xs
xsm
sm
md
lg

“อ.เจษฎา”เผยศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ หนุนรัฐแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ยันทำลายสิ้นซากตั้งแต่ปี 54

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า "ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ ยืนยัน ทำลาย ปลาหมอคางดำ สิ้นซากตั้งแต่ปี54 หนุนรัฐแก้ปัญหา"

สรุปจากข่าว ได้ดังนี้ครับ ลองพิจารณากันดูเผื่อเป็นข้อมูลจากอีกด้าน ให้ได้โต้แย้งกัน

- ในปี พ.ศ. 2553 บริษัท ซีพีเอฟ ได้ขอนำเข้าปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว แต่ปลาสุขภาพไม่แข็งแรงและตายจำนวนมากในระหว่างทาง เหลือปลาที่ยังมีชีวิตแต่อ่อนแอเพียง 600 ตัว (ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านกักกัน โดยกรมประมง)

- ปลามีสุขภาพไม่แข็งแรง มีการตายต่อเนื่อง จนเหลือเพียง 50 ตัว บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการวิจัย

- มีการทำลายซากปลาตามมาตรฐาน และแจ้งต่อกรมประมง พร้อมส่งตัวอย่างซากปลา ซึ่งดองในฟอร์มาลีนทั้งหมด ไปยังกรมประมงในปี 2554

- นักวิจัยของบริษัท ชี้แจงวิธีการทำลายปลาต่อ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยใช้สารคลอรีนเข้มข้น และฝังกลบซากปลา โรยด้วยปูนขาว และยืนยันว่า ไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาดดังกล่าว

- บริษัทให้ความร่วมมือและสนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ด้าน

1. รับซื้อปลาหมอคางดำ ไปผลิตเป็นปลาป่น

2. ปล่อยปลาผู้ล่า (ปลากระพง) ลงสู่แหล่งน้ำ

3. สนับสนุนกิจกรรมจับปลาหมอคางดำ

4. สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ ร่วมกับสถาบันการศึกษา

และ 5.สนับสนุนการวิจัยควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