นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 4/2567 โดยมีนายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย ผู้แทนกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมประชุม
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 ภายใต้แนวคิด “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มแล้วขับ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งกับตัวผู้ดื่มและผู้อื่น จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน พบว่า การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2567 มาจากการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุการตาย อันดับสอง รองจากความเร็ว ส่วนรถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถจักรยานยนต์และจากข้อมูลจากระบบรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ กระทรวงสาธารณสุข (PHER plus) พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 (ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2566 – 4 ม.ค. 2567) มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 25,830 ราย และเสียชีวิต 374 ราย สาเหตุจากการดื่มแล้วขับ 4,777 ราย โดยเป็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 569 ราย รัฐบาลจึงตั้งใจให้สถิติในช่วงปีใหม่ 2568 ลดลง
ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้มีมติขยาย 7 วัน เฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากเดิม 27 ธันวาคม 2567 – 2 มกราคม 2568 เพิ่มเป็น 10 วัน คือตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2568 ภายใต้แนวคิด “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มแล้วขับ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งกับตัวผู้ดื่มและผู้อื่น จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน พบว่า การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2567 มาจากการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุการตาย อันดับสอง รองจากความเร็ว ส่วนรถที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รถจักรยานยนต์และจากข้อมูลจากระบบรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ กระทรวงสาธารณสุข (PHER plus) พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 (ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2566 – 4 ม.ค. 2567) มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 25,830 ราย และเสียชีวิต 374 ราย สาเหตุจากการดื่มแล้วขับ 4,777 ราย โดยเป็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 569 ราย รัฐบาลจึงตั้งใจให้สถิติในช่วงปีใหม่ 2568 ลดลง
ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้มีมติขยาย 7 วัน เฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากเดิม 27 ธันวาคม 2567 – 2 มกราคม 2568 เพิ่มเป็น 10 วัน คือตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568