วันนี้ (2 พ.ค.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เผยแพร่เอกสารคำชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับข้อสงสัยเรื่องงานคอนกรีตที่ใช้ในโครงการฯ ดังนี้
1. ผู้รับจ้างก่อสร้าง (กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) มีหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่ต้องดำเนินการก่อสร้างให้ถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา โดยแบบรูปรายการก่อสร้างและรายการประกอบแบบ งานวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ส่วนงานคอนกรีตมีข้อกำหนดให้ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ต้องส่งรายการคำนวณส่วนผสมให้ผู้รับจ้างออกแบบ (กิจการร่วมค้า บริษัท ฟอ-รัม อาร์คิเทค จำกัด และบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด) พิจารณาเห็นชอบ และให้มีวิศวกรลงลายมือชื่อรับรอง สำหรับในส่วนของการผสมเทคอนกรีตในการก่อสร้างงานโครงสร้างต่าง ๆ ให้ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) อาทิ CPAC, TPI, บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด และยังรวมถึง มีข้อกำหนดให้สามารถใช้คอนกรีตอื่นได้หากไม่เหมาะสมจะใช้คอนกรีตผสมเสร็จ
2.ผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด ใช้สำหรับฐานรากและเสาเข็ม รวมทั้งงานโครงสร้างส่วนต่างๆของอาคาร และงานพื้นคอนกรีตอัดแรง ซึ่งมีวิศวกรโยธาระดับสามัญลงลายมือชื่อรับรองรายการคำนวณส่วนผสมคอนกรีต นอกจากนี้ ผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จเพิ่มเติม คือผลิตภัณฑ์ของบริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด เนื่องจากมีปริมาณการใช้งานในโครงการมาก โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด และบริษัท นครหลวงคอนกรีตฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) อีกทั้งผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ค่ากำลังอัดทรงกระบอก 380 ksc. ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด ใช้สำหรับงานพื้นคอนกรีตอัดแรง (Post-Tensioned Slab) อาคาร TOWER ซึ่งค่ากำลังอัดที่ผู้รับจ้างก่อสร้างขออนุมัตินี้ สูงกว่าข้อกำหนดตามแบบรูปรายการก่อสร้างและรายการประกอบแบบที่กำหนดค่ากำลังอัดไว้ 350 ksc. (ทรงกระบอก)
3.ผู้รับจ้างก่อสร้างได้มีหนังสือ (Request For Information: RFI) ถึงผู้รับจ้างควบคุมงาน คือกิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จำกัด บริษัท ว. และสหาย คอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ จำกัด) เพื่อขอความเห็นจากผู้รับจ้างออกแบบเกี่ยวกับการขออนุมัติใช้วัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งเป็นกรณีตามข้อ 2. โดยผู้รับจ้างออกแบบแจ้งความเห็นเป็นหนังสือถึงผู้รับจ้างควบคุมงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของ Structure Criteria ตรงกับเอกสารประกอบ ซึ่งต่อมา ผู้รับจ้างควบคุมงานจึงแจ้งเป็นหนังสือตอบกลับผู้รับจ้างก่อสร้างให้ดำเนินการตามที่ผู้รับจ้างออกแบบให้ความเห็นและใช้ในการทำงาน
4.ผู้รับจ้างควบคุมงาน ในฐานะตัวแทน สตง. ในการควบคุมงานก่อสร้าง และมีหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างควบคุมงานในการตรวจสอบการขออนุมัติใช้วัสดุและตรวจสอบการทดสอบวัสดุ ได้รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอมายัง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ว่าได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จที่ผู้รับจ้างก่อสร้างเสนอตรงตามแบบโครงสร้างแผ่นที่ S0-01 และข้อกำหนดในรายการประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง หมวดที่ 8 (งานคอนกรีต ข้อ 8.3.2 หน้า 3/7) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) สำหรับส่วนผสมคอนกรีตเป็นไปตามข้อกำหนดและมีวิศวกรโยธาระดับสามัญรับรอง โดยเห็นควรอนุมัติผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จตามที่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เสนอ
