นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก อภิปรายนอกสภา-3: เรื่องพลังงานไม่คืบ
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพลังงาน เผยแพร่โฆษณาผลงาน 1 ปี ว่าวางเป้าหมายไว้เป็นบันได 5 ขั้น นั้น ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ขอวิจารณ์ดังนี้
**บันไดขั้นที่ 1 ตรึงราคาไฟฟ้า ราคาน้ำมัน และราคาก๊าซหุงต้ม
เราขอเรียนว่า การที่ท่านตรึงราคาพลังงานนั้น ไม่ได้ใช้เงินที่ท่านเสกขึ้นมาจากอากาศอย่างแน่นอน แต่ย่อมต้องใช้เงินชดเชยจากงบประมาณ หรือการเพิ่มภาระหนี้ให้แก่ประชาชน
ดังนั้น บันไดขั้นที่ 1 ของท่าน จึงเป็นเพียงแค่กระจายค่าพลังงานที่ตรึงเอาไว้ ออกไปให้เป็นภาระแก่ประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง ท่านไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่ประการใด
บันไดขั้นที่ 2-3 แสวงหาข้อมูลต้นทุนน้ำมันเพื่อรื้อระบบการค้า
ท่านออกประกาศกระทรวง กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน บันไดขั้นที่ 3 เพื่อจะเอาไปใช้กำหนดนโยบาย
เราวิจารณ์ว่า การแสวงหาข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การใช้เวลาผ่านมาตั้งหนึ่งปี โดยยังไม่คืบหน้าจริงจัง อันเป็นการเงื้อง่าราคาแพง นั้น ท่านควรทบทวนส่วนลึก ถามตัวเองว่าท่านเกรงใจกลุ่มทุนพลังงานมากเกินไปหรือเปล่า?
เพราะ รมว.พลังงาน มีอำนาจที่จะลดราคาน้ำมันได้ทันที โดยประกาศยกเลิกการตั้งราคาขายคนไทย ที่สมมติว่า น้ำมันที่กลั่นในเมืองไทยที่ บางจาก ศรีราชา และระยอง กลับไปสมมติว่าเป็นน้ำมันที่กลั่นและนำเข้ามาจากสิงคโปร์ กลับปล่อยให้กลุ่มทุนพลังงานบวกค่าใช้จ่ายทิพย์ ทำให้คนไทยต้องจ่ายแพงขึ้นปีละเป็นพันเป็นหมื่นล้าน
อันนี้ ท่านไม่ได้แตะเลย!!!
บันไดขั้นที่ 4 เตรียมจะใช้สำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ SPR (Strategic Petroleum Reserve) เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
แนวคิดนี้จะสำเร็จได้ จำเป็นจะต้องเริ่มต้นโดยมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเสียก่อน ซึ่งต้องออกกฎหมายให้เอกสิทธิเข้าครอบครองแหล่งพลังงานที่สัมปทานหมดอายุทันที วิธีนี้จะทำให้รัฐมีปิโตรเลียมเป็นของตนเองโดยไม่ต้องซื้อหา
แต่หากเป็นโครงสร้างในปัจจุบันแล้ว
เราขอเตือน แนวคิดของท่านที่จะเอาน้ำมัน SPR มาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันฯ นั้น เป็นเรื่องที่อันตรายมาก
ท่านคงเห็นแนวทางที่ไบเดน ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้สั่งให้เอาน้ำมัน SPR ออกไปขายจำนวนมาก เพื่อกดราคาน้ำมันขายปลีกในสหรัฐฯ อันเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างคะแนนนิยม เพื่อจะให้พรรคเดโมแครตมีโอกาสชนะเลือกตั้งในปลายปีนี้
สหรัฐเคยมีน้ำมัน SPR เกือบ 700 ล้านบาร์เรล ไบเดนขายออกไปเกือบครึ่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 370 ล้านบาร์เรล
