นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประมงได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำอย่างใกล้ชิด และได้มอบนโยบายให้กรมประมงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ที่ได้กำหนดให้การระบาดของปลาหมอคางดำเป็นวาระแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570 ซึ่งประกอบด้วย 7 มาตรการ 15 กิจกรรม กรอบวงเงินงบประมาณ 450 ล้าน ดังนี้
1.การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยสามารถกำจัดปลาหมอคางดำ 3,702,038 กิโลกรัม (บ่อเลี้ยง 2,321,964.50 กก. แหล่งน้ำธรรมชาติ 1,380,073.50 กก.) ผ่านโครงการต่าง ๆ
2. การกำจัดปลาหมอคางดำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการปล่อยลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าทั้งสิ้น 743,136 ตัว ได้แก่ ปลากะพงขาว 335,136 ตัว ปลาอีกง 310,000 ตัว ปลาช่อน 58,000 ตัว ปลากราย 20,000 ตัว ปลากดเหลือง 20,000 ตัว
3. การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ ได้บูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปผลิตปลาป่น ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปลาร้า นำไปบริโภคแปรรูป ทำปลาแดดเดียว ปลาหวาน กะปิ น้ำปลา และนำส่งโรงงานลูกชิ้น รวมถึงใช้เป็นปลาเหยื่อ รวมกว่า 3,702,038 กิโลกรัม
4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่กันชน ได้ดำเนินการจัดทำระบบแจ้งตำแหน่งการพบปลาหมอคางดำ สำหรับประชาชน และได้จัดตั้งชุดสำรวจและเฝ้าระวังลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความชุกชุมในพื้นที่เดือนละ 2 ครั้ง
5. สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับปลาหมอคางดำผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม ตลอดจนออกประกาศ ระเบียบ และกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จำนวน 10 ฉบับ
6.การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ มีการจัดทำโครงการ การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n เพื่อให้เกิดหมันในปลาหมอคางดำ และกรมประมงยังได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน 19 เรื่อง เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สวก. และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
7. การฟื้นฟูระบบนิเวศ ได้มีการวางแผนผลิตพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความหลากหลาย เพื่อเตรียมปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ มุ่งเน้นการฟื้นฟูความหลากหลายและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศให้กับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การดำเนินการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำ ตามวาระแห่งชาติของกรมประมงนั้น ได้บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม และดำเนินการอยู่ตลอดในทุกมิติทั้งการป้องกัน กำจัด นำไปใช้ประโยชน์ เยียวยาผลกระทบ ตลอดจนฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งจากข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่กรมประมงเก็บรวบรวมอยู่ตลอดนั้น บ่งชี้ได้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเริ่มอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น
1.การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยสามารถกำจัดปลาหมอคางดำ 3,702,038 กิโลกรัม (บ่อเลี้ยง 2,321,964.50 กก. แหล่งน้ำธรรมชาติ 1,380,073.50 กก.) ผ่านโครงการต่าง ๆ
2. การกำจัดปลาหมอคางดำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการปล่อยลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าทั้งสิ้น 743,136 ตัว ได้แก่ ปลากะพงขาว 335,136 ตัว ปลาอีกง 310,000 ตัว ปลาช่อน 58,000 ตัว ปลากราย 20,000 ตัว ปลากดเหลือง 20,000 ตัว
3. การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ ได้บูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปผลิตปลาป่น ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปลาร้า นำไปบริโภคแปรรูป ทำปลาแดดเดียว ปลาหวาน กะปิ น้ำปลา และนำส่งโรงงานลูกชิ้น รวมถึงใช้เป็นปลาเหยื่อ รวมกว่า 3,702,038 กิโลกรัม
4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่กันชน ได้ดำเนินการจัดทำระบบแจ้งตำแหน่งการพบปลาหมอคางดำ สำหรับประชาชน และได้จัดตั้งชุดสำรวจและเฝ้าระวังลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความชุกชุมในพื้นที่เดือนละ 2 ครั้ง
5. สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับปลาหมอคางดำผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม ตลอดจนออกประกาศ ระเบียบ และกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จำนวน 10 ฉบับ
6.การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ มีการจัดทำโครงการ การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n เพื่อให้เกิดหมันในปลาหมอคางดำ และกรมประมงยังได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน 19 เรื่อง เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สวก. และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
7. การฟื้นฟูระบบนิเวศ ได้มีการวางแผนผลิตพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความหลากหลาย เพื่อเตรียมปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ มุ่งเน้นการฟื้นฟูความหลากหลายและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศให้กับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การดำเนินการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำ ตามวาระแห่งชาติของกรมประมงนั้น ได้บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม และดำเนินการอยู่ตลอดในทุกมิติทั้งการป้องกัน กำจัด นำไปใช้ประโยชน์ เยียวยาผลกระทบ ตลอดจนฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งจากข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่กรมประมงเก็บรวบรวมอยู่ตลอดนั้น บ่งชี้ได้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเริ่มอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น