ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (22 ต.ค.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง ผู้ประกันตนตาม ม.33 และผู้ประกันตน ม.39 ในห้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบ มีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม 2568 ดังนี้
มาตรา 33 กรณีนายจ้าง ซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตาม ม.33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละ 5% เป็นอัตราฝ่ายละ 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน
มาตรา 39 กรณีผู้ประกันตนตาม ม.39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตรา 9% เป็นอัตรา 5.90% ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท
ทั้งนี้ เนื่องจากกำหนดเดิมในงวดของเดือนนั้น จะต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตาม ม.39 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่น ในงวดเดือนกันยายน 2567 ต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ซึ่งตามร่างประกาศฉบับนี้กำหนดให้ขยายเวลาส่งเงิน ในงวดเดือน ก.ย. ต.ค. พ.ย. และ ธ.ค.2567 เป็นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 วันที่ 15 มีนาคม 2568 และวันที่ 15 เมษายน 2568 ตามลำดับ
สำหรับร่างประกาศกระทรวงแรงงาน ทั้ง 2 ฉบับ. ใช้บังคับกับนายจ้างและผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติตามประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค - 1 ต.ค.2567 จำนวน 42 จังหวัด เท่านั้น
มาตรา 33 กรณีนายจ้าง ซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตาม ม.33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละ 5% เป็นอัตราฝ่ายละ 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน
มาตรา 39 กรณีผู้ประกันตนตาม ม.39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตรา 9% เป็นอัตรา 5.90% ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท
ทั้งนี้ เนื่องจากกำหนดเดิมในงวดของเดือนนั้น จะต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตาม ม.39 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่น ในงวดเดือนกันยายน 2567 ต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ซึ่งตามร่างประกาศฉบับนี้กำหนดให้ขยายเวลาส่งเงิน ในงวดเดือน ก.ย. ต.ค. พ.ย. และ ธ.ค.2567 เป็นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 วันที่ 15 มีนาคม 2568 และวันที่ 15 เมษายน 2568 ตามลำดับ
สำหรับร่างประกาศกระทรวงแรงงาน ทั้ง 2 ฉบับ. ใช้บังคับกับนายจ้างและผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติตามประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค - 1 ต.ค.2567 จำนวน 42 จังหวัด เท่านั้น