ประธานาธิบดีสหรัฐที่ทำเช่นนี้ คือ เข้าไปมีอาชีพเสริม เก็งกำไรราคาน้ำมันโลกโดยตรง ถ้าทำได้ถูกทาง ถ้าขายน้ำมัน SPR ในช่วงราคาสูง แล้วซื้อกลับได้ในราคาต่ำ ก็รอดตัว
แต่ถ้าต้องซื้อกลับในราคาสูงกว่าที่ขาย จะเข้าข่ายรัฐบาลค้าขายขาดทุน ตัดสินใจผิดพลาด และจนบัดนี้ ไบเดนก็ยังรีรอ ไม่กล้าซื้อกลับ เพราะกลัวราคาน้ำมันขายปลีกในสหรัฐฯ จะพุ่งสูงขึ้น และจะทำให้พรรคเดโมแครตแพ้เลือกตั้ง
รัฐมนตรีพลังงานที่หวังจะมีอาชีพเสริม ในการเก็งกำไรราคาน้ำมันโลก จะต้องเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา และผมหวังว่า สมาชิกรัฐสภาจะตาสว่าง จะเห็นได้ว่าเป็นเส้นทางอันตราย
กฎหมายทำนองนี้ จะตกเป็นเครื่องมือในการใช้น้ำมัน SPR เพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง รวมทั้งรัฐมนตรีพลังงานอาจหาประโยชน์ส่วนตัวได้ โดยการเลือกจังหวะแทรกแซงราคาน้ำมันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มทุนพลังงาน
ถ้าหากท่านใช้เวลามานานถึงหนึ่งปี คิดและยกร่างกฏหมายในเรื่อง SPR ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เห็นว่าเป็นเวลาสูญเปล่า ถ้าเอาเวลาไปร่างกฎหมายจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติจะดีเสียกว่า
ทั้งนี้ หลักการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ SPR นั้น ต้องเน้นในส่วนสำรองเฉพาะของรัฐ เพื่อใช้เฉพาะในยามฉุกเฉิน ถือเป็นยุทธปัจจัยของรัฐ ส่วนสำรองสำหรับประชาชนทั่วไปนั้น รัฐต้องออกกฎบังคับให้ผู้ประกอบการเอกชนเป็นผู้มีสำรองดังกล่าว ซึ่งต้องแยกต่างหากจากน้ำมัน SPR
สำหรับแนวคิดที่จะส่งเสริมให้มีสำรองน้ำมันดิบ นั้น ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เคยเสนอไว้แล้ว ให้เปิดแก่ต่างชาติเป็น International Oil Reserve Farm ใกล้ท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดระนอง โดยแนะนำว่า รัฐควรคิดค่าเช่าและค่าการดูแลสำรองดังกล่าว ไม่ใช่เก็บเป็นเงิน แต่ให้เก็บเป็นน้ำมัน ซึ่งจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมัน SPR ของรัฐ
ท่านต้องทราบว่า ยานยนต์สงครามไม่มีทางที่จะใช้รถไฟฟ้า แต่ต้องใช้น้ำมัน ดังนั้น รัฐสภาจึงควรพิจารณาข้อเสนอของรัฐมนตรีพลังงานอย่างรอบคอบ ต้องกำหนดขอบเขตเป้าหมายสำหรับน้ำมัน SPR ให้ชัดเจน
บันไดขั้นที่ 5 ยกร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมัน
ท่านกล่าวว่า กฎหมายจะกำหนดให้ปรับราคาน้ำมันได้เพียงเดือนละหนึ่งครั้ง ไม่ใช่ปรับทุกวัน และให้ใช้หลัก Cost Plus
เราขอชื่นชมที่ท่านต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ยามราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น ตลอดเดือนนั้น บริษัทเอกชนก็ต้องแบกภาระขาดทุนไปเองซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าในเดือนใด ราคาน้ำมันโลกต่ำลง ตลอดเดือนนั้น บริษัทเอกชนก็ได้กำไรไปมากเป็นพิเศษ
