จากประเด็นในเรื่องการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการเป็นภาคีอนุสัญญา ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย ไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยแต่อย่างใด แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ รวมถึงชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานอื่น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรา 8 เอช ภายใต้อนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดให้ภาคีสมาชิกต้องดำเนินการป้องกัน การนำเข้า ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งคุกคามระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัยและชนิดพันธุ์อื่น รวมถึงกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เป้าหมายที่ 6 ซึ่งขอให้ภาคีอนุสัญญาฯ ป้องกัน ควบคุม กำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน หรือลดการนำเข้าให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030
ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบกับทะเบียนรายการและ มาตรการดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 โดยได้จัดให้ปลาหมอคางดำ อยู่ในทะเบียนรายการที่ 1 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานและเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่มีลำดับความสำคัญสูงที่ต้องป้องกัน ควบคุม และกำจัด โดยเร่งด่วน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และกรอบงานภายใต้อนุสัญญาฯ
ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ หรือโทร. 02 265 6500