รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า การจำกัดอาหารแบบ 5:2 วันช่วยคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในโรคเบาหวาน
ผลการศึกษาจากจีน ในประชากรผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่วัยผู้ใหญ่ ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
เปรียบเทียบผลในการคุมน้ำตาลในเลือด ระหว่างกลุ่มที่กินยาเบาหวาน Metformin, ยา empagliflozin, และกลุ่มที่จำกัดอาหาร
โดยการจำกัดอาหารแบบ 5:2 คือ 2 วันในสัปดาห์ (ไม่เป็นวันที่ติดกัน) กินอาหารมื้อเดียว โดยจำกัดแคลอรี่ ผู้หญิงไม่เกิน 500 แคลอรี่ ผู้ชายไม่เกิน 600 แคลอรี่ ส่วนอีก 5 วันนั้นกินมื้อเช้าและเที่ยงได้ตามปกติ ส่วนมื้อเย็นกินแบบจำกัดแคลอรี่
ติดตามผล 16 สัปดาห์ พบว่า วิธีจำกัดอาหารจะคุมน้ำหนัก และคุมระดับน้ำตาลสะสม ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้ยา
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสำคัญในการคุมเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้การประยุกต์ใช้วิธีข้างต้น ควรอยู่ในดุลยพินิจและการดูแลติดตามของแพทย์ และขึ้นกับการประเมินสภาพผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ยังคงต้องมีการศึกษาติดตามผลในระยะยาวว่าประสิทธิภาพในการคุมน้ำหนัก ระดับน้ำตาล ยังคงเป็นไปด้วยดีหรือไม่ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
อ้างอิง
A 5:2 Intermittent Fasting Meal Replacement Diet and Glycemic Control for Adults With Diabetes: The EARLY Randomized Clinical Trial. JAMA Network Open. 21 June 2024.