ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย วิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ราชบัณฑิตวิศวกรโครงสร้างชาวไทย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์กิตติคุณของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เปิดเผยผ่านช่องยูทูป วิเคราะห์การถล่มของอาคาร สตง. ที่ใช้เวลาเพียง 8 วินาที ว่า การถล่มของตึก สตง. เป็นแบบ "Pancake Collapse" หรือถล่มแบบขนมชั้น อาคารสูงทั่วไปที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้อง และใช้วัสดุที่ได้มาตรฐานตามแบบ โอกาสพังทลายเป็นไปได้ยากมาก
หลังเกิดเหตุได้ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่า ในซากตึกทำไมไม่เห็นรูปทรงของปล่องลิฟต์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของอาคาร และทำไมซากคอนกรีตที่เห็นรู้สึกเหมือนว่าไม่เกาะติดกับเหล็ก ทั้งนี้ หากอาคารสูง 30 ชั้น พังทลายภายในเวลา 8 วินาที จะต้องทำให้โครงสร้าง คือเสาและกำแพงรับแรงวิบัติพร้อมกันในเสี้ยววินาที
ส่วนแบบที่ 2 คือพื้นชั้นบนหลุดออกจากเสาและกำแพง จะทำให้พื้นชั้นบนตกลงมากระแทกกับพื้นชั้นถัดลงมา เกิดการพังเหมือนโดมิโน สุดท้ายก็เกิดการถล่มเป็นชั้นๆ เช่นเดียวกัน
จุดที่น่าสังเกตคือ "ปล่องลิฟต์" ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของอาคาร แต่ไปชิดอยู่ขอบของอาคาร จึงทำให้อาคารเกิดการบิดตัว
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูในคลิปตอนตึกถล่ม จะเห็นเสาชั้นล่างสุดพังถล่มแบบบิดตัว และชั้นบนถล่มลงมาพร้อมกันโดยไม่มีการกระแทกกัน และสามารถอธิบายภาพที่เห็นหลังตึกถล่มว่า เหล็กเส้นแทบจะแยกตัวออกจากคอนกรีตทั้งหมด