สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานอ้างวารสารวิทยาศาสตร์ เนเจอร์ แอสโทรโนมี (Nature Astronomy) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีน ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน ซึ่งยานสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ-6 ของจีน เก็บกลับมาจากดวงจันทร์ พบข้อมูลสำคัญคือ โมเลกุลของน้ำและแร่ธาตุอื่นๆในตัวอย่างดินจากดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้มนุษย์สามารถจะอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ได้ในอนาคต
สำหรับประเด็นเรื่องการพบน้ำบนดวงจันทร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากกล้องอินฟราเรดเพื่อศึกษาวัตถุอันลางเลือนสำหรับกล้องโทรทรรศน์โซเฟีย (Faint Object Infrared Camera for the Sofia Telescope)ขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติ(นาซา)และองค์การด้านอวกาศของอินเดียทำการสำรวจในปี 2563 ค้นพบสิ่งที่พวกเขาสันนิษฐานว่า อาจจะมีน้ำอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ สอดคล้องกับคณะนักวิทยาศาสตร์จีนพบน้ำอยู่ในลูกแก้วขนาดเล็ก(Glass Bead)ที่กระจายอยู่ทั่วพื้นผิวของดวงจันทร์ในปีที่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ ข้อมูลนี้ นับเป็นข้อมูลใหม่จากการค้นพบคือ เป็นครั้งแรกที่พบน้ำในแบบของโมเลกุล H2O จากตัวอย่างดินที่เก็บมาจากดวงจันทร์ ซึ่งแต่เดิมนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ไม่มีโมเลกุลของน้ำอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์
สำหรับประเด็นเรื่องการพบน้ำบนดวงจันทร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากกล้องอินฟราเรดเพื่อศึกษาวัตถุอันลางเลือนสำหรับกล้องโทรทรรศน์โซเฟีย (Faint Object Infrared Camera for the Sofia Telescope)ขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติ(นาซา)และองค์การด้านอวกาศของอินเดียทำการสำรวจในปี 2563 ค้นพบสิ่งที่พวกเขาสันนิษฐานว่า อาจจะมีน้ำอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ สอดคล้องกับคณะนักวิทยาศาสตร์จีนพบน้ำอยู่ในลูกแก้วขนาดเล็ก(Glass Bead)ที่กระจายอยู่ทั่วพื้นผิวของดวงจันทร์ในปีที่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ ข้อมูลนี้ นับเป็นข้อมูลใหม่จากการค้นพบคือ เป็นครั้งแรกที่พบน้ำในแบบของโมเลกุล H2O จากตัวอย่างดินที่เก็บมาจากดวงจันทร์ ซึ่งแต่เดิมนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ไม่มีโมเลกุลของน้ำอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์