ตามที่ได้มีข้อความเกี่ยวกับเรื่องสาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสีย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความบนสื่อออนไลน์โดยระบุว่า สาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสียนั้น ทางกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากพายุ “ซูลิค” ในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปิง ก่อนปริมาณน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิงตอนล่างผ่านฝายดอยน้อย ซึ่งได้ยกบานประตูน้ำ เพื่อเร่งระบายลงสู่พื้นที่ตอนล่างไปลงเขื่อนภูมิพลตามลำดับ ต่อมาพบว่า มีท่อนซุงเข้ามาชนสายสลิงที่ อยู่ด้านหน้าบานระบายของฝายดอยน้อย ทำให้สลิงขาด โครงการชลประทานเชียงใหม่ได้เร่งเข้าไปแก้ไขด้วยการนำสลิงที่ขาดมาเกี่ยวกับหูบานด้านหลังของประตูระบายน้ำ เพื่อให้บานระบายสามารถยกขึ้นได้ โดยสลิงที่ขาดมีจำนวน 5 บาน ที่สามารถยกบานขึ้นได้ที่ 2.5 - 3 เมตร ส่วนบานประตูที่สลิงไม่ขาดสามารถยกขึ้นได้สูงสุดที่ 6 เมตร
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความบนสื่อออนไลน์โดยระบุว่า สาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสียนั้น ทางกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากพายุ “ซูลิค” ในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปิง ก่อนปริมาณน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิงตอนล่างผ่านฝายดอยน้อย ซึ่งได้ยกบานประตูน้ำ เพื่อเร่งระบายลงสู่พื้นที่ตอนล่างไปลงเขื่อนภูมิพลตามลำดับ ต่อมาพบว่า มีท่อนซุงเข้ามาชนสายสลิงที่ อยู่ด้านหน้าบานระบายของฝายดอยน้อย ทำให้สลิงขาด โครงการชลประทานเชียงใหม่ได้เร่งเข้าไปแก้ไขด้วยการนำสลิงที่ขาดมาเกี่ยวกับหูบานด้านหลังของประตูระบายน้ำ เพื่อให้บานระบายสามารถยกขึ้นได้ โดยสลิงที่ขาดมีจำนวน 5 บาน ที่สามารถยกบานขึ้นได้ที่ 2.5 - 3 เมตร ส่วนบานประตูที่สลิงไม่ขาดสามารถยกขึ้นได้สูงสุดที่ 6 เมตร