นพ.วีระวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกรมควบคุมโรค แถลงกรณีโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ว่า โรคแอนแทรกซ์ หรือสมัยก่อนเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียในสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น ซึ่งจะมีอาการแสดงของสัตว์ป่วย มีไข้ ซึม ไม่กินอาหาร หรือมีการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมนุษย์สามารถรับเชื้อจากสัตว์ได้ 3 ทางหลัก คือ
1.การสัมผัส ชำแหละเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วมีเชื้อแอนแทรกซ์อยู่ ผ่านบริเวณที่มีบาดแผล หลังจากรับเชื้อประมาณ 7 วันจะเริ่มแสดงอาการ เริ่มมีแผล ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต
2.การรับประทานเนื้อสัตว์ป่วยแบบดิบ โดยจะติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีแผลในลำไส้ มีอาการปวดท้องคล้ายอาหารเป็นพิษ มีไข้สูง หรือติดเชื้อในกระแสเลือด
3.การติดเชื้อจากการหายใจเอาสปอร์เชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่เจอได้น้อย โดยสปอร์เชื้อสามารถฝังตัวอยู่ตามพื้นดินที่สัตว์ป่วยอาศัยได้นานเป็นเดือนหรือหลายปี
ทั้งนี้ แนะนำว่า ประชาชนที่ต้องสัมผัสกับเนื้อสัตว์ ต้องจะต้องใส่ถุงมือป้องกัน ล้างมือให้สะอาด ส่วนการรับประทานอาหารก็ให้ปรุงสุกเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรีย
อย่างไรก็ตาม การรักษาหลังติดเชื้อแอนแทรกซ์ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสามารถให้ยาป้องกันการติดเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคหลังการสัมผัสได้ด้วย สำหรับสถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ใน จ.มุกดารหาร ถือเป็นโรคระบาดแล้ว เพราะมีผู้ป่วยมากกว่า 1 รายขึ้นไป แต่ยังย้ำว่าเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ไม่ใช่คนสู่คน
1.การสัมผัส ชำแหละเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วมีเชื้อแอนแทรกซ์อยู่ ผ่านบริเวณที่มีบาดแผล หลังจากรับเชื้อประมาณ 7 วันจะเริ่มแสดงอาการ เริ่มมีแผล ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต
2.การรับประทานเนื้อสัตว์ป่วยแบบดิบ โดยจะติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีแผลในลำไส้ มีอาการปวดท้องคล้ายอาหารเป็นพิษ มีไข้สูง หรือติดเชื้อในกระแสเลือด
3.การติดเชื้อจากการหายใจเอาสปอร์เชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่เจอได้น้อย โดยสปอร์เชื้อสามารถฝังตัวอยู่ตามพื้นดินที่สัตว์ป่วยอาศัยได้นานเป็นเดือนหรือหลายปี
ทั้งนี้ แนะนำว่า ประชาชนที่ต้องสัมผัสกับเนื้อสัตว์ ต้องจะต้องใส่ถุงมือป้องกัน ล้างมือให้สะอาด ส่วนการรับประทานอาหารก็ให้ปรุงสุกเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรีย
อย่างไรก็ตาม การรักษาหลังติดเชื้อแอนแทรกซ์ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสามารถให้ยาป้องกันการติดเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคหลังการสัมผัสได้ด้วย สำหรับสถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ใน จ.มุกดารหาร ถือเป็นโรคระบาดแล้ว เพราะมีผู้ป่วยมากกว่า 1 รายขึ้นไป แต่ยังย้ำว่าเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ไม่ใช่คนสู่คน