กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า จากรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (NC4) ได้เผยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ซึ่งจากข้อมูลในรายงาน พบว่า 7 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด มีความเสี่ยงสูงสุดต่อภัยความร้อน และจังหวัดนครราชสีมา ยังมีความเสี่ยงสูงสุด ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมด้วย
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 ภาคส่วนหลัก ดังนี้
ภาคการจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การปนเปื้อนของน้ำ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครสวรรค์
ภาคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพลดลง อีกทั้งเผชิญปัญหากัดเซาะชายฝั่ง 1-5 เมตรต่อปีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดเชียงใหม่และอุบลราชธานี มีประชากรที่เสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ภาคการท่องเที่ยว พื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง โดยจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวสูงสุดในประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่เสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ตราด สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
ภาคการตั้งถิ่นฐานและความปลอดภัยของมนุษย์ เมืองใหญ่ ที่มีประชากรเยอะ มีความเสียงสูงหากระบบประปาหยุดชะงัก กระทบที่อยู่อาศัย และบริการสาธารณะ ซึ่งจะส่งผลต่อคนในเมืองนับล้านคน โดยจังหวัดที่เสี่ยงสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา สมุทรปราการ และขอนแก่น
ภาคสาธารณสุข อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ภาวะทุพโภชนาการ โรคติดต่อที่เคยหายไปหรือควบคุมได้แล้วกลับมาระบาดอีกครั้ง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายของโรค โดยจังหวัดที่เผชิญความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 ภาคส่วนหลัก ดังนี้
ภาคการจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การปนเปื้อนของน้ำ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครสวรรค์
ภาคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพลดลง อีกทั้งเผชิญปัญหากัดเซาะชายฝั่ง 1-5 เมตรต่อปีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจังหวัดเชียงใหม่และอุบลราชธานี มีประชากรที่เสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ภาคการท่องเที่ยว พื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง โดยจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวสูงสุดในประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่เสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ตราด สุราษฎร์ธานี และนครราชสีมา
ภาคการตั้งถิ่นฐานและความปลอดภัยของมนุษย์ เมืองใหญ่ ที่มีประชากรเยอะ มีความเสียงสูงหากระบบประปาหยุดชะงัก กระทบที่อยู่อาศัย และบริการสาธารณะ ซึ่งจะส่งผลต่อคนในเมืองนับล้านคน โดยจังหวัดที่เสี่ยงสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา สมุทรปราการ และขอนแก่น
ภาคสาธารณสุข อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ภาวะทุพโภชนาการ โรคติดต่อที่เคยหายไปหรือควบคุมได้แล้วกลับมาระบาดอีกครั้ง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายของโรค โดยจังหวัดที่เผชิญความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และบุรีรัมย์