จากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิตสูงสุด 7,500 บาทนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลว่า ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิตสูงสุด 7,500 บาท ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือน เนื่องจากผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญกรณีชราภาพเท่าไรนั้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณบำนาญจากฐานค่าจ้างที่ใช้ในการนำส่งเงินสมทบเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
กรณีที่ 1 กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000×20% = 3,000 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 ผู้ประกันตนมีระยะเวลาส่งเงินสมทบ 420 เดือน (35ปี)
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000×50% = 7,500 บาทต่อเดือน
2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณบำนาญจากฐานค่าจ้างที่ใช้ในการนำส่งเงินสมทบเฉลี่ยสูงสุด 4,800 บาท
กรณีที่ 1 จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 4,800×20% = 960 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 ผู้ประกันตนมีระยะเวลาส่งเงินสมทบ 420 เดือน (35 ปี)
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 4,800×50% = 2,400 บาทต่อเดือน
กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลว่า ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิตสูงสุด 7,500 บาท ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือน เนื่องจากผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญกรณีชราภาพเท่าไรนั้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณบำนาญจากฐานค่าจ้างที่ใช้ในการนำส่งเงินสมทบเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
กรณีที่ 1 กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000×20% = 3,000 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 ผู้ประกันตนมีระยะเวลาส่งเงินสมทบ 420 เดือน (35ปี)
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 15,000×50% = 7,500 บาทต่อเดือน
2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณบำนาญจากฐานค่าจ้างที่ใช้ในการนำส่งเงินสมทบเฉลี่ยสูงสุด 4,800 บาท
กรณีที่ 1 จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 4,800×20% = 960 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 ผู้ประกันตนมีระยะเวลาส่งเงินสมทบ 420 เดือน (35 ปี)
จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ = 4,800×50% = 2,400 บาทต่อเดือน