นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับกรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์สายพันธุ์ของเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทย ด้วยการสุ่มตรวจทางห้องปฏิบัติการมาโดยตลอด พบการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จำนวน 191 ราย ผลการวิเคราะห์แบ่งได้เป็น 8 สายพันธุ์ย่อย คือ A.2, A.2.1, B.1, B.1.12, B.1.3, B.1.7, C.1 และ C.1.1
นอกจากนี้ ยังพบสายพันธุ์ย่อย C.1 มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 85.34% แตกต่างจากในช่วงแรกของสถานการณ์ระบาดที่เป็นสายพันธุ์ย่อย A.2 แสดงให้เห็นว่า วิวัฒนาการของไวรัสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการสะสมของการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น เพื่อปรับตัวตลอดเวลา
รองลงมา คือ สายพันธุ์ย่อย A.2.1 (5.76%), C.1.1 (3.66%) และ A.2 (2.09%) ตามลำดับ สายพันธุ์ย่อย C.1 ถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เคลดวัน Clade I ที่มีการระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกา โดยเคลดวัน Clade I มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10% ในขณะที่เคลดทู Clade II ทั้งเคลดทูเอ Clade IIa เคลดทูบี Clade IIb ซึ่งรวมถึง C.1 มีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าเพียง 1% โดยทั่วไปเคลดทู Clade II (รวมถึง C.1) มีลักษณะการแพร่เชื้อที่ไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และปัจจุบันได้จำแนกไวรัสฝีดาษวานรออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ เคลดวัน Clade I, เคลดทูเอ Clade IIa, และเคลดทูบี Clade IIb
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังคงเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบแนวโน้มการระบาด การกลายพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ซึ่งจะช่วยให้กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการที่มีความเข้มแข็ง การตรวจหาอย่างรวดเร็ว และการหาลำดับจีโนมที่พร้อมใช้งานอย่างกว้างขวาง จะช่วยสนับสนุนการตรวจจับสายพันธุ์เคลดวัน Clade I ที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคได้
นอกจากนี้ ยังพบสายพันธุ์ย่อย C.1 มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 85.34% แตกต่างจากในช่วงแรกของสถานการณ์ระบาดที่เป็นสายพันธุ์ย่อย A.2 แสดงให้เห็นว่า วิวัฒนาการของไวรัสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการสะสมของการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น เพื่อปรับตัวตลอดเวลา
รองลงมา คือ สายพันธุ์ย่อย A.2.1 (5.76%), C.1.1 (3.66%) และ A.2 (2.09%) ตามลำดับ สายพันธุ์ย่อย C.1 ถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เคลดวัน Clade I ที่มีการระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกา โดยเคลดวัน Clade I มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10% ในขณะที่เคลดทู Clade II ทั้งเคลดทูเอ Clade IIa เคลดทูบี Clade IIb ซึ่งรวมถึง C.1 มีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าเพียง 1% โดยทั่วไปเคลดทู Clade II (รวมถึง C.1) มีลักษณะการแพร่เชื้อที่ไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และปัจจุบันได้จำแนกไวรัสฝีดาษวานรออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ เคลดวัน Clade I, เคลดทูเอ Clade IIa, และเคลดทูบี Clade IIb
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังคงเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบแนวโน้มการระบาด การกลายพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ซึ่งจะช่วยให้กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการที่มีความเข้มแข็ง การตรวจหาอย่างรวดเร็ว และการหาลำดับจีโนมที่พร้อมใช้งานอย่างกว้างขวาง จะช่วยสนับสนุนการตรวจจับสายพันธุ์เคลดวัน Clade I ที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคได้