ตามที่มีข่าวสารเกี่ยวกับเรื่อง สคช. แถลงการณ์ ปปง. ยึดทรัพย์สินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์ได้ เปิดให้เหยื่อยื่นเรื่องขอรับทรัพย์สินคืนนั้น ศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน ขอรับเงินคืน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
การส่งต่อข้อมูลที่ระบุว่า สคช. แถลงการณ์ ปปง. ยึดทรัพย์สินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์ได้ เปิดให้เหยื่อยื่นเรื่องผ่านเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน ขอรับเงินคืนทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เพจดังกล่าวเป็นเพจปลอมที่จัดทำขึ้นโดยมิจฉาชีพ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ตุลาคม 2566-กรกฎาคม 2567) สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มูลค่ากว่า 25,631 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่ารวมของการดำเนินการกับทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดทุกมูลฐาน (28 มูลฐาน เช่น พนันออนไลน์ ยาเสพติด เป็นต้น) ไม่ใช่การยึดหรืออายัดเงินหรือทรัพย์สินจากเเก๊งคอลเซนเตอร์เพียงอย่างเดียว และได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐานจำนวนประมาณ 5,288 ล้านบาท ไม่ใช่ขอให้คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน จำนวนประมาณ 12,000 ล้านบาท ตามที่โพสต์ดังกล่าวอ้างแต่อย่างใด
การส่งต่อข้อมูลที่ระบุว่า สคช. แถลงการณ์ ปปง. ยึดทรัพย์สินคืนจากแก๊งคอลเซนเตอร์ได้ เปิดให้เหยื่อยื่นเรื่องผ่านเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน ขอรับเงินคืนทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เพจดังกล่าวเป็นเพจปลอมที่จัดทำขึ้นโดยมิจฉาชีพ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ตุลาคม 2566-กรกฎาคม 2567) สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มูลค่ากว่า 25,631 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่ารวมของการดำเนินการกับทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดทุกมูลฐาน (28 มูลฐาน เช่น พนันออนไลน์ ยาเสพติด เป็นต้น) ไม่ใช่การยึดหรืออายัดเงินหรือทรัพย์สินจากเเก๊งคอลเซนเตอร์เพียงอย่างเดียว และได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐานจำนวนประมาณ 5,288 ล้านบาท ไม่ใช่ขอให้คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน จำนวนประมาณ 12,000 ล้านบาท ตามที่โพสต์ดังกล่าวอ้างแต่อย่างใด