จากกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุมัติให้ทำการสอบสวนกรณีความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวน ขยายผล รวบรวมพยานหลักฐาน โดยมีคณะพนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาทำการร่วมสอบสวนด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 3 ราย ยังได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นคณะอนุกรรมการสืบสวนและไต่สวนให้มีหน้าที่และอำนาจในการสืบสวนและไต่สวนเรื่องคัดค้านการเลือกสมาชิกวุฒิสภาในทุกพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามที่มีการรายงานข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
วันนี้ (25 เม.ย.) คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 24/2568 เปิดเผยความคืบหน้ากรณี ความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการในหลายประเด็นแล้ว เช่น สอบปากคำพยานไปแล้ว จำนวน 30 ปาก มีทั้งพยานบุคคล พยานแวดล้อม พยานกลุ่ม สว.สำรอง พยานซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ (ประจักษ์พยาน) พยานผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการรวบรวมพยานวัตถุและพยานเอกสาร เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมธนาคารของบุคคลในขบวนการ 1,200 ราย ตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์ 20,000 เลขหมาย และทำฐานข้อมูลทางดิจิทัล ซึ่งมีความคืบหน้าไปพอสมควร
นอกจากนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับโอนสำนวนการสอบสวนจาก สภ.รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี และ สภ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีผู้กล่าวหาในความผิดฐานอั้งยี่ มาเพื่อดำเนินการสอบสวนรวมสำนวนในคดีพิเศษดังกล่าวแล้ว
ส่วนการตรวจสอบพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่เพียงแต่สอบสวนปากคำและรวบรวมพยานเอกสาร พยานวัตถุเท่านั้น แต่ดีเอสไอได้เล็งเห็นถึงพยานหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ จึงต้องมีการจำลองเหตุการณ์ที่ได้ประมวลมาจากภาพกล้องวงจรปิด (CCTV) โดยเฉพาะสถานที่สำคัญอย่าง อิมแพ็ค ฟอรัม ฮอลล์ 4 เมืองทองธานี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการเลือก สว.ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567
วันนี้ (25 เม.ย.) คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 24/2568 เปิดเผยความคืบหน้ากรณี ความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการในหลายประเด็นแล้ว เช่น สอบปากคำพยานไปแล้ว จำนวน 30 ปาก มีทั้งพยานบุคคล พยานแวดล้อม พยานกลุ่ม สว.สำรอง พยานซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ (ประจักษ์พยาน) พยานผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการรวบรวมพยานวัตถุและพยานเอกสาร เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมธนาคารของบุคคลในขบวนการ 1,200 ราย ตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์ 20,000 เลขหมาย และทำฐานข้อมูลทางดิจิทัล ซึ่งมีความคืบหน้าไปพอสมควร
นอกจากนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับโอนสำนวนการสอบสวนจาก สภ.รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี และ สภ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีผู้กล่าวหาในความผิดฐานอั้งยี่ มาเพื่อดำเนินการสอบสวนรวมสำนวนในคดีพิเศษดังกล่าวแล้ว
ส่วนการตรวจสอบพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่เพียงแต่สอบสวนปากคำและรวบรวมพยานเอกสาร พยานวัตถุเท่านั้น แต่ดีเอสไอได้เล็งเห็นถึงพยานหลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ จึงต้องมีการจำลองเหตุการณ์ที่ได้ประมวลมาจากภาพกล้องวงจรปิด (CCTV) โดยเฉพาะสถานที่สำคัญอย่าง อิมแพ็ค ฟอรัม ฮอลล์ 4 เมืองทองธานี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการเลือก สว.ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567