นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา สาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงผลการประชุมกรณีวาระการพิจารณาความเห็นและสาเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำ ว่า การหาสาเหตุเรื่องการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนแรกคือเรื่องของการติดตามเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมุดคุม การนำเข้าปลาชนิดนี้ ซึ่งทางอธิบดีกรมประมงได้ส่งสำเนามายัง กมธ. และในวันอังคารที่ 23 กรกฎาคมนี้ จะเชิญ กมธ.เดินทางไปที่กรมประมง เพื่อไปดูห้องเก็บตัวอย่างซากปลาของกรมประมงว่ามีสภาพอย่างไร รวมถึงเรื่องของการติดตามสัตว์ต่างประเทศที่นำเข้ามาว่ามีกระบวนการรัดกุมแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันนี้เรื่องที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากคือ มีการส่งออกปลาสายพันธุ์นี้ในปี 2556-2559 จริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้ทางอธิบดีกรมประมงได้ตรวจสอบข้อมูลมาแล้ว พบว่ามีการส่งออกจริง ไปยัง 17 ประเทศทั่วโลก จำนวน 2.3 แสนตัว โดยบริษัทเอกชนจำนวน 11 บริษัท สันนิษฐานได้ว่าปลายสายพันธุ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในราชอาณาจักรไทยมาก่อน และเจอครั้งแรกในปี 2555 หลังจากนั้นก็เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในหลายๆ ครองสาธารณะแต่กฎหมายในขณะนั้น ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนปลาสายพันธุ์นี้เป็นปลาต้องห้าม จึงทำให้เอกชนบางรายที่เห็นปลาสายพันธุ์นี้แล้วไปจับเพื่อนำไปขายหรือส่งออกก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนด และทางอธิบดีกรมประมงยืนยันชัดเจนว่าไม่มีการขออนุญาตนำเข้าจากบริษัท 11 ราย ที่ส่งออก แต่บริษัท 11 รายนั้น จะมีแหล่งที่มาจากภายในประเทศ คือมีการระบาดมาก่อนหน้านี้แล้วนั่นคือปี 2555
ทั้งนี้ ส่วนแรกคือเรื่องของการติดตามเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมุดคุม การนำเข้าปลาชนิดนี้ ซึ่งทางอธิบดีกรมประมงได้ส่งสำเนามายัง กมธ. และในวันอังคารที่ 23 กรกฎาคมนี้ จะเชิญ กมธ.เดินทางไปที่กรมประมง เพื่อไปดูห้องเก็บตัวอย่างซากปลาของกรมประมงว่ามีสภาพอย่างไร รวมถึงเรื่องของการติดตามสัตว์ต่างประเทศที่นำเข้ามาว่ามีกระบวนการรัดกุมแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันนี้เรื่องที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากคือ มีการส่งออกปลาสายพันธุ์นี้ในปี 2556-2559 จริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้ทางอธิบดีกรมประมงได้ตรวจสอบข้อมูลมาแล้ว พบว่ามีการส่งออกจริง ไปยัง 17 ประเทศทั่วโลก จำนวน 2.3 แสนตัว โดยบริษัทเอกชนจำนวน 11 บริษัท สันนิษฐานได้ว่าปลายสายพันธุ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในราชอาณาจักรไทยมาก่อน และเจอครั้งแรกในปี 2555 หลังจากนั้นก็เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในหลายๆ ครองสาธารณะแต่กฎหมายในขณะนั้น ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนปลาสายพันธุ์นี้เป็นปลาต้องห้าม จึงทำให้เอกชนบางรายที่เห็นปลาสายพันธุ์นี้แล้วไปจับเพื่อนำไปขายหรือส่งออกก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนด และทางอธิบดีกรมประมงยืนยันชัดเจนว่าไม่มีการขออนุญาตนำเข้าจากบริษัท 11 ราย ที่ส่งออก แต่บริษัท 11 รายนั้น จะมีแหล่งที่มาจากภายในประเทศ คือมีการระบาดมาก่อนหน้านี้แล้วนั่นคือปี 2555