ตามที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องค่าความดันโลหิตมาตรฐานสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คือ 150/90 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
กรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพว่า ค่าความดันโลหิตมาตรฐานสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คือ 150/90 ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยไม่ได้ตระหนักว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้พลาดโอกาสในการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์ได้
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงยังคงใช้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในทุกช่วงอายุ และการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมายของการควบคุมความดันอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายความดันโลหิตตัวบนอยู่ที่ไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายในการควบคุมความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 150 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งแพทย์ผู้รักษาอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายการรักษาความดันโลหิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม นอกจากตัวเลข 140/90 ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว การตรวจหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถรักษาภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคจะรุนแรงขึ้น
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถติดตามข่าวสารของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02-306-9899
บทสรุปของเรื่องนี้ คือ : การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงยังคงใช้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในทุกช่วงอายุ โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายความดันโลหิตตัวบนอยู่ที่ไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายในการควบคุมความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 150 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ แพทย์ผู้รักษาอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายการรักษาความดันโลหิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
กรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพว่า ค่าความดันโลหิตมาตรฐานสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คือ 150/90 ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยไม่ได้ตระหนักว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้พลาดโอกาสในการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์ได้
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงยังคงใช้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในทุกช่วงอายุ และการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมายของการควบคุมความดันอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายความดันโลหิตตัวบนอยู่ที่ไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายในการควบคุมความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 150 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งแพทย์ผู้รักษาอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายการรักษาความดันโลหิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม นอกจากตัวเลข 140/90 ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว การตรวจหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถรักษาภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคจะรุนแรงขึ้น
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถติดตามข่าวสารของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02-306-9899
บทสรุปของเรื่องนี้ คือ : การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงยังคงใช้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในทุกช่วงอายุ โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายความดันโลหิตตัวบนอยู่ที่ไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีเป้าหมายในการควบคุมความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 150 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ แพทย์ผู้รักษาอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายการรักษาความดันโลหิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข