xs
xsm
sm
md
lg

“หมอดื้อ”เผย mRNA ให้ในขณะทัองเกิดอะไรขึ้น?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า mRNA ให้ในขณะท้อง เกิดอะไรขึ้น?

• ขณะหนูตั้งท้องให้ mRNA สามารถผ่านรก เข้าตัวลูกในท้องและคงตัวในเนื้อเยื่อเด็ก นัยว่า ได้ประโยชน์สองต่อ แม่ก็ได้ ลูกก็ได้
• แต่ วัคซีน ที่ให้ในสตรีท้องพบว่ามีผลข้างเคียงสูงกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย
• และสำหรับลูกที่เกิดมา ทดลองในหนูมี ออทิสติคได้

1-การทดลองในหนู
mRNA-1273 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อแก่หนูที่ตั้งครรภ์สามารถแพร่ในเลือดของแม่ได้อย่างรวดเร็วและผ่านรกภายในหนึ่งชั่วโมงและแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือดของทารกในครรภ์ แม้ว่า mRNA ของสไปก์ในระบบไหลเวียนของทารกในครรภ์จะค่อยๆ หายไปภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่สามารถสะสมในเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะที่ตับและถูกแปลเป็นโปรตีน
สไปก์
mRNA-1273 ที่ผ่านรกพิสูจน์แล้วว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในทารกในครรภ์ได้ เนื่องจากหลังคลอดจะมี IgM ต่อต้านสไปก์ IgG2a แบบออลโลไทป์ของพ่อ (paternal allotypic antibody) และภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ต่อต้านสไปก์ที่เพิ่มขึ้น mRNA-1273 ที่ให้ขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการถ่ายโอนผ่านรกและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในทารกในครรภ์ตามขนาดยา โดยปริมาณ mRNA-1273 ที่มากขึ้นจะส่งผลให้ mRNA-1273 ผ่านรกได้มากขึ้นและระดับไทเตอร์ของ IgM/IgG ต่อต้านสไปก์ภายในร่างกายที่ทารกในครรภ์สร้างขึ้นในซีรั่มสูงขึ้น ดังนั้น การฉีดวัคซีน mRNA-1273 ระหว่างตั้งครรภ์แก่มารดาอาจช่วยให้ทารกแรกเกิดได้รับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไม่เพียงแต่ผ่านจากเท่านั้น แต่ทารกยังพัฒนาการสร้างภูมิเองได้

https://www.cell.com/molecular-therapy-family/nucleic-acids/pdf/S2162-2531(25)00043-5.pdf

สรุปจากรายงาน เด็กได้โดย อัตโนมัติผ่านจากแม่ ตามรายงานนี้ ได้“ประโยชน์”สองต่อแม่ก็ได้ ลูกก็ได้ วัคซีนไปด้วย โดยวัคซีนยังฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของลูก
แต่ ถ้าพิจารณาถึงสิ่งที่อาจไม่พึงประสงค์ อันอาจจะเกิดขึ้น ทั้งแม่ที่ตั้งท้องตามรายงานในคน

2- ในคนท้อง (เรียบเรียงโดย นพ.ดร. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ)
รวบรวมข้อมูลจาก CDC/FDA Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS)
ตั้งแต่ 1 มกราคม 1990 ถึง 26 เมษายน 2024 เพื่อดูผลข้างเคียง (adverse effect, AE) ของวัคซีนโควิดที่มีต่อสตรีตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่น รวมระยะเวลาทั้งหมด 412 เดือน ยกเว้นวัคซีนโควิดที่เก็บรวบรวมได้แค่ 40 เดือนจาก 412 เดือน (1 ธันวาคม 2020 ถึง 26 เมษายน April 2024) โดยดู proportional reporting ratios (PRR) ตามระยะเวลา เปรียบเทียบ AEs ระหว่างวัคซีนโควิดที่มีต่อสตรีตั้งครรภ์กับวัคซีนชนิดอื่น ในกรณีที่หา PRR ไม่ได้ก็ใช้ Chi-square analysis และ Fisher’s exact tests แทน โดยยึดข้อกำหนดตาม CDC/FDA safety concern คือต้องระวังเรื่องความปลอดภัย
ถ้า PRR ≥ 2 หรือ Chi-square ≥ 4
พบ 37 AE จากการฉีดวัคซีนโควิดในผู้ตั้งครรภ์ ได้แก่ :
miscarriage, fetal chromosomal abnormality, fetal malformation, cervical insufficiency, premature rupture of membranes, premature labor, premature delivery, placental calcification, placental infarction, placental thrombosis, placenta accreta, placental abruption, placental insufficiency, placental disorder, fetal maternal hemorrhage, fetal growth restriction, reduced amniotic fluid volume, preeclampsia, fetal heart rate abnormality, fetal cardiac disorder, fetal vascular mal-perfusion, fetal arrhythmia, fetal distress, fetal biophysical profile abnormal, hemorrhage in pregnancy, fetal cardiac arrest, fetal death (stillbirth), premature infant death, neonatal asphyxia, neonatal dyspnea, neonatal infection, neonatal hemorrhage, insufficient breast milk, neonatal pneumonia, neonatal respiratory distress, neonatal respiratory distress syndrome, neonatal seizure.
ขออนุญาตไม่แปลเป็นภาษาไทยทั้งหมดเพราะอาจสื่อความหมายได้ไม่ชัดเจน แต่สำหรับผู้ที่สนใจหาข้อมูลก็สามารถหาคำแปลภาวะต่างๆด้านบนได้ไม่ยาก
Summary statistics for the deviation from the CDC/FDA safety signals mean (n, range) เป็นดังนี้: PRR 69.3 (46, 5.37 - 499); z statistic 9.64 (46, 3.29 - 27.0); และ Chi-square was 74.7 (26, 28.9 - 148)
จะเห็นได้ว่าผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิดในสตรีตั้งครรภ์สูงกว่า safety concern ที่ CDC/FDA กำหนดไว้มาก
และมีอีก 1 รายงานผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิดที่มีต่อสตรีมีครรภ์จากการรวบรวมเคส 438 รายในประเทศซาอุดิอาระเบีย ช่วง มีค.-พค. 2022 โดยแบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม A คือสตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่เข็มเดียว กลุ่ม B คือได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เข็ม พบว่ากลุ่ม B มีอัตราการแท้ง น้ำคร่ำน้อย รกผิดปกติ การเจริญเติบโตของทารกผิดปกติ มีปัญหาเรื่องการให้นม ความดันโลหิตสูง อาการอื่นๆทางระบบ เช่น อ่อนเพลียปวดหัวเจ็บหน้าอก การหายใจมีปัญหา มีปัญหาการนอนหลับ มากกว่ากลุ่ม A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
https://www.preprints.org/manuscript/202406.2062/v1

https://journals.sagepub.com/doi/epdf/10.1177/25151355241285594?utm_source=substack&utm_medium=email

3-วัคซีนโควิดไฟเซอร์ทำให้เกิดautism ในสัตว์ทดลอง
รายงานใน วารสาร Neurochemical Research วันที่ 10 มกราคม 2024
สัตว์ทดลอง ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในหนูท้อง
ลูกเกิดมาโดยเฉพาะตัวผู้ มีอาการ autism และการเคลื่อนไหวผิดปกติ
เซลล์สมองจำนวนลดลงผิดปกติ อย่างมากในส่วน สมองความจำ อารมณ์ hippocampus และ ในสมอง cerebellum โดยที่ purkinje cell มีจำนวนลดลงอย่างมาก
แต่หนูตัวเมียไม่ได้รับผล
กระทบเช่นนี้ชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตาม
ฮอร์ โมน BDNF ในสมองผิดปกติในทั้งสองเพศ และ WNT ยีน ที่แสดงออกในสมอง ผิดปกติในตัวผู้แต่ปกติในตัวเมีย

BDNF เป็นโปรตีนที่สำคัญในสมองที่กระตุ้นให้เกิดมีเซลล์สมองโตขึ้นใหม่ ป้องกันไม่ให้เซลล์สมองเสื่อมสลายตายไปเร็ว และช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพสมอง
โปรตีนตัวนี้ถ้าผิดปกติลดระดับลง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการทางสมองกับโรคอัลไซเมอร์และโรคที่มีสารสื่อประสาทผิดปกติ

ขณะเดียวกัน การแสดงออกของยีน WNT มีความผิดปกติอย่างมากในหนูตัวผู้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่หนูตัวเมียที่เกิดมาไม่มีความผิดปกติเช่นนี้ชัดเจน