xs
xsm
sm
md
lg

พท.เปิดรายละเอียดนโยบายสร้างรายได้ใหม่ของรัฐ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจพรรคเพื่อไทย โพสต์ระบุว่า นำเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน ในนโยบายเร่งด่วน นโยบายที่ 4 “รัฐบาลจะสร้างรายได้ใหม่ของรัฐด้วยการนําเศรษฐกิจนอกระบบภาษี (Informal Economy) และเศรษฐกิจใต้ดิน (Underground Economy) เข้าสู่ระบบภาษี ที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงกว่า 50% ของ GDP

รัฐบาลสามารถนำรายได้ส่วนนี้ไปจัดสรรสวัสดิการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสาธารณูปโภค รวมทั้งอุดหนุนค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานของประชาชน

ขณะเดียวกัน จะปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน”

คือส่วนหนึ่งในคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อ 12 กันยายน 2567

เศรษฐกิจใต้ดิน คือ การสร้างรายได้ในรูปแบบที่ผิดกฎหมาย หรือกฎหมายไม่รองรับ เข้าสู่ระบบ ซึ่งอาจหมายความรวมถึง Entertainment complex , Sex worker รวมถึงการขยายเวลาสถานบันเทิง ขายสุรา หรือทบทวนการโซนนิ่งสถานบันเทิง

[Entertainment complex เคยมีการศึกษาแล้ว และไปต่อ ]

ประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามที่จะนำเศรษฐกิจที่กฏหมายไม่รองรับ นำมาบริหารจัดการโเยภาครัฐ แต่มักสุดท้ายมักจะไม่สำเร็จ เนื่องด้วยบริบทของสังคมที่ยังไม่เปิดเท่าที่ควร แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลที่ผ่านมามีความพยายามที่จะศึกษาความเป์นไปได้ในเรื่องนี้

วันที่ 24 มีนาคม 2562 – 20 มีนาคม 2566 สส.ยื่นญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) การจัดเก็บรายได้และภาษีจากธุรกิจกาสิโนถูกกฎหมาย และมาตรการในการป้องกัน

จากนััน กมธ.ได้นำเสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษาต่อสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ก่อนที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลง เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 – ปัจจุบัน ในสมัยสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 ซึ่งผลการศึกษาเสร็จแล้ว เมื่อ 18 มีนาคม 2567

เนื้อหาบางส่วนของผลการศึกษาดังกล่าว ดังนี้

ผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง ศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (ENTERTAINMENT COMPLEX) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (ENTERTAINMENT COMPLEX) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

ผลการศึกษา ระบุว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่อุตสาหกรรมในกลุ่ม Fun economy ซึ่งรวมตั้งแต่การท่องเที่ยว กีฬา สถานบันเทิง ธุรกิจการ จัดประชุมและจัดนิทรรศการ (MICE)

[Entertainment Complex สร้างรายได้ใหม่ผ่านแหล่งท่องเที่ยว Man made]

อุตสาหกรรมในกลุ่ม Fun economy ทั่วโลก มีขนาดมูลค่าการตลาดที่สูงถึง 13.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถต่อยอดอุตสาหกรรม Fun economy ได้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่และเพิ่มเติมรายได้เข้าประเทศ หนึ่งในนั้นคือการนำธุรกิจกาสิโนและการพนันถูกกฎหมายให้เข้ามาอยู่ในระบบอย่างมีมาตรฐาน ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย และมีการจัดเก็บรายได้และภาษีอย่างถูกต้อง

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังระบุว่าในปี 2565 ทั่วโลกมีมูลค่าสถานบันเทิงครบวงจรประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2571 คาดว่าจะเติบโตถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

[Entertainment complex ไม่ใช่แค่ Casino ]

สถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) ขนาดใหญ่ ที่อาจประกอบด้วยธุรกิจต่าง ๆ เช่น

1.ห้างสรรพสินค้าครบวงจร
2. โรงแรมระดับ 5 ดาว
3. ร้านอาหารและบาร์
4.ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการขนาดใหญ่ (MICE)
5.ศูนย์สุขภาพครบวงจร
6.สนามกีฬา
7. ยอร์ชและครูซซิ่งคลับ
8. สถานที่เล่นเกม
9. สระว่ายน้ำ และสวนน้ำ
10. สวนสนุก
11. พื้นที่สำหรับส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และสินค้า OTOP
12. กิจกรรมอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด

[การบริหารจัดการ ต้องทำโดยมืออาชีพ หน่วยงานของรัฐกำกับ]

(1) ธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรจะต้องเป็นดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่เป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำสถานบันเทิงครบวงจร หรือกิจการที่เกี่ยวข้องมาก่อน ปราศจากความเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมและการทุจริต และผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล

(2) ผู้เล่นการพนันต้องได้รับทราบข้อมูล และสามารถมั่นใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบ

(3) ต้องมีบทบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชน และบุคคลที่ขาดความสามารถในการปกป้องตนเอง

(4) ต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลกิจการพนัน (Gambling Commission) ที่น่าเชื่อถือ

(5) ต้องมีกลไกป้องกันและลดผลกระทบจากการพนันที่ครอบคลุมพร้อมปฏิบัติ
ตลอดเวลา

(6) ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลดผลกระทบจากการพนัน รวมถึงการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการเล่นพนัน