การที่ท่านจะให้ราคาน้ำมันในประเทศ มีลักษณะคงที่ ท่ามกลางราคาน้ำมันโลกที่ผันผวนรุนแรง นั้น ไม่ต่างจากพยายามห้ามไม่ให้คลื่นซัดเข้าชายฝั่งทะเล
กรณีจะทำแนวคิดนี้ได้สำเร็จ รัฐจะต้องเริ่มต้นด้วยมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ แล้วจึงใช้กำไรส่วนหนึ่ง มาทำหน้าที่แทนกองทุนน้ำมันเพื่อรักษาระดับราคา เช่นเดียวกับการจัดการของบริษัท ปิโตรนาส ของประเทศมาเลเซีย
ส่วนหลัก Cost Plus นั้น ถ้าเป็นบริษัทระดับโลก เขาก็จะให้บริษัทลูกในไทยซื้อน้ำมันจากบริษัทในเครือข่ายในราคาสูง เอากำไรไว้ก่อนนอกประเทศ เพื่อบอกรัฐมนตรีพลังงานไทยว่า ต้นทุนของเขาสูง จึงต้องขายแก่คนไทยราคาสูง
ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เคยเสนอไว้นานแล้ว ทางเลือกที่หนึ่ง ให้ใช้หลัก Cost Plus โดยรัฐต้องเป็นผู้ประกาศราคามาตรฐานน้ำมันดิบทุกวัน หรือทางเลือกที่สอง ให้ใช้ราคาขายในประเทศไทย โดยอ้างอิงราคาที่โรงกลั่นในไทยส่งออกไปขายประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งปัจจุบันต่ำกว่าราคาที่โรงกลั่นเหล่านี้ขายในประเทศ
สำหรับแนวคิดที่จะอนุญาต ผู้ให้บริการสาธารณะกุศล รวมไปถึงสหกรณ์การเกษตร การประมง สามารถจัดหาน้ำมันมาใช้ได้เอง นั้น ถูกต้องและน่าสรรเสริญ
ควรเปิดให้กลุ่มเหล่านี้ ไปซื้อน้ำมันสำเร็จรูป ที่อินเดียซื้อจากรัสเซียในราคาถูก และนำมากลั่นเพื่อขาย ควรทำเช่นนี้นานแล้วตลอดหนึ่งปีของท่าน
สุดท้าย ท่านจะเพิ่มกฎหมายอีกหนึ่งฉบับ คือกฎหมายส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนอย่างยั่งยืน
ทั้งหมดนี้สะท้อนแนวการทำงานของท่าน ที่เน้นแต่การร่างกฏหมาย การแก้ไขกฎหมาย ซึ่งใช้เวลาที่ผ่านมาถึงหนึ่งปีแค่ขั้นตอนยกร่าง และไม่รู้จะใช้เวลาอีกนานแค่ไหนในการผ่านรัฐสภา
แต่ในข้อเท็จจริง ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เคยเปิดเผยไว้แล้วว่า แนวคิดรื้อโครงสร้างในธุรกิจพลังงาน นั้น ส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรู้ว่าจะสั่งการอย่างไร
การส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ก็เข้าทำนองนี้ ท่านควรเสนอให้โอนการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าภูมิภาค ออกจากกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงพลังงาน แล้วสั่งการให้เปิดเสรีโซล่ารูฟท็อป โดยใช้ระบบ 'หักกลบลบหน่วย' net metering โดยไม่ต้องรอเพิ่มกฎหมาย ทำได้อยู่แล้ว
ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรีสรุปว่า ท่านควรเริ่มรื้อโครงสร้างธุรกิจพลังงานได้แล้ว โดยใช้กรอบกฎหมายปัจจุบัน ซึ่งทำได้ทันที แต่การเสียเวลามาแล้วหนึ่งปี ตลอดจนจะต้องใช้เวลาให้ร่างกฎหมายของท่านผ่านสภา ไม่รู้จะใช้เวลาอีกกี่ปี
ยิ่งเนิ่นนาน โครงสร้างธุรกิจพลังงานที่บิดเบี้ยวก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้กลุ่มทุนพลังงานคงได้รับผลประโยชน์เหนือชั้นต่อไป
Justice delayed is justice denied.
วันที่ 6 กันยายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
นายธีระชัยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์เป็นกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพลังงาน เผยแพร่โฆษณาผลงาน 1 ปี ว่าวางเป้าหมายไว้เป็นบันได 5 ขั้น นั้น ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ขอวิจารณ์ดังนี้
**บันไดขั้นที่ 1 ตรึงราคาไฟฟ้า ราคาน้ำมัน และราคาก๊าซหุงต้ม
เราขอเรียนว่า การที่ท่านตรึงราคาพลังงานนั้น ไม่ได้ใช้เงินที่ท่านเสกขึ้นมาจากอากาศอย่างแน่นอน แต่ย่อมต้องใช้เงินชดเชยจากงบประมาณ หรือการเพิ่มภาระหนี้ให้แก่ประชาชน
ดังนั้น บันไดขั้นที่ 1 ของท่าน จึงเป็นเพียงแค่กระจายค่าพลังงานที่ตรึงเอาไว้ ออกไปให้เป็นภาระแก่ประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง ท่านไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่ประการใด
บันไดขั้นที่ 2-3 แสวงหาข้อมูลต้นทุนน้ำมันเพื่อรื้อระบบการค้า
ท่านออกประกาศกระทรวง กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน บันไดขั้นที่ 3 เพื่อจะเอาไปใช้กำหนดนโยบาย
เราวิจารณ์ว่า การแสวงหาข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การใช้เวลาผ่านมาตั้งหนึ่งปี โดยยังไม่คืบหน้าจริงจัง อันเป็นการเงื้อง่าราคาแพง นั้น ท่านควรทบทวนส่วนลึก ถามตัวเองว่าท่านเกรงใจกลุ่มทุนพลังงานมากเกินไปหรือเปล่า?
เพราะ รมว.พลังงาน มีอำนาจที่จะลดราคาน้ำมันได้ทันที โดยประกาศยกเลิกการตั้งราคาขายคนไทย ที่สมมติว่า น้ำมันที่กลั่นในเมืองไทยที่ บางจาก ศรีราชา และระยอง กลับไปสมมติว่าเป็นน้ำมันที่กลั่นและนำเข้ามาจากสิงคโปร์ กลับปล่อยให้กลุ่มทุนพลังงานบวกค่าใช้จ่ายทิพย์ ทำให้คนไทยต้องจ่ายแพงขึ้นปีละเป็นพันเป็นหมื่นล้าน
อันนี้ ท่านไม่ได้แตะเลย!!!
บันไดขั้นที่ 4 เตรียมจะใช้สำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ SPR (Strategic Petroleum Reserve) เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
แนวคิดนี้จะสำเร็จได้ จำเป็นจะต้องเริ่มต้นโดยมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเสียก่อน ซึ่งต้องออกกฎหมายให้เอกสิทธิเข้าครอบครองแหล่งพลังงานที่สัมปทานหมดอายุทันที วิธีนี้จะทำให้รัฐมีปิโตรเลียมเป็นของตนเองโดยไม่ต้องซื้อหา
แต่หากเป็นโครงสร้างในปัจจุบันแล้ว
เราขอเตือน แนวคิดของท่านที่จะเอาน้ำมัน SPR มาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันฯ นั้น เป็นเรื่องที่อันตรายมาก
ท่านคงเห็นแนวทางที่ไบเดน ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้สั่งให้เอาน้ำมัน SPR ออกไปขายจำนวนมาก เพื่อกดราคาน้ำมันขายปลีกในสหรัฐฯ อันเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างคะแนนนิยม เพื่อจะให้พรรคเดโมแครตมีโอกาสชนะเลือกตั้งในปลายปีนี้
สหรัฐเคยมีน้ำมัน SPR เกือบ 700 ล้านบาร์เรล ไบเดนขายออกไปเกือบครึ่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 370 ล้านบาร์เรล
