นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวก่อนการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (กรรมการไตรภาคี หรือบอร์ดค่าจ้าง) โดยมีการพิจารณาวาระสำคัญ คือการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ครั้งที่ 3 ของปี 2567 ว่า ต้องดูที่ประชุมมาครบองค์ประชุมหรือไม่ โดยในที่ประชุมจะมีการหยิบยกเรื่องของอัตราค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการขึ้นราคาเข้าไปพิจารณาด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา ลืมนำอัตราในส่วนนี้เข้าไปร่วมคำนวณ
อย่างไรก็ตาม การลงมติในวันนี้ (20 ก.ย.) จะต้องเป็นกรรมการโดยตรงเท่านั้น ผู้แทนไม่สามารถร่วมลงมติได้ และการลงมติจะต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของกรรมการค่าจ้างทั้งหมด
สำหรับแนวทางนั้น ตั้งเป้าขึ้น 400 บาททั่วประเทศ แต่จะต้องพิจารณาเรื่องขนาดธุรกิจว่าธุรกิจใดสามารถขึ้นได้ และธุรกิจใดยังคงเดิม โดยเฉพาะ SME และบริษัทที่มีสายป่านไม่ยาว ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ส่วนบริษัทใหญ่น่าจะไม่มีปัญหา จำเป็นที่จะต้องขึ้น
อย่างไรก็ตาม การลงมติในวันนี้ (20 ก.ย.) จะต้องเป็นกรรมการโดยตรงเท่านั้น ผู้แทนไม่สามารถร่วมลงมติได้ และการลงมติจะต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของกรรมการค่าจ้างทั้งหมด
สำหรับแนวทางนั้น ตั้งเป้าขึ้น 400 บาททั่วประเทศ แต่จะต้องพิจารณาเรื่องขนาดธุรกิจว่าธุรกิจใดสามารถขึ้นได้ และธุรกิจใดยังคงเดิม โดยเฉพาะ SME และบริษัทที่มีสายป่านไม่ยาว ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ส่วนบริษัทใหญ่น่าจะไม่มีปัญหา จำเป็นที่จะต้องขึ้น