องค์กร Protection International (PI) รายงานว่า คณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนางอังคณา นีละไพจิตร เป็นประธาน ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบกรณีได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด ถึงผลกระทบของเหมืองแร่โปแตชที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ด่านขุนทด พร้อมประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นางอังคณา กล่าวว่า ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมให้ข้อมูลและลงพื้นที่ ซึ่งคณะ กมธ.ขอเน้นย้ำในเรื่องสิทธิมนุษยชนของชาวบ้าน และมีข้อเสนอแนะว่าควรตั้งคณะทำงานร่วมกันตัวมีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าร่วม ตามหลักสหประชาชาติเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ต้องสืบสวนลงโทษและชดเชย ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นคนละเมิด และทำให้เกิดความเสียหาย แต่รัฐต้องรับผิดชอบ ซึ่งการเยียวยาไม่ใช่จ่ายเงินเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางหน่วยงานก็ต้องประสานการทำงานผู้ร้องอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้จังหวัดมีบทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ว่าฯ ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างธุรกิจเอกชน และราษฎร ซึ่งในเรื่องการพัฒนาเชื่อว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ขัดขวาง แต่การพัฒนาต้องไม่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนด้วย
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการเข้าตรวจสอบพื้นที่เหมืองแร่ว่า กมธ. ได้ไปดูอุโมงค์แนวเอียงซึ่งเป็นอุโมงค์เก่าที่ปิดไปแล้วเนื่องจากมีการรั่วซึม และบริเวณที่จะสร้างอุโมงค์ใหม่ รวมถึงบ่อพักน้ำซึ่งปัจจุบันได้ปูพลาสติกเรียบร้อยแล้ว และยังได้ดูสถานที่ซึ่งเตรียมไว้เก็บระเบิดซึ่งบริษัทแจ้งว่าอยู่ระหว่างการรออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย โดยให้เหตุผลว่า เมื่อก่อนเวลาขุดอุโมงค์แนวเอียงบริษัทใช้ที่ขุดแบบหัวกระสุนคว้านดิน แต่การขุดอุโมงค์แนวดิ่ง ซึ่งขุดประมาณ 280-300 ม. ไม่สามารถนำคนหรือเครื่องขุดลงไปขุดได้ ดังนั้นเมื่อเจอเนื้อดิน หรือหินแข็งจำเป็นจะต้องใช้ระเบิด ตั้งแต่มีปัญหาอุโมงค์น้ำซึมบริษัทก็ไม่ได้ดำเนินการสูบแร่ ดังนั้นเพื่อให้บริษัทสามารถดำรงอยู่และดูแลคนงานได้ จึงรับซื้อเกลือสินเธาว์ จากชาวบ้านในภาคอีสานมาเข้าโรงงานผลิตเกลือบริสุทธิ์ หรือเกลือแกง
นางอังคณา กล่าวว่า ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมให้ข้อมูลและลงพื้นที่ ซึ่งคณะ กมธ.ขอเน้นย้ำในเรื่องสิทธิมนุษยชนของชาวบ้าน และมีข้อเสนอแนะว่าควรตั้งคณะทำงานร่วมกันตัวมีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าร่วม ตามหลักสหประชาชาติเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ต้องสืบสวนลงโทษและชดเชย ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นคนละเมิด และทำให้เกิดความเสียหาย แต่รัฐต้องรับผิดชอบ ซึ่งการเยียวยาไม่ใช่จ่ายเงินเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางหน่วยงานก็ต้องประสานการทำงานผู้ร้องอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้จังหวัดมีบทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ว่าฯ ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างธุรกิจเอกชน และราษฎร ซึ่งในเรื่องการพัฒนาเชื่อว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ขัดขวาง แต่การพัฒนาต้องไม่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนด้วย
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการเข้าตรวจสอบพื้นที่เหมืองแร่ว่า กมธ. ได้ไปดูอุโมงค์แนวเอียงซึ่งเป็นอุโมงค์เก่าที่ปิดไปแล้วเนื่องจากมีการรั่วซึม และบริเวณที่จะสร้างอุโมงค์ใหม่ รวมถึงบ่อพักน้ำซึ่งปัจจุบันได้ปูพลาสติกเรียบร้อยแล้ว และยังได้ดูสถานที่ซึ่งเตรียมไว้เก็บระเบิดซึ่งบริษัทแจ้งว่าอยู่ระหว่างการรออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย โดยให้เหตุผลว่า เมื่อก่อนเวลาขุดอุโมงค์แนวเอียงบริษัทใช้ที่ขุดแบบหัวกระสุนคว้านดิน แต่การขุดอุโมงค์แนวดิ่ง ซึ่งขุดประมาณ 280-300 ม. ไม่สามารถนำคนหรือเครื่องขุดลงไปขุดได้ ดังนั้นเมื่อเจอเนื้อดิน หรือหินแข็งจำเป็นจะต้องใช้ระเบิด ตั้งแต่มีปัญหาอุโมงค์น้ำซึมบริษัทก็ไม่ได้ดำเนินการสูบแร่ ดังนั้นเพื่อให้บริษัทสามารถดำรงอยู่และดูแลคนงานได้ จึงรับซื้อเกลือสินเธาว์ จากชาวบ้านในภาคอีสานมาเข้าโรงงานผลิตเกลือบริสุทธิ์ หรือเกลือแกง