ประธานาธิบดีสหรัฐที่ทำเช่นนี้ คือ เข้าไปมีอาชีพเสริม เก็งกำไรราคาน้ำมันโลกโดยตรง ถ้าทำได้ถูกทาง ถ้าขายน้ำมัน SPR ในช่วงราคาสูง แล้วซื้อกลับได้ในราคาต่ำ ก็รอดตัว
แต่ถ้าต้องซื้อกลับในราคาสูงกว่าที่ขาย จะเข้าข่ายรัฐบาลค้าขายขาดทุน ตัดสินใจผิดพลาด และจนบัดนี้ ไบเดนก็ยังรีรอ ไม่กล้าซื้อกลับ เพราะกลัวราคาน้ำมันขายปลีกในสหรัฐฯ จะพุ่งสูงขึ้น และจะทำให้พรรคเดโมแครตแพ้เลือกตั้ง
รัฐมนตรีพลังงานที่หวังจะมีอาชีพเสริม ในการเก็งกำไรราคาน้ำมันโลก จะต้องเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา และผมหวังว่า สมาชิกรัฐสภาจะตาสว่าง จะเห็นได้ว่าเป็นเส้นทางอันตราย
กฎหมายทำนองนี้ จะตกเป็นเครื่องมือในการใช้น้ำมัน SPR เพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง รวมทั้งรัฐมนตรีพลังงานอาจหาประโยชน์ส่วนตัวได้ โดยการเลือกจังหวะแทรกแซงราคาน้ำมันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มทุนพลังงาน
ถ้าหากท่านใช้เวลามานานถึงหนึ่งปี คิดและยกร่างกฏหมายในเรื่อง SPR ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เห็นว่าเป็นเวลาสูญเปล่า ถ้าเอาเวลาไปร่างกฎหมายจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติจะดีเสียกว่า
ทั้งนี้ หลักการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ SPR นั้น ต้องเน้นในส่วนสำรองเฉพาะของรัฐ เพื่อใช้เฉพาะในยามฉุกเฉิน ถือเป็นยุทธปัจจัยของรัฐ ส่วนสำรองสำหรับประชาชนทั่วไปนั้น รัฐต้องออกกฎบังคับให้ผู้ประกอบการเอกชนเป็นผู้มีสำรองดังกล่าว ซึ่งต้องแยกต่างหากจากน้ำมัน SPR
สำหรับแนวคิดที่จะส่งเสริมให้มีสำรองน้ำมันดิบ นั้น ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เคยเสนอไว้แล้ว ให้เปิดแก่ต่างชาติเป็น International Oil Reserve Farm ใกล้ท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดระนอง โดยแนะนำว่า รัฐควรคิดค่าเช่าและค่าการดูแลสำรองดังกล่าว ไม่ใช่เก็บเป็นเงิน แต่ให้เก็บเป็นน้ำมัน ซึ่งจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมัน SPR ของรัฐ
ท่านต้องทราบว่า ยานยนต์สงครามไม่มีทางที่จะใช้รถไฟฟ้า แต่ต้องใช้น้ำมัน ดังนั้น รัฐสภาจึงควรพิจารณาข้อเสนอของรัฐมนตรีพลังงานอย่างรอบคอบ ต้องกำหนดขอบเขตเป้าหมายสำหรับน้ำมัน SPR ให้ชัดเจน
บันไดขั้นที่ 5 ยกร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมัน
ท่านกล่าวว่า กฎหมายจะกำหนดให้ปรับราคาน้ำมันได้เพียงเดือนละหนึ่งครั้ง ไม่ใช่ปรับทุกวัน และให้ใช้หลัก Cost Plus
เราขอชื่นชมที่ท่านต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ยามราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น ตลอดเดือนนั้น บริษัทเอกชนก็ต้องแบกภาระขาดทุนไปเองซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าในเดือนใด ราคาน้ำมันโลกต่ำลง ตลอดเดือนนั้น บริษัทเอกชนก็ได้กำไรไปมากเป็นพิเศษ
การที่ท่านจะให้ราคาน้ำมันในประเทศ มีลักษณะคงที่ ท่ามกลางราคาน้ำมันโลกที่ผันผวนรุนแรง นั้น ไม่ต่างจากพยายามห้ามไม่ให้คลื่นซัดเข้าชายฝั่งทะเล
