นายพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P Global Ratings (S&P) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) S&P คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตจากร้อยละ 1.9 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 2.8 และ 3.1 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจีดีพีแท้จริง (Real GDP Growth) เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ในช่วงปี 2567-2570 ขณะที่สัดส่วนการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP เฉลี่ยร้อยละ 3.3 ในช่วงปี 2568-2569
S&P มองว่ารัฐบาลไทยยังคงเน้นการลงทุนตามยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาเขตอีอีซี และโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยคาดว่าการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) จะช่วยขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยหนี้ภาครัฐบาลสุทธิต่อ GDP คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในปี 2568 ส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโอนเงิน 10,000 บาท คาดว่าตั้งแต่ปี 2567-2570 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงเกินดุลเฉลี่ยร้อยละ 2.3 จากการฟื้นตัวของภาคส่งออก
สำหรับภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ช่วยหนุนเศรษฐกิจในระยะ 2 ปีข้างหน้า ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 มียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 28.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.3 เทียบกับปีก่อน ปัจจัยสำคัญ S&P จะติดตาม Credit Rating ของไทย คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้ระดับเดียวกัน และเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ หากการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง จะมีผลให้อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ A- โดยเฉพาะปัจจัยทางการเมือง ควรกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