xs
xsm
sm
md
lg

สวนดุสิตโพลเผย ปชช.ค่อนข้างกังวล ศก.ไทย ห่วงสินค้าแพงขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,229 ตัวอย่าง จากทั่วประเทศ เรื่อง "คนไทยกับการรับมือปัญหาเศรษฐกิจ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2568 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในขณะนี้มากน้อยเพียงใด

อันดับ 1 ร้อยละ 51.59 ระบุ ค่อนข้างกังวล
อันดับ 2 ร้อยละ 40.60 ระบุ กังวลมาก
อันดับ 3 ร้อยละ 6.67 ระบุ ไม่ค่อยกังวล
อันดับ 4 ร้อยละ 1.14 ระบุ ไม่กังวล

2. ณ วันนี้ ประชาชนกังวลเรื่องใดเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย

อันดับ 1 ร้อยละ 73.23 ระบุ ราคาสินค้าแพงขึ้น
อันดับ 2 ร้อยละ 67.36 ระบุ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
อันดับ 3 ร้อยละ 65.58 ระบุ หนี้สินครัวเรือนสูง

3. หากไม่มีรายได้เลย ประชาชนมีเงินสำรองฉุกเฉินที่้เพียงพอต่อการใช้จ่ายได้กี่เดือน

อันดับ 1 ร้อยละ 48.32 ระบุ น้อยกว่า 1 เดือน
อันดับ 2 ร้อยละ 35.24 ระบุ 1-3 เดือน
อันดับ 3 ร้อยละ 9.85 ระบุ 4-6 เดือน
อันดับ 4 ร้อยละ 6.59 ระบุ มากกว่า 6 เดือน

4. ประชาชนมีแนวทางในการรับมือภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนในปัจจุบันอย่างไรบ้าง

อันดับ 1 ร้อยละ 77.37 ระบุ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
อันดับ 2 ร้อยละ 63.96 ระบุ ลดการก่อหนี้ใหม่
อันดับ 3 ร้อยละ 50.80 ระบุ เก็บออมเงินมากขึ้น

5. การวางแผนการเงินของประชาชนเป็นอย่างไร (การวางแผนการเงินส่วนบุคคล หมายถึง การจัดการรายรับ รายจ่าย การออม การลงทุน และเงินสำรองฉุกเฉินอย่างมีเป้าหมายและต่อเนื่อง)

อันดับ 1 ร้อยละ 58.99 ระบุ วางแผนแต่ไม่ได้ทำต่อเนื่อง
อันดับ 2 ร้อยละ 27.83 ระบุ วางแผนอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 3 ร้อยละ 13.18 ระบุ ไม่เคยคิดวางแผนเลย

6. ประชาชนเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ หรือไม่

อันดับ 1 ร้อยละ 76.06 ระบุ ไม่เชื่อมั่น
อันดับ 2 ร้อยละ 23.94 ระบุ เชื่อมั่้น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลประชาชนกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นความเปราะบางทางการเงินของคนไทยที่เกือบครึ่งหนึ่งมีเงินสำรองฉุกเฉินใช้ได้ไม่ถึงเดือน แม้จะมีความพยายามในการลดรายจ่ายหรือพยายามวางแผนการเงิน แต่เมื่อรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ จากผลการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่ยังไม่เห็นผลชัดเจนนักก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนด้วยเช่นกัน