กรณีจะทำแนวคิดนี้ได้สำเร็จ รัฐจะต้องเริ่มต้นด้วยมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ แล้วจึงใช้กำไรส่วนหนึ่ง มาทำหน้าที่แทนกองทุนน้ำมันเพื่อรักษาระดับราคา เช่นเดียวกับการจัดการของบริษัท ปิโตรนาส ของประเทศมาเลเซีย
ส่วนหลัก Cost Plus นั้น ถ้าเป็นบริษัทระดับโลก เขาก็จะให้บริษัทลูกในไทยซื้อน้ำมันจากบริษัทในเครือข่ายในราคาสูง เอากำไรไว้ก่อนนอกประเทศ เพื่อบอกรัฐมนตรีพลังงานไทยว่า ต้นทุนของเขาสูง จึงต้องขายแก่คนไทยราคาสูง
ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เคยเสนอไว้นานแล้ว ทางเลือกที่หนึ่ง ให้ใช้หลัก Cost Plus โดยรัฐต้องเป็นผู้ประกาศราคามาตรฐานน้ำมันดิบทุกวัน หรือทางเลือกที่สอง ให้ใช้ราคาขายในประเทศไทย โดยอ้างอิงราคาที่โรงกลั่นในไทยส่งออกไปขายประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งปัจจุบันต่ำกว่าราคาที่โรงกลั่นเหล่านี้ขายในประเทศ
สำหรับแนวคิดที่จะอนุญาต ผู้ให้บริการสาธารณะกุศล รวมไปถึงสหกรณ์การเกษตร การประมง สามารถจัดหาน้ำมันมาใช้ได้เอง นั้น ถูกต้องและน่าสรรเสริญ
ควรเปิดให้กลุ่มเหล่านี้ ไปซื้อน้ำมันสำเร็จรูป ที่อินเดียซื้อจากรัสเซียในราคาถูก และนำมากลั่นเพื่อขาย ควรทำเช่นนี้นานแล้วตลอดหนึ่งปีของท่าน
สุดท้าย ท่านจะเพิ่มกฎหมายอีกหนึ่งฉบับ คือกฎหมายส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนอย่างยั่งยืน
ทั้งหมดนี้สะท้อนแนวการทำงานของท่าน ที่เน้นแต่การร่างกฏหมาย การแก้ไขกฎหมาย ซึ่งใช้เวลาที่ผ่านมาถึงหนึ่งปีแค่ขั้นตอนยกร่าง และไม่รู้จะใช้เวลาอีกนานแค่ไหนในการผ่านรัฐสภา
แต่ในข้อเท็จจริง ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้เคยเปิดเผยไว้แล้วว่า แนวคิดรื้อโครงสร้างในธุรกิจพลังงาน นั้น ส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรู้ว่าจะสั่งการอย่างไร
การส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ก็เข้าทำนองนี้ ท่านควรเสนอให้โอนการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าภูมิภาค ออกจากกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงพลังงาน แล้วสั่งการให้เปิดเสรีโซล่ารูฟท็อป โดยใช้ระบบ 'หักกลบลบหน่วย' net metering โดยไม่ต้องรอเพิ่มกฎหมาย ทำได้อยู่แล้ว
ผมและ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรีสรุปว่า ท่านควรเริ่มรื้อโครงสร้างธุรกิจพลังงานได้แล้ว โดยใช้กรอบกฎหมายปัจจุบัน ซึ่งทำได้ทันที แต่การเสียเวลามาแล้วหนึ่งปี ตลอดจนจะต้องใช้เวลาให้ร่างกฎหมายของท่านผ่านสภา ไม่รู้จะใช้เวลาอีกกี่ปี
ยิ่งเนิ่นนาน โครงสร้างธุรกิจพลังงานที่บิดเบี้ยวก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้กลุ่มทุนพลังงานคงได้รับผลประโยชน์เหนือชั้นต่อไป
Justice delayed is justice denied.
วันที่ 6 กันยายน 2567
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
นายธีระชัยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์เป็นกรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