(7) ต้องมีการจัดเก็บภาษีโดยรัฐบาล และผู้ประกอบการจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานการพนันอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Gambling standard)

[Entertainment complex มีทั้งผลกระทบเชิงบวก และลบ]

ผลกระทบเชิงบวก

1.รัฐสามารถสร้างรายได้จากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจากธุรกิจสถานบันเทิงแบบครบวงจรและกาสิโน เป็นจำนวนปีละหลายแสนล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมาการตั้งบ่อนกาสิโนเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามกฎหมายภายในประเทศ ทำให้คนไทยต้องเดินทางไปเล่นการพนันที่ถูกกฎหมายยังประเทศอื่น ๆ

2. ถ้ารัฐมีการส่งเสริมให้มีสถานบันเทิงแบบครบวงจรและกาสิโนในประเทศไทย
ให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จะส่งผลให้ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นรัฐมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ รวมถึงรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวของประชาชน

3.หากมีการสร้างสถานบันเทิงแบบครบวงจรและกาสิโนในประเทศ รัฐจะสามารถสร้างงานให้กับประชาชนได้เป็นจำนวนมาก ทั้งแรงงานโดยตรงที่ทำงานในสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งแรงงานในภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจภาคการก่อสร้าง และภาคบริการ และอาหารการกิน เป็นต้น

4. การลดภาระของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการปราบปรามการพนันเถื่อน การช่วยลดปัญหาผู้มีอิทธิพล และลดปัญหาประชาชนนำเงินออกไปเล่นการพนันนอกประเทศ เป็นต้น

ผลกระทบเชิงลบ เช่น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมได้หากรัฐไม่มีมาตรการควบคุมสถานกาสิโนอย่างเข้มงวดและโปร่งใส เช่น สังคมเสื่อมศีลธรรม ปัญหาฉ้อโกง ปล้น ลักทรัพย์ การก่ออาชญากรรมตลอดจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว

[ข้อเสนอแนะ ของ กมธ.ที่น่าสนใจ]

1.มีการกำหนดอัตราส่วนพื้นที่ธุรกิจกาสิโนต่อพื้นที่ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเหมาะสม

2.ต้องมีใบอนุญาติจำกัดระยะเวลา เช่น 20ปี และมีการต่ออายุทุกๆ 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

3.ควรจะมีการตั้ง “ภาษีกาสิโน” โดยเฉพาะ โดยคิดจากรายได้ขั้นต้นจากการเล่นพนัน (Gross Gaming Revenue; GGR) กล่าวคือ รายได้หลังการหักค่าใช้จ่าย
เบื้องต้นที่ผู้ประกอบการได้จากผู้เล่นที่วางเดิมพัน

4.ต้องมีกฏหมายควบคุม โดยต้องมีร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ....คณะกรรมาธิการเห็นว่า เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความมั่นคงยิ่งขึ้น

[ผลการศึกษา ผลักดันให้มี Entertainment complex โดยมีกฎหมายควบคุม รัดกุม]

1.ควรจะมีการผลักดันให้มีสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) ให้เกิดขึ้น

2.อยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ผ่านกลไกมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็น คือ การมีกฎหมายเฉพาะด้านสำหรับเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการกำกับดูแลดังกล่าว เช่น

กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางของนโยบายรวมถึงมาตรการกลไกและองคาพยพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงครบวงจร ให้สามารถที่จะขับเคลื่อนไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยกันอย่างเกิดผลสัมฤทธิ์

3.คณะกรรมาธิการจึงได้ยกตัวอย่างร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. …. ขึ้นมาหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นแนวทางการกำกับดูแลและการควบคุมการดำเนินงานของการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรในภาพรวม

[Sex worker และการขยายเวลาการเปิดสถานบริการ และขายสุรา รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย สนับสนุนผลักดันเรื่องนี้]
ปัจจุบันได้เริ่มมีการศึกษา Sex worker ผ่าน ‘คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาสถานบันเทิงและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ สภาผู้แทนราษฎร’ มีขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธานคณะ กมธฯ ได้ทำการศึกษาและลงพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนผู้ใช้บริการและหารือกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และทุกฝ่าย เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลและเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาที่มีความสมบูรณ์ครบทุกมิติเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
1.หาจุดร่วมตรงกลางระหว่างผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ได้รับผลกระทบจากการขยายเวลาเปิดสถานบันเทิง
2.ปิดช่องการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีการเรียกรับผลประโยชน์
3.พิจารณาประเด็นเวลาเปิด-ปิดของสถานบันเทิง เพื่อศึกษาให้เปิดสถานบันเทิงถึงเวลา 04.00 น. ในจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงอายุของคนทำงาน และมาตรการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
4.พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงข้อกฏหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี

รายได้ที่อยู่ใต้ดิน มากกว่า 50% ของ GDP หากนำขึ้นมาอยู่บนดินได้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น แต่หมายความรวมถึงรายได้ของรัฐจากการจัดเก็บภาษี จะเพิ่มมากขึ้น รายได้จากภาษีส่วนนี้สามารถแปลงค่ามาเป็นการพัฒนาในด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อไทย เพื่อคนไทยทุกคน