5.ผู้รับจ้างก่อสร้างดำเนินการเพื่อทดสอบคุณภาพวัสดุคอนกรีต โดยส่งตัวอย่างคอนกรีต (ลูกปูน) ไปทดสอบที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในข่ายสถาบันตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการทดสอบคุณภาพวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างตามสัญญาได้ ตามข้อกำหนดในรายการประกอบแบบ งานวิศวกรรมโครงสร้าง หมวดที่ 1 มาตรฐานอ้างอิง ข้อ 1.2 ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ทั้งนี้ภายใต้การรับรองของ สตง. ในฐานะผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างออกแบบ โดยการเก็บตัวอย่างคอนกรีต (ลูกปูน) เพื่อทดสอบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ต้องเก็บทุกวันที่มีการเทคอนกรีต ซึ่งจะต้องเก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 6 ตัวอย่าง สำหรับทดสอบที่ 7 วัน และ อีก 3 ตัวอย่าง สำหรับทดสอบที่ 28 วัน โดยต้องมีค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตสำหรับโครงสร้างเสา และผนัง 500 ksc. สำหรับโครงสร้างทั่วไป 350 ksc. และสำหรับฐานรากและเสาเข็ม 280 ksc
6.ผู้รับจ้างก่อสร้างส่งมอบงานโดยแนบเอกสารรายงานผลการทดสอบคุณภาพคอนกรีต เพื่อประกอบการส่งมอบงานในแต่ละงวด โดยผู้รับจ้างควบคุมงาน ทำการตรวจสอบรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของงานที่ส่งมอบ ประกอบกับเป็นหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างควบคุมงานในการตรวจสอบการทดสอบวัสดุตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4. โดย ผู้รับจ้างควบคุมงาน รายงานผลการส่งมอบงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นหนังสือเสนอมายัง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ซึ่งรวมถึงการรายงานต่อที่ประชุมในวาระการประชุมพิจารณาเพื่อตรวจรับงานในแต่ละงวด โดยปรากฏว่าผลการทดสอบคุณภาพคอนกรีตตามที่ ผู้รับจ้างควบคุมงานได้ตรวจสอบรับรองและนำมารายงานเสนอ เพื่อประกอบการพิจารณาของ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกประการ
1. ผู้รับจ้างก่อสร้าง (กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) มีหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่ต้องดำเนินการก่อสร้างให้ถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา โดยแบบรูปรายการก่อสร้างและรายการประกอบแบบ งานวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ส่วนงานคอนกรีตมีข้อกำหนดให้ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ต้องส่งรายการคำนวณส่วนผสมให้ผู้รับจ้างออกแบบ (กิจการร่วมค้า บริษัท ฟอ-รัม อาร์คิเทค จำกัด และบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด) พิจารณาเห็นชอบ และให้มีวิศวกรลงลายมือชื่อรับรอง สำหรับในส่วนของการผสมเทคอนกรีตในการก่อสร้างงานโครงสร้างต่าง ๆ ให้ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) อาทิ CPAC, TPI, บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด และยังรวมถึง มีข้อกำหนดให้สามารถใช้คอนกรีตอื่นได้หากไม่เหมาะสมจะใช้คอนกรีตผสมเสร็จ
2.ผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด ใช้สำหรับฐานรากและเสาเข็ม รวมทั้งงานโครงสร้างส่วนต่างๆของอาคาร และงานพื้นคอนกรีตอัดแรง ซึ่งมีวิศวกรโยธาระดับสามัญลงลายมือชื่อรับรองรายการคำนวณส่วนผสมคอนกรีต นอกจากนี้ ผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จเพิ่มเติม คือผลิตภัณฑ์ของบริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด เนื่องจากมีปริมาณการใช้งานในโครงการมาก โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด และบริษัท นครหลวงคอนกรีตฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) อีกทั้งผู้รับจ้างก่อสร้างได้ขออนุมัติวัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ค่ากำลังอัดทรงกระบอก 380 ksc. ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด ใช้สำหรับงานพื้นคอนกรีตอัดแรง (Post-Tensioned Slab) อาคาร TOWER ซึ่งค่ากำลังอัดที่ผู้รับจ้างก่อสร้างขออนุมัตินี้ สูงกว่าข้อกำหนดตามแบบรูปรายการก่อสร้างและรายการประกอบแบบที่กำหนดค่ากำลังอัดไว้ 350 ksc. (ทรงกระบอก)
