รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า 1. กัญชากับไอคิว
กัญชาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำให้ไอคิวของคนเสพต่ำลง ยิ่งหากเสพตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น ไอคิวจะต่ำลงได้มากถึง 8 แต้ม ที่สำคัญคือ ไอคิวจะไม่ฟื้นคืนกลับมา แม้จะหยุดกัญชาก็ตาม
2. ยิ่งเริ่มเสพตอนอายุน้อย โอกาสติดยิ่งมาก เฉลี่ยแล้วคนเสพกัญชา 1 ใน 10 คนจะมีภาวะติดยา (addiction) แต่หากเสพตั้งแต่อายุก่อน 18 ปี จะมีโอกาสติดยาสูงขึ้นเป็น 1 ใน 6 หรือ 17%
3. กัญชากับภาวะจิตเวช ข้อมูลวิชาการชี้ให้เห็นว่า การใช้กัญชานั้นมีความเชื่อมโยงไปกับความผิดปกติทางจิตต่างๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล การคิดฆ่าตัวตาย รวมถึงโรคจิต (psychosis)
อ้างอิง
Substance Abuse and Mental Health Services Administration. US Department of Health and Human Services, 6/2/2022.
...คนที่มีสติ มีปัญญา และมีจิตสำนึกถึงสังคม คงพอจะคิดวิเคราะห์ได้ว่า หากเอากัญชาไปผสมในอาหาร ขนม เครื่องดื่ม รวมถึงไอศกรีมนม
จะยิ่งสร้างความเสี่ยงให้เด็กๆ เข้าถึงได้ง่าย อยากริลอง และบริโภค
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง หากไม่สามารถติดตามกำกับและควบคุมได้ในโลกแห่งเสรีการค้า
ดังนั้นการเห็นปรากฏการณ์สร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใส่กัญชา ออกมามากมายหลายรูปแบบนั้น เป็นที่น่าภูมิใจ หรือเป็นสัญญาณเตือนภัยในสังคมนั้นกันแน่?
ไม่สนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
ไม่อุดหนุนสินค้า บริการ และกิจการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
และไม่มอบอำนาจการบริหารจัดการให้ตกไปอยู่กับกลุ่มคนที่ดำเนินการผลักดันให้เกิดความเสี่ยงต่อสังคม
นี่คือสิ่งที่ประชาชนที่รักตนเอง รักครอบครัว และรักประเทศของตนพึงกระท