นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระหว่าง รฟม. และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM โดยนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ รฟม. รักษาการผู้ว่า รฟม. นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ประธานกรรมการบริหาร BEM และนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM เป็นผู้ลงนาม โดยนางมนพร เจริญศรี และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม และนายนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการ BEM เป็นสักขีพยาน
การลงนามครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของรัฐ และเอกชน ที่จะร่วมกันเดินหน้าก่อสร้างส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร(กม.) รวมทั้งติดตั้งระบบรถไฟฟ้าส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ และเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกโดยเร็วที่สุด โดยตามแผนจะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2571 แต่จากการเจรจากับเอกชน ทาง BEM จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในสิ้นปี 2570 เป็นของขวัญปีใหม่ปี 2571 ให้ประชาชน
จากผลการศึกษาคาดว่า ปีแรกที่เปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสารใช้บริการ 1.5 แสนคนต่อวัน และหากเปิดให้บริการตลอดสายสีส้ม จะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4 แสนคนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารแม้ในสัญญาจะระบุที่ 17-42 บาท แต่ผู้โดยสารจะจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ส่วนที่เหลือรัฐจะเป็นผู้ชดเชยให้เอกชน
การลงนามครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของรัฐ และเอกชน ที่จะร่วมกันเดินหน้าก่อสร้างส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร(กม.) รวมทั้งติดตั้งระบบรถไฟฟ้าส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ และเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกโดยเร็วที่สุด โดยตามแผนจะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2571 แต่จากการเจรจากับเอกชน ทาง BEM จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ในสิ้นปี 2570 เป็นของขวัญปีใหม่ปี 2571 ให้ประชาชน
จากผลการศึกษาคาดว่า ปีแรกที่เปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสารใช้บริการ 1.5 แสนคนต่อวัน และหากเปิดให้บริการตลอดสายสีส้ม จะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4 แสนคนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารแม้ในสัญญาจะระบุที่ 17-42 บาท แต่ผู้โดยสารจะจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ส่วนที่เหลือรัฐจะเป็นผู้ชดเชยให้เอกชน