จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.4 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ เมียนมาร์ ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 366 กิโลเมตร และแรงสั่นสะเทือนส่งผลถึงประเทศไทยภาคเหนือ ภาคกลาง โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สั่งการให้ทุกหน่วยงานของ กทม. เช่น สำนักการแพทย์ สำนักงานเขต ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายโยธา ติดตามสถานการณ์ และติดตามความเสียหาย ทั้งโรงพยาบาล อาคารสูง ตึกร้าง หากพบความเสียหายของอาคาร รอยร้าวของอาคาร ให้รายงานเข้ามาที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
ส่วนของโรงพยาบาลให้ตรวจสอบประเมินโครงสร้างอาคาร โดยฝ่ายซ่อมบำรุง หากตรวจสอบอาคารแล้วสามารถกลับเข้าไปได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตให้กลับเข้าไปรักษาก่อน ส่วนผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่เร่งด่วนให้กลับก่อนแล้วนัดหมายใหม่
ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือน มีผลกระทบกับอาคารต่างๆ ในพื้นที่หลายเขต ซึ่งสถานการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวยังอาจสามารถก่อให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกได้ ทำให้กรุงเทพมหานครยังคงต้องเร่งสำรวจพื้นที่ความเสียหาย และเฝ้าระวังในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนพร้อมการแก้ไขพื้นที่ที่อาจยังมีอันตรายและมีผลกระทบต่อสาธารณชน อันเป็นสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564- 2570 ผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร จึงประกาศให้พื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564- 2570 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการสาธารณภัยระดับที่สอง โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บัญชาการ หรือแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎหมายระเบียบ คำสั่งประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สั่งการให้ทุกหน่วยงานของ กทม. เช่น สำนักการแพทย์ สำนักงานเขต ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายโยธา ติดตามสถานการณ์ และติดตามความเสียหาย ทั้งโรงพยาบาล อาคารสูง ตึกร้าง หากพบความเสียหายของอาคาร รอยร้าวของอาคาร ให้รายงานเข้ามาที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
ส่วนของโรงพยาบาลให้ตรวจสอบประเมินโครงสร้างอาคาร โดยฝ่ายซ่อมบำรุง หากตรวจสอบอาคารแล้วสามารถกลับเข้าไปได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตให้กลับเข้าไปรักษาก่อน ส่วนผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่เร่งด่วนให้กลับก่อนแล้วนัดหมายใหม่
ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือน มีผลกระทบกับอาคารต่างๆ ในพื้นที่หลายเขต ซึ่งสถานการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวยังอาจสามารถก่อให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกได้ ทำให้กรุงเทพมหานครยังคงต้องเร่งสำรวจพื้นที่ความเสียหาย และเฝ้าระวังในหลายพื้นที่ พร้อมทั้งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนพร้อมการแก้ไขพื้นที่ที่อาจยังมีอันตรายและมีผลกระทบต่อสาธารณชน อันเป็นสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564- 2570 ผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร จึงประกาศให้พื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564- 2570 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการสาธารณภัยระดับที่สอง โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บัญชาการ หรือแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎหมายระเบียบ คำสั่งประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป