นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไทยยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ ทำให้จึดีพีไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ ไม่เติบโตสูงเหมือนกับหลายประเทศ จากหนี้สินภาคครัว หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง ประสิทธิภภาพการผลิตภาคเอกชน กระทบกำลังซื้อประชาชน ส่งผลมายัง รายได้ภาษีของรัฐบาล แม้ว่าปัญหาโควิด-19 ผ่อนคลายหายไปแล้ว GDP ของประเทศอื่นเติบโตกว่าร้อยละ 5 แต่จีดีพีของไทยโตขยายตัวเพียงร้อยละ 2 กระทรวงคลัง จึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจผลักดันจีดีพีโตร้อยละ 5 ควบคู่ไปกับมาตรการระยะสั้นอื่น และต้องกู้เงินมาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็น ไม่ให้กระทบต่อ Credit Rating ของประเทศ เพื่อดูแลฐานะการคลังของประเทศจะยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต
ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังหารือกับสำนักงบประมาณ ประมาณการณ์รายได้และจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2569 ยอมรับต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยต้องทยอยกู้เงินลดลง เมื่อจีดีพีไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ ต้องใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วย ผ่านนโยบายปรับโครงสร้างภาษี การขับเคลื่อน Digital Transformations ผ่านคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งเป็นหัวใจในการปฏิรูปเศรษฐกิจ กระทรวงคลังจึงเตรียมแผน "Quick Win" ผ่าน โมเดล "อารีย์สกอร์" นำข้อมูลทุกมิติ มาวิเคราะห์ผ่าน AI ทำให้เข้าใจพฤติกรรมคนไทยให้ถูกทาง
กระทรวงการคลัง จึงเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษี หวังทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งโดยต้องประเมินหลายมิติ ไม่ใช่เพียงการปรับเพิ่มภาษีเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้เศรษฐกิจช็อกได้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยยื่นแบบภาษีเงินได้พึงประเมิน 11 ล้านคน เพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านคนเท่านั้น นับว่าขยายฐานภาษีได้น้อยมาก รัฐบาลได้ออกมาตรการยกเว้นภาษี และลดหย่อนภาษีจำนวนมาก สำหรับประชาชนมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทแรกต่อปี ยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเทียบกั เงินได้รายนเดือนไม่ถึง 28,000บาท ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อนำมาหักลดหย่อนผ่านหลายมาตรการ ทั้งเงินกู้ซื้อบ้าน กองทุนรวม เงินทำบุญ คลัง จึงศึกษาแนวทาง การปรับลดภาษีเงินนิติบุคคล
ตามบริบทของสังคมโลกในปัจจุบัน ไทยควรปรับเพิ่มภาษีเพื่อการบริโภคกับภาษีทรัพย์สิน โดยจัดเก็บจากความมั่งคั่งของแต่ละคน จากการใช้จ่ายและการเก็บทรัพย์สินสะสมความมั่งคั่งเอาไว้ ดังนั้น การปรับโครงสร้างภาษี สำหรับการบริโภค และภาษีทรัพย์สิน จึงต้องนำมาจัดเก็บภาษีเงินได้แบบขั้นบันได การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภค ไม่ว่าคนจน คนรวย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเดียวกัน คนจนใช้จ่ายน้อยตามรายได้ ขณะที่คนรวย ใช้จ่ายตามกำลังซื้อสูง รูปแบบการใช้จ่ายเงินจึงไม่เหมือนกัน เมื่อปรับเพิ่ม ภาษีเพื่อการบริโภค จึงต้องหาทางเยียวยาช่วยเหลือตัวเล็ก หรือ กลุ่มเปราะบาง เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีเงินใช้จ่ายบริโภคได้มากขึ้น เช่น รัฐบาลปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท ต้องแบ่งไปช่วยคนจน 30 บาท ส่วนที่เหลือ เก็บเข้าคลังนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
สำหรับแนวทางเก็บภาษีทรัพย์สินกระทรวงการคลัง ต้องศึกษารายละเอียด รอบคอบปัจจุบันภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ ลดลงเหลือร้อยละ 15 รองรับข้อตกลงกับ OECD ตามต้องตกลงของกรมสรรพากรทั่วโลก นับว่าอยู่ในระนาบเดียวกับประเทศสิงคโปร์ ประเทศสมาชิก OECD จะมีรายได้จากประเทศไหน กรมสรรพากรทราบข้อมูลทั้งหมด นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา ถือเป็นครั้งแรก ของกรมสุรรพากรต้องส่งข้อมูลรายได้ และธุรกรรมทางการเงินของชาวต่างชาติ เข้ามาทำงานในประเทศไทยทุกธนาคาร ส่งไปให้กรมสรรพากรต่างประเทศสมาชิก OECD ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรไทย จะได้ข้อมูลของคนไทย นำงเินไปลงทุนในต่างประเทศ และมีรายได้ของผู้เสียภาษีได้ทั่วโลก ขณะนี้ OECD ดึงหมู่เกาะ ที่ยกเว้นภาษี หรือที่เรียกว่า "Tax Haven" อาทิ เกาะเคย์แมน บริติชเวอร์จิน มอลตา มอร์ริเชียส เข้ามาเป็นสมาชิกด้วย ขณะนี้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก OECD ลำดับที่ 140
แนวทางการปรับโครงสร้างภาษี "NegativeIncome Tax" หรือ NIT จึงถูกนำมาปัดฝุ่นผลันดันนโยบายให้สำเร็จ และมองว่าจะตอบโจทย์เรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ รองรับการจัดทำฐานข้อมูล Big Data เพื่อให้รับรู้รายได้ของ ประชาชนทุกคนในประเทศ คนไทยไม่จำเป็นต้องมานั่งลงทะเบียน เพื่อขอรับสวัสดิการจากรัฐในทุก 2 ปีอีกต่อไป เพราะรัฐบาลสามารถ Update ข้อมูลได้ทุกๆ 3 เดือน หากใครมีเงินได้ระหว่างทางเกิดขึ้น จนทำให้มีรายได้รวมถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี กลุ่มดังกล่าวจะหลุดออกจากระบบสวัสดิการ เข้าสู่ระบบภาษีโดยอัตโนมัติ จึงเรียกว่า Negative Income Tax เพื่อดูแลระบบการเบิกจ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการ ลดความซ้ำซ้อน ช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า และไม่จำเป็นต้องได้รับสวัสดิการเหมือนกันทุกคน ปัจจุบันผู้รับสวัสดิการจากรัฐ 14.5 ล้านคน เมื่อรวมกับประชาชน ผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี 11 ล้านคน ทำให้ประชาชนเข้ามาในระบบภาษีทั้งหมด 25 ล้านคน การใช้ระบบ AI ในปัจจุบัน จึงทำให้การใช้ประโยชน์จาก Big Data มาใช้ตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างแม่นยำ