การประชุมวุฒิสภาที่มี นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดย น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี จากกระทู้ถามของ น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ สว.ที่ถาม เรื่อง การเตือนภัยพิบัติของประเทศไทย ว่า ปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นต่อเนื่อง เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และนับจากเกิดอุทกภัยที่จังหวัดเชียงราย รัฐบาล โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีการช่องทางเตือนภัยหลายรูปแบบ ทั้งการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจจับระดับน้ำเพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังจังหวัดต่าง ๆ อย่างทันท่วงที เช่น การติดตั้งหอเตือนภัยครอบคลุมทั่วประเทศ การเตือนภัยผ่านดาวเทียม ระบบ SMS ข้อความสั้น ระบบ Cell Broadcast การแจ้งเตือนผ่านโซเชียลมีเดีย และการแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”
ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลยังคงมีการพัฒนาระบบเตือนภัยช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และขอให้ประชาชนติดตามรับข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนจากทางราชการเท่านั้น เพราะมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน
ทั้งนี้ ในส่วนของการทดสอบระบบ Cell Broadcast มีความคืบหน้ากว่า ร้อยละ 80 โดยจะเห็นได้ว่า ในช่วงฝนตกหนักสัปดาห์ที่มามีการแจ้งเตือนภัยรวดเร็วและลดความสูญเสียได้มากขึ้น เพราะมีการแจ้งเตือนรวดเร็วประชาชนเตรียมพร้อมรับมือได้ทันท่วงที ในส่วนของการเตรียมพร้อมรับมือภัยสึนามินั้น ทางรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญและมีการซ้อมแผนเตือนภัยเป็นประจำทุกมี รวมถึงร่วมมือกับต่างประเทศในการร่วมซ้อมรับมือสึนามิ เพื่อพัฒนาแผนรับมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลยังคงมีการพัฒนาระบบเตือนภัยช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และขอให้ประชาชนติดตามรับข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนจากทางราชการเท่านั้น เพราะมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน
ทั้งนี้ ในส่วนของการทดสอบระบบ Cell Broadcast มีความคืบหน้ากว่า ร้อยละ 80 โดยจะเห็นได้ว่า ในช่วงฝนตกหนักสัปดาห์ที่มามีการแจ้งเตือนภัยรวดเร็วและลดความสูญเสียได้มากขึ้น เพราะมีการแจ้งเตือนรวดเร็วประชาชนเตรียมพร้อมรับมือได้ทันท่วงที ในส่วนของการเตรียมพร้อมรับมือภัยสึนามินั้น ทางรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญและมีการซ้อมแผนเตือนภัยเป็นประจำทุกมี รวมถึงร่วมมือกับต่างประเทศในการร่วมซ้อมรับมือสึนามิ เพื่อพัฒนาแผนรับมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น