้อก็ควรจะลดต่ำลง และเมื่อเป็นดังนั้น เราก็จะมีความสามารถที่จะตอบโต้ต่อภาวะที่ทั้งเกิดการชะลอตัวในอัตราเจริญเติบโต และทั้งมีปัญหาสำคัญในตลาดการเงิน" เขากล่าวต่อ
แต่เขาก็ยอมรับว่า แรงกดดันด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังละลิ่วลอยฟ่อง ในเวลาที่ราคาบ้านในสหรัฐฯกลับกำลังทรุดตัว ทำให้งานของเฟดในการพยุงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกันเอาไว้ ต้องประสบความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตอนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งสุดท้ายในปี 2001
"เราเจอแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในตอนนี้ ที่มีขนาดใหญ่โตกว่าที่เราเคยเจอในปี 2001" เบอร์นันกีบอก "ผมคิดว่าเป็นความจริงที่ทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ต่างก็ต้องเผชิญกับความจำกัดเพิ่มมากขึ้นในบางระดับ"
อย่างไรก็ตาม เบอร์นันกีกล่าวย้ำสิ่งที่เขาแถลงไว้กับทางสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ นั่นคือ ปัญหาหลักอยู่ที่ความเสี่ยงขาลงที่มีต่ออัตราเติบโต และเฟดจะลงมือปฏิบัติการอย่างทันเวลาตามที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโต
เขายังบอกด้วยว่า ธนาคารอเมริกันขนาดเล็กๆ บางแห่งคงต้องล้มไป เนื่องจากความตึงตัวทางการเงินอันเกิดขึ้นจากปัญหาสาหัสของตลาดที่อยู่อาศัย ถึงแม้ระบบการธนาคารของสหรัฐฯโดยตรงจะยังคงมั่นคงแข็งแรง
คำพูดนี้เองเมื่อบวกกับข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดซึ่งส่อไปในทางย่ำแย่ ก็ได้ส่งผลให้ตลาดวอลล์สตรีทถลาลงในวันพฤหัสบดี โดยตอนปิดตลาด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ติดลบ 112.10 จุด หรือ 0.88%
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ทำให้ตลาดเป็นกังวลด้วย ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯแถลงอัตราเติบโตของสหรัฐฯในไตรมาส 4/2007 ที่ทบทวนปรับปรุงแล้ว ปรากฏว่ายังคงอยู่ที่ 0.6% เหมือนที่แถลงคราวแรกในเดือนก่อน ทั้งที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะมีการปรับให้สูงขึ้นบ้างเป็น 0.8%
นอกจากนั้น กระทรวงแรงงานก็แจ้งตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการคนว่างงานครั้งแรกประจำรอบสัปดาห์ ซึ่งปรากฏว่าสูงขึ้นมา 19,000 คน ทำให้ยอดรวมหลังปรับปัจจัยผันผวนตามฤดูกาลแล้ว มาอยู่ที่ 373,000 คน อันเป็นตัวเลขที่บางคนมองว่าใกล้กับช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย