นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเจอกับความท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า สงครามทางเทคโนโลยี หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรับมือและปรับตัวโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมจับมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยการสานต่อการดำเนินงานในวาระปี 2567-2569 ภายใต้นโยบาย "ONE FTI" (ONE Vision, ONE Team, ONE Goal) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม (First Industries) ประกอบด้วย 47 กลุ่มอุตสาหกรรม (11 คลัสเตอร์) 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด (5 ภาค/คลัสเตอร์จังหวัด) ไปพร้อมๆ กับการยกระดับสู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-GEN Industries) ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curves) การพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG รวมทั้งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความร่วมมือไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานวาระนี้
โดย ส.อ.ท. วางยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน คือ 1. Industry Collaboration ผนึกกำลังอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง 2. First 2 Next-Gen Industry ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต 3. Smart SMEs ยกระดับ SMEs สู่สากล 4. Smart Service Platform พัฒนาการบริการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย และ 5. Sustainability, Achieve ESG ส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
จากผลการดำเนินงานในรอบปี 2567 ในส่วนของ Industry Collaboration ส.อ.ท. ได้ผลักดันข้อเสนอเชิงปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรม 8 ด้าน อาทิ จัดทำข้อเสนอเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย (Position paper) เพื่อมอบให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลนำไปเป็นกรอบการทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดในลักษณะ 1 อุตสาหกรรม 1 จังหวัด อาทิ โครงการส่งเสริม Modular House โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์หินฝุ่นจากโรงโม่ โครงการการจัดการความปลอดภัยทางอาหารตลอดซัพพลายเชน และโครงการความร่วมมือการใช้ของที่ระลึกจากกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเพิ่มศักยภาพในการผลิตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ายิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการประกอบกิจการให้เกิดความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) รวมถึงแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนสมาชิก อาทิ ค่าไฟฟ้า การขอลดวงเงินและขอคืนเงินประกันไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง การแก้ไขปัญหาผลกระทบการส่งออกสินค้าไม้ท่อนไม้แปรรูปไม้ล้อมบางชนิด ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ อาทิ การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ ผ่านการประชุมกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ต่อยอดโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Agricultural Industry (SAI) เพื่อพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ยกระดับการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยในปี 2567 ส.อ.ท. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ โดยจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ลำดับที่ 47 คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Industry Club) และจัดตั้ง 4 คลัสเตอร์ใหม่ ประกอบด้วยปิโตรเคมี ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม และวัสดุก่อสร้าง
ในส่วนของ First 2 Next-Gen Industry ส.อ.ท. ได้ยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผ่านโครงการอินโนเวชั่่นวัน (Innovation ONE) ซึ่่งเป็นโครงการที่่ได้รับการสนับสนุุนจากกองทุุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุุนส่งเสริม ววน.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่่อพัฒนาธุุรกิจนวัตกรรมสตาร์ทอัพไทย และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงภาคอุตสาหกรรมรายสาขาของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุุนในงบประมาณภายใต้วงเงิน 1,000 ล้านบาท โดย 1 ปีที่่ผ่านมา โครงการกองทุุนอินโนเวชั่่นวันได้พิจารณาการสนับสนุุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการมากกว่า 360 ล้านบาท
ด้าน Smart SMEs ส.อ.ท. ส่งเสริมและพัฒนา SMEs ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. GO Digital & AI ผลักดัน SMEs ให้ปรับตัวสู่ดิจิทัล โดยการยกระดับอุุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีการดำเนินการภายใต้โครงการ "Digital One" (Digital One Starter Package) ซึ่งเป็นการยกระดับ SMEs ไทย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวบรวมโซลูชันเพื่อสนับสนุนการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ 2. GO Innovation ผลักดัน SMEs ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม 3. GO Green ส่งเสริม SMEs ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ส่งเสริมให้ SMEs เข้าร่วมการประเมิน SME Green Index เพื่อสามารถปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว และส่งเสริมให้ SMEs ได้รับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco Label) รวมทั้งหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs เพื่อนำไปพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการผลิต เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. GO Global ส่งเสริม SMEs เตรียมความพร้อมสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในส่วนของ Smart Service Platform ส.อ.ท. ได้พัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่่อยกระดับการให้บริการสมาชิก ส.อ.ท. อาทิ การเพิ่่มช่องทางการค้าขายออนไลน์ ด้วย FTI e-Business Platform พัฒนาแพลตฟอร์ม FTI Academy ซึ่่งเป็นแหล่งรวบรวมหลักสููตร Upskill และ Reskill ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานพันธมิตร มีการพัฒนาระบบรับรองสินค้า Made in Thailand (MiT) เพื่่อสร้างความเชื่่อมั่่นให้กับผู้ขึ้้นทะเบียน MiT โดยปัจจุุบันสามารถออกใบรับรองสินค้า MiT ได้ 57,622 SKU และมีบริษัทที่ลงทะเบียนในระบบจำนวน 5,577 กิจการ
ด้าน Sustainability, Achieve ESG ส.อ.ท. ได้ยกระดับโรงงานอุุตสาหกรรมด้วยระบบการรับรองมาตรฐานที่่เป็นมิตรกับสิ่่งแวดล้อม อาทิ Eco Factory และ Water Footprint ปัจจุุบันมีโรงงานที่่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory รวม 516 ใบรับรอง โดยในปี 2567 มีโรงงานได้รับการรับรองใหม่จำนวน 95 แห่ง สำหรับการรับรอง Water Footprint มียอดสะสมรวม 400 ผลิตภัณฑ์ย่อยจาก 77 บริษัท โดยในปี 2567 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์