ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เขียนบทความผลการศึกษา อำนาจจำกัดของนายกรัฐมนตรีรักษาการ กับทางออกที่เป็นไปได้ โดยระบุว่า สถานะ นายกรัฐมนตรีรักษาการ ไม่ใช่เพียงตำแหน่งที่ถูกออกแบบไว้ในเชิงเทคนิคทางรัฐธรรมนูญ แต่สะท้อนจุดเปราะบางของโครงสร้างการเมืองไทย ซึ่งเมื่อเกิดสุญญากาศอำนาจ ก็เผยให้เห็นถึงความไม่พร้อมของระบบในการรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยามที่ประเทศไม่มีนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม แต่กลับมีภาระมากมายต้องเร่งตัดสินใจ ทั้งนโยบายเศรษฐกิจ ความมั่นคง การต่างประเทศ และความไว้วางใจจากประชาชน ซึ่งไม่อาจใช้ สถานะรักษาการ” มารองรับภาระระดับประเทศได้อย่างมั่นคง ส่งผลให้ประชาชนมีปฏิกิริยาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก
1.กลุ่มที่วิตกกังวล มองว่ารัฐขาดทิศทาง
2.กลุ่มที่ไม่ไว้วางใจ หวั่นว่าอำนาจจะถูกใช้เพื่อรักษาอำนาจเก่า
3.กลุ่มที่เรียกร้องให้เดินหน้า ไม่ต้องการให้ประเทศวนเวียนอยู่กับกลไกการเมืองที่ไม่ตอบสนองประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะระบุขอบเขตไว้กว้าง แต่ในทางปฏิบัติ นายกรัฐมนตรีรักษาการมักถูกจำกัดบทบาทจากความกลัวจะถูกตีความว่าล้ำเส้น ส่งผลให้ประเทศเสี่ยงสูงต่อการติดหล่มทางการเมืองอย่างรุนแรง
1.กลุ่มที่วิตกกังวล มองว่ารัฐขาดทิศทาง
2.กลุ่มที่ไม่ไว้วางใจ หวั่นว่าอำนาจจะถูกใช้เพื่อรักษาอำนาจเก่า
3.กลุ่มที่เรียกร้องให้เดินหน้า ไม่ต้องการให้ประเทศวนเวียนอยู่กับกลไกการเมืองที่ไม่ตอบสนองประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะระบุขอบเขตไว้กว้าง แต่ในทางปฏิบัติ นายกรัฐมนตรีรักษาการมักถูกจำกัดบทบาทจากความกลัวจะถูกตีความว่าล้ำเส้น ส่งผลให้ประเทศเสี่ยงสูงต่อการติดหล่มทางการเมืองอย่างรุนแรง