3.ผู้รับจ้างก่อสร้างได้มีหนังสือ (Request For Information: RFI) ถึงผู้รับจ้างควบคุมงาน คือกิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จำกัด บริษัท ว. และสหาย คอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ จำกัด) เพื่อขอความเห็นจากผู้รับจ้างออกแบบเกี่ยวกับการขออนุมัติใช้วัสดุคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งเป็นกรณีตามข้อ 2. โดยผู้รับจ้างออกแบบแจ้งความเห็นเป็นหนังสือถึงผู้รับจ้างควบคุมงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของ Structure Criteria ตรงกับเอกสารประกอบ ซึ่งต่อมา ผู้รับจ้างควบคุมงานจึงแจ้งเป็นหนังสือตอบกลับผู้รับจ้างก่อสร้างให้ดำเนินการตามที่ผู้รับจ้างออกแบบให้ความเห็นและใช้ในการทำงาน
4.ผู้รับจ้างควบคุมงาน ในฐานะตัวแทน สตง. ในการควบคุมงานก่อสร้าง และมีหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างควบคุมงานในการตรวจสอบการขออนุมัติใช้วัสดุและตรวจสอบการทดสอบวัสดุ ได้รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอมายัง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ว่าได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จที่ผู้รับจ้างก่อสร้างเสนอตรงตามแบบโครงสร้างแผ่นที่ S0-01 และข้อกำหนดในรายการประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง หมวดที่ 8 (งานคอนกรีต ข้อ 8.3.2 หน้า 3/7) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.213) สำหรับส่วนผสมคอนกรีตเป็นไปตามข้อกำหนดและมีวิศวกรโยธาระดับสามัญรับรอง โดยเห็นควรอนุมัติผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จตามที่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เสนอ
5.ผู้รับจ้างก่อสร้างดำเนินการเพื่อทดสอบคุณภาพวัสดุคอนกรีต โดยส่งตัวอย่างคอนกรีต (ลูกปูน) ไปทดสอบที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในข่ายสถาบันตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการทดสอบคุณภาพวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างตามสัญญาได้ ตามข้อกำหนดในรายการประกอบแบบ งานวิศวกรรมโครงสร้าง หมวดที่ 1 มาตรฐานอ้างอิง ข้อ 1.2 ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ทั้งนี้ภายใต้การรับรองของ สตง. ในฐานะผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างออกแบบ โดยการเก็บตัวอย่างคอนกรีต (ลูกปูน) เพื่อทดสอบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ต้องเก็บทุกวันที่มีการเทคอนกรีต ซึ่งจะต้องเก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 6 ตัวอย่าง สำหรับทดสอบที่ 7 วัน และ อีก 3 ตัวอย่าง สำหรับทดสอบที่ 28 วัน โดยต้องมีค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตสำหรับโครงสร้างเสา และผนัง 500 ksc. สำหรับโครงสร้างทั่วไป 350 ksc. และสำหรับฐานรากและเสาเข็ม 280 ksc
6.ผู้รับจ้างก่อสร้างส่งมอบงานโดยแนบเอกสารรายงานผลการทดสอบคุณภาพคอนกรีต เพื่อประกอบการส่งมอบงานในแต่ละงวด โดยผู้รับจ้างควบคุมงาน ทำการตรวจสอบรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของงานที่ส่งมอบ ประกอบกับเป็นหน้าที่โดยตรงตามสัญญาจ้างควบคุมงานในการตรวจสอบการทดสอบวัสดุตามที่กล่าวไว้ในข้อ 4. โดย ผู้รับจ้างควบคุมงาน รายงานผลการส่งมอบงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นหนังสือเสนอมายัง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ซึ่งรวมถึงการรายงานต่อที่ประชุมในวาระการประชุมพิจารณาเพื่อตรวจรับงานในแต่ละงวด โดยปรากฏว่าผลการทดสอบคุณภาพคอนกรีตตามที่ ผู้รับจ้างควบคุมงานได้ตรวจสอบรับรองและนำมารายงานเสนอ เพื่อประกอบการพิจารณาของ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญา รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกประการ