กรณีมีการนำเสนอข่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดเพดาน อัตราส่วนภาระผ่อนชำระต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ให้ผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนเป็น 2 เท่าของค่างวด และห้ามลูกหนี้ที่เป็นญาติมากู้ร่วมนั้น
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ห้ามลูกหนี้นำญาติมาเป็นผู้กู้ร่วม แต่ส่งเสริมให้บุคคลที่มีความตั้งใจจะช่วยลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่แล้ว มาจัดทำสัญญากู้ร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบตามจริงในการผ่อนชำระหนี้
นอกจากนั้น หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ไม่มีการกำหนดเพดานของอัตราส่วนภาระผ่อนชำระต่อรายได้ (DSR) โดยหลักเกณฑ์ระบุให้สถาบันการเงินต้องพิจารณาดูแลให้ลูกหนี้มีเงินเหลือจากการผ่อนภาระหนี้เพียงพอดำรงชีพสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน
ส่วนผู้ให้บริการทางการเงินอาจกำหนดอัตราส่วน DSR หรืออัตราส่วนอื่น เป็นเกณฑ์ภายในเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ทั้งนี้ ธปท. มุ่งหวังให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ลูกหนี้เป็นหนี้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาระหนี้เกินตัวและไม่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตจากภาระหนี้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ห้ามลูกหนี้นำญาติมาเป็นผู้กู้ร่วม แต่ส่งเสริมให้บุคคลที่มีความตั้งใจจะช่วยลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่แล้ว มาจัดทำสัญญากู้ร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบตามจริงในการผ่อนชำระหนี้
นอกจากนั้น หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ไม่มีการกำหนดเพดานของอัตราส่วนภาระผ่อนชำระต่อรายได้ (DSR) โดยหลักเกณฑ์ระบุให้สถาบันการเงินต้องพิจารณาดูแลให้ลูกหนี้มีเงินเหลือจากการผ่อนภาระหนี้เพียงพอดำรงชีพสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน
ส่วนผู้ให้บริการทางการเงินอาจกำหนดอัตราส่วน DSR หรืออัตราส่วนอื่น เป็นเกณฑ์ภายในเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ทั้งนี้ ธปท. มุ่งหวังให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ลูกหนี้เป็นหนี้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาระหนี้เกินตัวและไม่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตจากภาระหนี้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น