การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รายงานความคืบหน้า การรื้อย้ายซากปรักหักพัง (ข้อมูลเวลา 08.00 น.วันที่ 16/03/2568) จากเหตุการณ์สะพานก่อสร้างทรุดตัว ในพื้นที่ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ช่วงด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดาวคะนอง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 โดยงานรื้อย้ายโดยรวมมีความคืบหน้าไปกว่า ร้อยละ 40 ประกอบด้วย
1. Main truss (คาน โครงสร้างเหล็กเพื่อรับน้ำหนักคอนกรีต) รื้อออกได้ประมาณ ร้อยละ80
2. Tower support (เสาเหล็กรับโครงสร้าง ) รื้อย้ายได้ประมาณ ร้อยละ50
3. H-beam (เหล็กเสริมรับโครงสร้าง)และเหล็กเสริมอื่นๆ รื้อได้ประมาณ ร้อยละ30
4. สกัดคอนกรีตออกได้ประมาณ ร้อยละ40
ทั้งนี้ กทพ. จะเร่งดำเนินการกู้คืนพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเปิดใช้บริการทางพิเศษช่วงดาวคะนอง ถึงด่านสุขสวัสดิ์ฝั่งขาเข้าเมือง โดยต้องมีมาตรฐาน ด้านความปลอดภัยระดับสูง โดยได้ตั้งเป้าเปิดใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ที่ด่านดาวคะนองขาเข้า ภายใน 7 วัน และได้เร่งตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างสะพาน และควบคุมการรื้อย้ายซากปรักหักพังอย่างเข้มงวดโดยทางพิเศษเฉลิมมหานครฝั่งขาออกมุ่งหน้าทางแยกต่างระดับดาวคะนองที่ได้รับความเสียหาย กทพ. จะเร่งดำเนินการซ่อมแซม ให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายใน 30 วัน
สำหรับการชดเชยเยียวยา กทพ. โดยผู้รับเหมาจะดำเนินการจ่ายชดใช้ค่าเสียหายและค่าเยียวยาให้แก่ผู้เสียชีวิตรายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
ขณะนี้ กทพ. ได้สั่งให้ผู้รับจ้างหยุดปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อเร่งสรุปสอบสวนหาสาเหตุ
1. Main truss (คาน โครงสร้างเหล็กเพื่อรับน้ำหนักคอนกรีต) รื้อออกได้ประมาณ ร้อยละ80
2. Tower support (เสาเหล็กรับโครงสร้าง ) รื้อย้ายได้ประมาณ ร้อยละ50
3. H-beam (เหล็กเสริมรับโครงสร้าง)และเหล็กเสริมอื่นๆ รื้อได้ประมาณ ร้อยละ30
4. สกัดคอนกรีตออกได้ประมาณ ร้อยละ40
ทั้งนี้ กทพ. จะเร่งดำเนินการกู้คืนพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเปิดใช้บริการทางพิเศษช่วงดาวคะนอง ถึงด่านสุขสวัสดิ์ฝั่งขาเข้าเมือง โดยต้องมีมาตรฐาน ด้านความปลอดภัยระดับสูง โดยได้ตั้งเป้าเปิดใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ที่ด่านดาวคะนองขาเข้า ภายใน 7 วัน และได้เร่งตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างสะพาน และควบคุมการรื้อย้ายซากปรักหักพังอย่างเข้มงวดโดยทางพิเศษเฉลิมมหานครฝั่งขาออกมุ่งหน้าทางแยกต่างระดับดาวคะนองที่ได้รับความเสียหาย กทพ. จะเร่งดำเนินการซ่อมแซม ให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายใน 30 วัน
สำหรับการชดเชยเยียวยา กทพ. โดยผู้รับเหมาจะดำเนินการจ่ายชดใช้ค่าเสียหายและค่าเยียวยาให้แก่ผู้เสียชีวิตรายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
ขณะนี้ กทพ. ได้สั่งให้ผู้รับจ้างหยุดปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อเร่งสรุปสอบสวนหาสาเหตุ