กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ส่งกำลังเร่งเข้าฟื้นฟูพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่สถานการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว ส่วนพื้นที่จังหวัดหนองคายระดับน้ำยังเพิ่มขึ้นได้ระดมสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง สั่งการสำรวจพื้นที่เตรียมเยียวยาผู้ประสบภัยตามระเบียบหลักเกณฑ์ฯ
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายระดับน้ำได้ลดลงบ้างแล้ว โดยระยะนี้เป็นต้นไปจะเริ่มเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูพื้นที่ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานทหาร ตำรวจ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครมูลนิธิ กระจายกำลังพลพร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อฟื้นฟูทำความสะอาดถนน อาคารบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอแม่สาย วันนี้ทางศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมรถบรรทุกเครื่องสูบส่งระยะไกลทำการสูบน้ำในลำน้ำสายฉีดล้างดินโคลนเพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านหน้าด่านพรมแดนด่านแม่สายและบ้านเรือนประชาชนบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้โดยเร็วที่สุด สำหรับพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วม ปภ.ยังคงให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนทางอากาศยาน และการสนับสนุนภาคพื้นในการขนส่ง-อพยพผู้ประสบภัย การลำเลียงสิ่งของอุปโภคบริโภค และการให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพเบื้องต้นด้วยการแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ
ในส่วนสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดหนองคาย ณ วันที่ 16 ก.ย.67 ซึ่งเกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมือง และ อ.รัตนวาปี รวม 5 อำเภอ 18 ตำบล 77 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,528 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมกำลังพลและเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทางภาคอีสานลงช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติภารกิจอยู่ในพื้นที่ต่างๆ แล้ว ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยวันนี้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 ขอนแก่น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณวัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ รวมไปถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี ได้เข้าทำการช่วยเหลือประชาชน
ทั้งการอพยพคนและสัตว์ การติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยรองรับน้ำโขงที่ล้นตลิ่งท่วมริมฝั่งน้ำโขงเพื่อทำการระบายน้ำในจุดสำคัญ และการสนับสนุนสิ่งของดำรงชีพเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
“ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้เน้นย้ำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เร่งทำการสำรวจความเสียหาย โดยการให้ความช่วยเหลือในระยะแรกจะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน เมื่อไม่เพียงพอหรือเกินขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจะใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยผู้ประสบอุทกภัยจะได้รับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินฯ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้าเร่งด่วน ไม่ได้เป็นการชดใช้ความเสียหายทั้งหมด อาทิ การให้ความช่วยเหลือกรณีผู้เสียชีวิต เป็นเงินค่าจัดการศพ รายละไม่เกิน 29,700 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว จ่ายเงินสงเคราะห์เพิ่มอีกไม่เกิน 29,700 บาท บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังช่วยเหลือเป็นค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำหลังละไม่เกิน 49,500 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เสียหายก็จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่าผู้ประสบภัยจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว” อธิบดี ปภ. กล่าว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายระดับน้ำได้ลดลงบ้างแล้ว โดยระยะนี้เป็นต้นไปจะเริ่มเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูพื้นที่ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานทหาร ตำรวจ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครมูลนิธิ กระจายกำลังพลพร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อฟื้นฟูทำความสะอาดถนน อาคารบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอแม่สาย วันนี้ทางศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมรถบรรทุกเครื่องสูบส่งระยะไกลทำการสูบน้ำในลำน้ำสายฉีดล้างดินโคลนเพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านหน้าด่านพรมแดนด่านแม่สายและบ้านเรือนประชาชนบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้โดยเร็วที่สุด สำหรับพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วม ปภ.ยังคงให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนทางอากาศยาน และการสนับสนุนภาคพื้นในการขนส่ง-อพยพผู้ประสบภัย การลำเลียงสิ่งของอุปโภคบริโภค และการให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพเบื้องต้นด้วยการแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ
ในส่วนสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดหนองคาย ณ วันที่ 16 ก.ย.67 ซึ่งเกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมือง และ อ.รัตนวาปี รวม 5 อำเภอ 18 ตำบล 77 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,528 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมกำลังพลและเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทางภาคอีสานลงช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติภารกิจอยู่ในพื้นที่ต่างๆ แล้ว ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยวันนี้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 ขอนแก่น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณวัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ รวมไปถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 14 อุดรธานี ได้เข้าทำการช่วยเหลือประชาชน
ทั้งการอพยพคนและสัตว์ การติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยรองรับน้ำโขงที่ล้นตลิ่งท่วมริมฝั่งน้ำโขงเพื่อทำการระบายน้ำในจุดสำคัญ และการสนับสนุนสิ่งของดำรงชีพเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
“ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้เน้นย้ำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เร่งทำการสำรวจความเสียหาย โดยการให้ความช่วยเหลือในระยะแรกจะใช้จ่ายจากเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน เมื่อไม่เพียงพอหรือเกินขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจะใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยผู้ประสบอุทกภัยจะได้รับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินฯ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้าเร่งด่วน ไม่ได้เป็นการชดใช้ความเสียหายทั้งหมด อาทิ การให้ความช่วยเหลือกรณีผู้เสียชีวิต เป็นเงินค่าจัดการศพ รายละไม่เกิน 29,700 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว จ่ายเงินสงเคราะห์เพิ่มอีกไม่เกิน 29,700 บาท บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังช่วยเหลือเป็นค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำหลังละไม่เกิน 49,500 บาท ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เสียหายก็จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยืนยันว่าผู้ประสบภัยจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว” อธิบดี ปภ. กล่าว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง