จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่อง สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 อาจจะเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 นั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 อาจจะเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ลักษณะสภาพอากาศในปี 2567 มีความแตกต่างจากเมื่อปี 2554 โดยในปีนี้คาดการณ์ว่า จะมีพายุพัดผ่านเข้าประเทศไทย จํานวน 2 ลูก ในขณะที่ปี 2554 มีพายุพัดเข้าสู่ประเทศไทย จํานวน 5 ลูก ในส่วนของภาพรวมปริมาณฝนของไทยในปีนี้ต่ำกว่าค่าปกติ 4% และต่ำกว่าเมื่อปี 2554
ในส่วนของปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น มีจํานวน 39,343 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งน้อยกว่าเมื่อปี 2554 อยู่ถึง 5,611 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ฝนตกชุกบริเวณพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำยมที่ จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่ง สทนช. ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งวางแผนจัดการจราจรของมวลน้ำในแม่น้ำยม เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่ จ.สุโขทัย โดยการหน่วงน้ำไว้ด้านเหนือ ปตร. หาดสะพานจันทร์และจะผันน้ำส่วนหนึ่ง เข้าสู่คลองยม น่าน ผ่านทาง ปตร. คลองหกบาท ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำยมสายเก่า อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกํา เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากพื้นที่แม่น้ำยมตอนบน และแม่น้ำน่านตามลําดับ
ส่วนด้านท้ายน้ำจะระบายลงแม่น้ำยมสายหลัก พร้อมแบ่งการระบายน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและขวา เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่าน จ.สุโขทัย อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งพิจารณารับน้ำเข้าทุ่งบางระกํา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ โดย สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการติดตามประเมินสถานการณ์น้ําทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 อาจจะเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ลักษณะสภาพอากาศในปี 2567 มีความแตกต่างจากเมื่อปี 2554 โดยในปีนี้คาดการณ์ว่า จะมีพายุพัดผ่านเข้าประเทศไทย จํานวน 2 ลูก ในขณะที่ปี 2554 มีพายุพัดเข้าสู่ประเทศไทย จํานวน 5 ลูก ในส่วนของภาพรวมปริมาณฝนของไทยในปีนี้ต่ำกว่าค่าปกติ 4% และต่ำกว่าเมื่อปี 2554
ในส่วนของปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น มีจํานวน 39,343 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งน้อยกว่าเมื่อปี 2554 อยู่ถึง 5,611 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ฝนตกชุกบริเวณพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำยมที่ จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่ง สทนช. ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งวางแผนจัดการจราจรของมวลน้ำในแม่น้ำยม เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่ จ.สุโขทัย โดยการหน่วงน้ำไว้ด้านเหนือ ปตร. หาดสะพานจันทร์และจะผันน้ำส่วนหนึ่ง เข้าสู่คลองยม น่าน ผ่านทาง ปตร. คลองหกบาท ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำยมสายเก่า อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกํา เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากพื้นที่แม่น้ำยมตอนบน และแม่น้ำน่านตามลําดับ
ส่วนด้านท้ายน้ำจะระบายลงแม่น้ำยมสายหลัก พร้อมแบ่งการระบายน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและขวา เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่าน จ.สุโขทัย อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งพิจารณารับน้ำเข้าทุ่งบางระกํา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ โดย สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการติดตามประเมินสถานการณ์น้ําทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด