xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระ”เผยงานวิจัยพบกินอาหารเร็วเสี่ยงต่อภาวะตับคั่งไขมัน -ไขมันพอกตับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า กินอาหารเร็วเสี่ยงต่อภาวะตับคั่งไขมัน หรือไขมันพอกตับ

งานวิจัยโดยทีมจากประเทศจีน เผยแพร่ในวารสาร Nutrition & Diabetes เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2024

ทำการทบทวนงานวิจัยทั่วโลกและวิเคราะห์อภิมาน

พบว่า การมีนิสัยกินเร็ว (ใช้เวลาน้อยกว่า 5 นาที) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตับคั่งไขมัน/ไขมันพอกตับ หรือ metabolic dysfunction-associated steatotic liver disease (MASLD)

โดยภาวะดังกล่าวนี้จะสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคอ้วน ความดันสูง เบาหวาน และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากปัญหาหัวใจและหลอดเลือดด้วย

ยิ่งกินเร็วบ่อยครั้ง ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะ MASLD เพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง และคนที่มีระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์ ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ คงจะดี หากไม่รีบร้อน ค่อยๆ เคี้ยว ค่อยๆ กลืน จะส่งผลดีต่อร่างกาย ทางเดินอาหารก็จะย่อยอาหารได้ง่ายกว่าการรีบตักจ้วงกินจบมื้ออาหารอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง
Association between fast eating speed and metabolic dysfunction-associated steatotic liver disease: a multicenter cross-sectional study and meta-analysis. Nutrition & Diabetes. 14 August 2024.